การลงทุนในตลาดหุ้นไทยยังได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง ทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีแกว่งตัวขาลงอย่างต่อเนื่องโดยนับจากต้นปี 2568 SET Index ปรับลดลงแล้ว 143.73 จุดหรือ 10.26% จากระดับปิดสิ้นปี 2567 ที่ 1,400.21 จุด มาอยู่ที่ระดับ 1,256.48 จุดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568
ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(Market Cap.)หายไปถึง 1.77 ล้านล้านบาทจากสิ้นปี 2567 แตะระดับ 17.43 ล้านล้านบาท ล่าสุดเหลือเพียง 15.66 ล้านล้านบาท
นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) เปิดมุมมองต่อ ตลาดหุ้นไทยว่า ในระยะนี้ต้องยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมีความอ่อนไหวมาก ทั้งจากปัจจัยภายนอก อย่างนโยบายการบริหารประเทศของทรัมป์ รวมไปถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศ
อีกทั้งในช่วงนี้เข้าสู่ช่วงประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ทำให้มีการใส่ความคาดหวังเข้าไปในหุ้นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก แต่เมื่อผลงาน โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ (บิ๊กแคป) ออกมาไม่ได้สวยหรูอย่างที่คาดหวังนัก ก็อาจกดดันให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมา ซ้ำเติมตลาดหุ้นไทยให้ทรุดลงไปอีก
“สังเกตได้ว่า หลังจากที่หุ้น DELTA ประกาศผลการดำเนินงานออกมาผิดจากที่ตลาดคาดหวังไว้ ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 68 เป็นต้นมา และต่อเนื่องมาถึงวันที่ 17 ก.พ.68 ซึ่งนับว่า ร่วงหนักที่สุดนับตั้งแต่เปิดต้นปี 68 นี้มา โดยลดลงมาถึง 26.50 บาท กดดันราคาหุ้นลงมาสุ่ระดับ 86.50 บาท”
ล่าสุดวันที่ 18 ก.พ. 68 ราคาหุ้น DELTA ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 79.50 บาท หรือลงมาอีก 7 บาท (ณ เวลา 3.54 น.) แม้ว่า Downside จะเริ่มจำกัดลง แต่ด้วย DELTA เป็นหุ้นบิ๊กแคปที่ราคาหุ้นเฉลี่ย 1 บาท จะมีผลต่อดัชนีตลาดหุ้นไทยราว 1 จุด ซึ่งหากว่าตัดหุ้น DELTA ออกดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงเขียวได้อยู่
นอกจากนี้ จากการปรับตัวลดลงของหุ้น DELTA ยังถ่วงบรรยากาศการลงทุนในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงตามไปด้วย ทั้ง HANA CCET และ KCE เฉลี่ยราว 2% อย่างไรก็ตาม มองว่า กลุ่มหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดในตลาดเวลานี้ เช่น ADVANC INTUCH GULF และ TRUE ยังคงพยายามช่วยพยุงตลาดหุ้นไทยอยู่
“ในระยะสั้น ฝ่ายประเมินกรอบดัชนีตลาดหุ้นไทยไว้ที่ระดับ 1,250-1,280 จุด ซึ่งการย่อตัวของตลาดหุ้นไทยก่อนหน้านี้ อาจเลยป้ายไปหน่อย แต่ก็ยังคงดึงกลับมาได้”
อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะกลับขึ้นมาเป็นขาขึ้นเมื่อไหร่ เวลานี้เป็นจุดต่ำสุดแล้วหรือยัง ก็ต้องบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก เพราะความผันผวนเป็นไปตามปัจจัยรายวัน ไม่แน่นอน ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นในตลาดทุนไทยก็ดูหมดแรงไปต่อ
ในระยะถัดไป ก็ยังคงเชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวนอยู่ ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยรายวัน และในหุ้นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นบิ๊กแคป หากว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากๆ ก็จะกลับมาฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลงแรงได้อีก SET Index ถอยลงเรื่อยๆ ในทางเทคนิเคิล โดย Low ในช่วงโควิดระบาดอยู่แถวๆ ระดับ 1,180-1,187 จุด เป็นจุดของการยกฐาน
ขณะที่จุด Buttom สุด คือ 970 จุด แต่มองว่า ดัชนีคงไม่ไหลแรงไปสู่ระดับนั้น ในระยะเวลาอันสั้น แต่อะไรๆก็ไม่แน่นอน เพราะตลาดหุ้นไทยในเวลานี้ยังขาดความเชื่อมั่น คนที่มีหุ้นก็พร้อมที่จะขายออกตลอดเวลา
อีกทั้งมองว่า เมื่อหุ้นแบงก์มีการจ่ายปันผลแล้วเสร็จอาจเห็นแรงขายหุ้นกลุ่มแบงก์มากดดันตลาดต่ออีก ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเวลานี้สามารถหลุดได้ทุกแนวรับ ในทางการฟื้นตัวทางเทคนิค มองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจต้องพยายามดันกลับมาให้ได้อยู่ที่ระดับ 1,330-1,340 จุด
ด้วยภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนไร้แนวรับ ทำให้มองว่า กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสุดในเวลานี้ อาจต้องปรับเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นที่ต้องใช้ความเร็วมากๆ ในช่วงที่ตลาดหุ้นยืนแดนลบ และขายทำกำไรในช่วงที่ตลาดดีดตัวบวก และไม่แนะนำให้ไล่ราคา”นายวิจิตรกล่าว
ด้านนายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ เร่งเตรียมแผนการกระตุ้นตลาดทุนไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระยะสั้นให้กลับคืนมา ประกอบด้วย 3 หัวข้อสำคัญคือ
หน้า 1 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 4,072 วันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568