Bond yield ส่งเสียง... นักลงทุนควรเตรียมตัวยังไง?

19 ก.พ. 2568 | 05:00 น.

Bond yield ส่งเสียง... นักลงทุนควรเตรียมตัวยังไง? คอลัมน์ SUPER TRADER โดย โค้ชภัค ภัค วิทยาพันธ์ประชา Super Trader

KEY

POINTS

  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวนตามตัวเลขอัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ยลด → Bond Yield ลดลง → Bond Price เพิ่มขึ้น และ ดอกเบี้ยขึ้น → Bond Yield เพิ่มขึ้น → Bond Price ลดลง
  • อเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และพันธบัตรก็มีความเกี่ยวโยงกับหลายๆ ตัวเลขเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาล่ม ก็จะกระทบกับเศรษฐกิจโลก
  • คนที่ปรับตัวได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ที่รอด เราต้องมีข้อมูลในการวิเคราะห์เยอะๆ และปรับตัวปรับมุมมองไปตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน

Bond yield ส่งเสียง... นักลงทุนควรเตรียมตัวยังไง? คอลัมน์ SUPER TRADER โดย โค้ชภัค ภัค วิทยาพันธ์ประชา Super Trader

 

เชื่อว่าหลายๆ ท่านต้องเคยได้ยิน เคยรู้จักกันมาแล้วว่า US bond (พันธบัตรรัฐบาลอเมริกา) คืออะไร และที่เราคุ้นเคยก็จะมี US02Y, bond US10Y ซึ่งทั้งสองอันนี้จะมีหน้าที่สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ในสองระยะเวลา

  • US2Y สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจระยะสั้น
  • US10Y สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจระยะยาว


และที่เรารู้กันตัวพันธบัตรรัฐบาลนี้เหมือนกับการที่รัฐบาลกู้เงินประชาชน เพราะฉะนั้นผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลนี้จึงมีความผันผวนตามตัวเลขอัตราดอกเบี้ย แต่ให้เราเข้าใจง่ายๆ

  • ดอกเบี้ยลด → Bond Yield ลดลง → Bond Price เพิ่มขึ้น
  • ดอกเบี้ยขึ้น → Bond Yield เพิ่มขึ้น → Bond Price ลดลง
     

โค้ชภัค วิทยาพันธ์ประชา Super Trader

แล้วทำไมเราต้องทำความเข้าใจ US Bond Yield สาเหตุคืออเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และพันธบัตรก็มีความเกี่ยวโยงกับหลายๆ ตัวเลขเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะดอกเบี้ย หนี้สาธารณะและอื่นๆ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาล่ม ก็จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกนั่นเอง

ในลำดับถัดมาจะพูดถึงคำที่คิดว่านักลงทุนต้องเคยได้ยินกันมากบ้าง นั่นคือ Inverted yield curve แล้วเจ้านี่คืออะไรล่ะ?

ให้นึกภาพตาม ในสถานการณ์เศรษฐกิจปกติที่มีการเติบโตเรื่อย กราฟของ US10Y จะสูงกว่า US02Y และในทางกลับกันถ้ากราฟ US02Y สูงกว่า US10Y เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณไม่ปกติแล้ว หรือที่เราเรียกว่า Inverted yield curve นั่นเอง (ตามรูป)

ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1988-2025 เกิด Inverted yield curve  มาแล้ว 4 ครั้ง
 

ครั้งที่ 1: ปี 2000

  • ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: ปลายปี 2000
  • วิกฤตที่ตามมา : ฟองสบู่ดอทคอมแตก (Dot-com Bubble Burst)
  • การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
       - จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ประมาณ 11,750 จุด ในเดือนมกราคม 2000
       - จุดต่ำสุดหลังวิกฤต: ประมาณ 7,200 จุด ในเดือนตุลาคม 2002
       - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 4,550 จุด

 

ครั้งที่ 2: ปี 2006

  • ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: กลางปี 2006
  • วิกฤตที่ตามมา: วิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ปี 2008
  • การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
       - จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ประมาณ 14,200 จุด ในเดือนตุลาคม 2007
       - จุดต่ำสุดหลังวิกฤต: ประมาณ 6,500 จุด ในเดือนมีนาคม 2009
       - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 7,700 จุด

 

ครั้งที่ 3: ปี 2019

  • ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: สิงหาคม 2019
  • วิกฤตที่ตามมา: การระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2020
  • การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
       - จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ประมาณ 29,500 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020
       - จุดต่ำสุดหลังวิกฤต: ประมาณ 18,200 จุด ในเดือนมีนาคม 2020
       - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 11,300 จุด

 

ครั้งที่ 4: ปี 2023

  • ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: ต้นปี 2023
  • วิกฤตที่ตามมา: ยังไม่มีวิกฤตที่ชัดเจน ณ ข้อมูลล่าสุดในปี 2025
  • การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
       - จุดสูงสุดก่อน Inverted Yield Curve: ประมาณ 36,500 จุด ในเดือนมกราคม 2023
       - ข้อมูลล่าสุด: ประมาณ 34,000 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025
       - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 2,500 จุด


และในครั้งที่ 4 นี่แหละคือจุดที่นักวิเคราะห์ระมัดระวังกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ ตอนนี้ผ่านมา 3 ปีแล้ว แต่ด้วยความที่ว่าเกิดวิกฤตตามสัญญาณนี้มาแล้ว 3 ครั้ง ก็เลยเป็นจุดที่ทำให้มันยังไม่เกิดอะไรรุนแรงมากทางเศรษฐกิจ เพราะหลายๆ หน่วยงานก็ระวังตัวกันอย่างมาก 

เลยมีความกังวลกันว่าวิกฤตครั้งนี้จะไม่ได้มีต้นทางมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจหรอก แต่อาจจะเกิดจากนโยบายของผู้นำอเมริกา ที่มีความผันผวนทางนโยบายสูง ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสงครามการค้า นโยบายสงครามยูเครน-รัสเซีย นโยบายเก็บค่าคุ้มครองจากฮ่องกง
นโยบายผู้อพยพเข้าเมือง 

ทั้งหมดนี้ตัวเราเองต้องเตรียมตัวให้พร้อม ติดตามสถานการณ์โลกให้ดี แล้ววางแผนให้ชัดเจน ผมเชื่อว่าคนที่ปรับตัวได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ที่รอด และถ้าเราอยากปรับตัวได้ดีเราต้องมีข้อมูลในการวิเคราะห์เยอะๆ และปรับตัวปรับมุมมองไปตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน
 

ท้ายที่สุดขอเชื่อมโยงมาถึงตลาดหุ้นบ้านเราหรือ SET การที่รอพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติเข้ามา อันนี้บอกเลยว่ายากหน่อยนะ แต่ถ้านักลงทุนมองหาหุ้นที่พึ่งพาตัวเองได้ มีกำลังซื้อภายในประเทศหนุนอยู่ มีหนี้ไม่มาก แบบนี้น่าจะเป็นหุ้นที่น่าเอาเข้ามาใน watchlist นะครับ สำหรับครั้งนี้ก็ขอฝากไว้ประมาณนี้ครับ