พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 กับการต่อต้านการผูกขาด

30 ต.ค. 2562 | 11:45 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ต.ค. 2562 | 18:48 น.
4.4 k

 

คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ โดย ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ บุญประกายแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,518 วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2562

 

ทำไมจึงต้องต่อต้านการผูกขาดหรือการที่บริษัทมีอำนาจตลาดที่สูงเกินไป ตามหลักทฤษฎีพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์นั้น การที่มีบริษัทเพียงรายเดียว (การผูกขาด) หรือมีบริษัทจำนวนน้อย (มีอำนาจตลาดสูง) มักจะทำให้มีการผลิตตํ่าและราคาสินค้าสูง ซึ่งไม่เป็นการดีต่อสังคมโดยรวม ในทางกลับกันการมีบริษัทหลายบริษัทที่แข่งขันกัน มักจะทำให้มีการผลิตสูงและราคาตํ่า ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูง

นอกจากนั้น หากการได้มาซึ่งอำนาจตลาดนั้นมาจากการทำลายคู่แข่งด้วยวิธีการบางอย่างซึ่งไม่ใช่การที่บริษัทมีความสามารถในการผลิตสูงกว่า ก็มีประเด็นด้านความยุติธรรมในการประกอบธุรกิจอีกประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การผูกขาดบางประเภทก็เป็นที่ยอมรับและมีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การได้รับสิทธิบัตรหรือสัมปทาน เป็นต้น

เพื่อเป็นการป้องกันการผูกขาดและอำนาจตลาดที่สูงเกินไป ... การแข่งขันทางการค้า .. 2560 วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรวมธุรกิจบริษัทไว้ในมาตรา 51 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อนการรวมธุรกิจซึ่งจะก่อให้เกิดการผูกขาดหรือทำให้เกิดอำนาจเหนือตลาด โดยหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด .. 2561 กำหนดไว้ว่าบริษัทมีอำนาจเหนือตลาดเมื่อ

1. บริษัทหนึ่งมีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และมียอดขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ 2. บริษัท 3 รายแรกมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันตั้งแต่ 75% ขึ้นไป และมียอดขายแต่ละรายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ยกเว้นบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า 10%

ทั้งนี้ การนับส่วนแบ่งตลาดและยอดเงินขายของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งให้นับรวมของบรรดาผู้ประกอบธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กันทางนโยบายหรืออำนาจสั่งการด้วย นอกจากนั้นการรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงการมียอดขายรวมกันตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องแจ้งการรวมธุรกิจดังกล่าวภายใน 7 วัน


 

 

นอกจากการควบรวมแล้ว ผู้ประกอบการอาจสามารถร่วมมือกันระหว่างบริษัทเพื่อให้เกิดการผูกขาด ลดหรือจำกัดการแข่งขันในตลาด ซึ่งเป็นการเพิ่มอำนาจตลาดให้กับธุรกิจภายในกลุ่มที่ร่วมมือกันนั่นเอง ซึ่งกฎหมายการแข่งขันทางการค้าในหลายประเทศ รวมถึง ...การแข่งขันทางการค้าของไทย มาตรา 54 ก็ห้ามการร่วมมือดังกล่าว โดยเฉพาะในรูปแบบ Hardcore Cartel ซึ่งประกอบด้วยการร่วมมือกันใน 4 แบบ ได้แก่ 1) การกำหนดราคา (Price Fixing) 2) การกำหนดปริมาณ (Output Limitation)

3. การแบ่งตลาด (Market Sharing) และ 4. การฮั้วประมูล (Bid Rigging)

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดโทษในทางอาญาสำหรับการละเมิดในมาตราดังกล่าว ซึ่งคือโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ในปีที่กระทําความผิด หรือทั้งจําทั้งปรับ การกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการทำ Hardcore Cartel นั้น มีให้เห็นอยู่ในประเทศต่างๆ พอสมควร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการร่วมมือกันดังกล่าวถูกมองว่ามีลักษณะของการสมคบคิด (Conspiracy) ที่ทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรง

และแม้แต่ศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้เคยกล่าวถึงพฤติกรรมดังกล่าวว่าเป็นSupreme Evil of Antitrust” ซึ่งหมายถึงการเป็นสุดยอดความชั่วร้ายของการกระทำการ อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันเพื่อการผูกขาด ลดหรือจำกัดการแข่งขันในตลาด ในรูปแบบอื่นๆ (Non-Hardcore Cartel) รายละเอียดตามมาตรา 55 จะมีบทลงโทษในทางปกครองเท่านั้น

 

พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560  กับการต่อต้านการผูกขาด

 

นอกจากนั้น มาตรา 50 (3) ยังห้ามมิให้บริษัทซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดทำการในลักษณะที่เป็นการระงับ ลด หรือจํากัดการบริการเพื่อลดปริมาณให้ตํ่ากว่าความต้องการของตลาด ซึ่งการกระทำดังกล่าวถ้าประสบผลสำเร็จ ก็มีผลเช่นเดียวกับการลดการแข่งขัน ซึ่งทำให้ประโยชน์ต่อสังคมลดลงนั่นเอง มาตรา 50 ยังมีข้อห้ามในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม และการกำหนดเงื่อนไขต่อคู่ค้าที่ไม่เป็นธรรม

 

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปในประเทศต่างๆ นั้น การละเมิดดังกล่าวมักจะมีบทลงโทษในทางปกครองเท่านั้น และเป็นการกำหนดโทษปรับต่อบริษัทซึ่งอาจเป็นนิติบุคคล โดยไม่ได้มีการลงโทษผู้บริหารของบริษัทโดยตรง เนื่องจากการกระทำการดังกล่าว ไม่มีลักษณะของการสมคบคิดร่วมกันของบริษัทต่างๆ นอกจากนั้นผู้ประกอบการอาจต้องการลดปริมาณหรือกำหนดราคา โดยไม่มีเจตนาที่จะทำลายคู่แข่งหรือสร้างความเสียหายร้ายแรง

ถึงแม้กระนั้น ...การแข่งขันทางการค้า .. 2560 ได้กำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนมาตรานี้ไว้ด้วย เช่นเดียวกันกับการฝ่าฝืนมาตรา 54 ข้างต้น ผู้ประกอบการในบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดจึงควรระวังในการกำหนดปริมาณ ราคา และเงื่อนไขต่างๆ ว่าจะไม่ขัดต่อมาตรา 50 นี้

จะเห็นว่า ...การแข่งขันทางการค้า .. 2560 นี้มีความเข้มข้นและบทลงโทษที่ค่อนข้างสูงทีเดียว พร้อมทั้งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายความถึง เลขาธิการ และพนักงานของสํานักงานซึ่งดํารงตําแหน่งในระดับไม่ตํ่ากว่าข้าราชการพลเรือนสามัญระดับปฏิบัติการ ซึ่ง คณะกรรมการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ มีอำนาจในการเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ เข้าตรวจสอบสถานที่ ยึดหรืออายัดเอกสารและหลักฐานต่างๆ อีกด้วย

 

พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560  กับการต่อต้านการผูกขาด