“IRPC” เดินหน้า Net Zero Emission มุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ปี 2060

01 พ.ย. 2565 | 15:00 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ย. 2565 | 22:32 น.

ประเทศไทยวางเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2065 ตามที่ได้ประกาศไว้ในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย และต้องอาศัยแรงผลักดันจากทั้งภาครัฐและกลุ่มธุรกิจ

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เป็น 1 ในองค์กรที่ขานรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของบริษัท “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว” โดยเชื่อว่าธุรกิจสามารถเติบโตควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งยึดมั่นตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติและความรับผิดชอบต่อสังคม

 

ทั้งนี้ IRPC ตั้งเป้าหมายองค์กร Net Zero Emission โดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20% ภายในปี 2030 สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2060 ด้วย 3 กลยุทธ์ (ERA) ดังนี้

“IRPC” เดินหน้า Net Zero Emission มุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ปี 2060

1.Eco - operation & technology การปรับปรุงกระบวนการผลิตภายในบริษัทฯ ลดการใช้พลังงานผ่านการกำหนดเป้าหมายโดยใช้ดัชนีชี้วัดการใช้พลังงาน (Energy Intensity Index: EII) และเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดทดแทน พร้อมทั้งกำลังดำเนินการศึกษาการใช้พลังงานทางเลือก โดยการลงทุนในโครงการ Solar Rooftop และ โครงการ Solar Farm เพื่อใช้สำหรับกระบวนการผลิตในโรงงานต่อไปในอนาคต

 

IRPC ประสบความสำเร็จจากการสร้างสวนโซลาร์ลอยน้ำในบ่อน้ำดิบสำรองของบริษัทฯ บนพื้นที่รวมกว่า 200 ไร่ ซึ่งได้      บูรณาการคุณค่าในเชิงการดำเนินธุรกิจที่เสริมความมั่นคงทางด้านพลังงาน และในด้านสิ่งแวดล้อม โดยช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 9,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้บนเกาะเสม็ด ทั้งเกาะ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ และกำลังดำเนินการขยายพื้นที่สวนโซลาร์ลอยน้ำ คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปีหน้านี้

 

นอกจากนี้ ยังมีโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลตามมาตรฐานยูโร 5 (Ultra Clean Fuel Project: UCF) ซึ่งจะช่วยลดปัญหามลภาวะฝุ่นละออง PM 2.5  และเป็นไปตามนโยบายของ IRPC ที่มุ่งมั่นสู่การเป็นโรงงานสีเขียว (Eco Factory) โดยคาดว่าจะพร้อมดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในต้นปี 2024 รวมถึงการแสวงหาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจใหม่ๆ ที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ

 

2.Reshape portfolio มุ่งแสวงหานวัตกรรมที่ส่งเสริมธุรกิจคาร์บอนต่ำ ธุรกิจพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ

“IRPC” เดินหน้า Net Zero Emission มุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ปี 2060

3.Absorption and offset โดยได้ดำเนินการร่วมกับกลุ่ม ปตท. 2 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการปลูกป่า เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  2. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) หรือ CCS Hub Model

 

สำหรับ CCS นั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตได้ในระดับหลายล้านตันต่อปีและนำไปกักเก็บในชั้นธรณีที่มีศักยภาพและเหมาะสมแบบปลอดภัยและถาวร  (Permanent Geological Storage) โดยไม่มีการปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อีก ซึ่งจะเริ่มศึกษาในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรี  เพื่อเป็นต้นแบบสำคัญในการขยายผลสู่ระดับประเทศได้ในอนาคต

 

นอกจากนี้ IRPC ยังมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ ทางด้านการลงทุน ที่ไม่ได้คำนึงถึงการสร้างรายได้หรือผลกำไรเพื่อความเข้มแข็งขององค์กรเท่านั้น หากจะต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง รวมทั้งนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ขององค์กรเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และนำมายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม ผ่านกลยุทธ์ความยั่งยืน 3C ประกอบด้วย กลยุทธ์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) กลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และกลยุทธ์การสร้างคุณค่าเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน (Creating Shared Value)

 

บริษัทฯ ได้ยังให้การสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ผ่านโครงการ "Decarbonize Thailand Startup Sandbox"  เพื่อสร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพ ขับเคลื่อนการแสวงหาธุรกิจใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (New S-Curve) เกี่ยวกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมมุ่งไปสู่ Net Zero Emission อีกด้วย