ธปท. ปฏิวัติระบบการเงิน ลดการใช้เงินสด -รื้อค่าธรรมเนียม-ตั้งVirtual  Bank

02 ก.พ. 2565 | 06:10 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ก.พ. 2565 | 17:44 น.

ธปท.หารือโครงสร้างค่าธรรมเนียมแล้วเสร็จภายในปี 2565 พร้อมแผนลดการใช้เงินสดอัตราเร่งเป็น 2 เท่าภายในปี 2567 เผยครึ่งแรกปีนี้เตรียมร่างหลักเกณฑ์ตั้ง Virtual Bank - เปิดรับฟังความเห็น “ภูมิทัศน์การเงิน” ภาย 28 ก.พ 65

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสดิจิทัล  สิ่งแวดล้อมและผู้เล่นหน้าใหม่ ดั้งนั้น ธปท. ในฐานะ ที่เป็นหนึ่งในผู้กำกับ ดูแลเสถียรภาพ ระบบการเงิน ตระหนักถึงความสำคัญ ของพัฒนาการด้านเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการทางการเงิน สร้างความยั่งยืน จากการดำเนินธุรกิจ

 

ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเห็นได้จากการเติบโตจากโมบายแบงกิ้งและอินเตอร์เน็ตแบงก์จาก 36 ล้านบัญชี เพิ่มเป็น 121 ล้านบัญชี โดยปริมาณการโอนเงินเพิ่มสูงขึ้นถึง 18 เท่า โดยมีการโอน 300 ครั้งต่อคนต่อปี และมีปริมาณการโอนเงินผ่านโมบายแบงกิ้งและอินเตอร์เน็ตเพิ่มเป็น 14,400 ล้านรายการ จาก 800 ล้านรายการ ขณะที่โลกเดิมหดตัว โลกใหม่เติบโต โดยจะเห็นได้จากสาขาธนาคารปิดตัวไป 1,400 แห่ง

 

ขณะเดียวกัน กระแสจากสิ่งแวดล้อมเห็นเงินไหลเข้ากองทุนด้านสิ่งแวดล้อม (ESG Funds) เพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีมีมูลค่าเติบโตเป็น 10 เท่า และมากกว่า 50% ของกองทุนจะลงทุนใน Net Zero Carbon ในปี 2593 โดยประมาณ 60% จะถูกกระทบจากมาตรการทางการค้าของยุโรป

ธปท. ปฏิวัติระบบการเงิน ลดการใช้เงินสด -รื้อค่าธรรมเนียม-ตั้งVirtual  Bank

และผู้เล่นหน้าใหม่ใน5 ปีที่ผ่านมา 40%เป็นการเติบโตสินเชื่อรายย่อยของNon banksในไทยเทียบกับธนาคารดั้งเดิมเติบโต 24%  หรือ500% เป็นการเติบโตสินเชื่อทั่วโลกที่ปล่อยโดยฟินเทค และ4,000% เป็นการเติบโตสินเชื่อทั่วโลกที่ปล่อยโดย BigTech

 

ขณะที่ไทยไม่ได้ล้าหลังทั้ง การใช้งานธุรกรรมดิจิทัล ผ่าน Mobile Banking สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก และโอนเงินผ่าน e-payment สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยที่ผ่านมา มีความคืบหน้า ในการวางโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกรรมดิจิทัล ทั้งพัฒนาพร้อมเพย์ ให้เป็น Real Time payment อันดับแรกๆของอาเซียน และ อันดับ 1 ของโลกด้านการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลหรือ Wholesale CBDC

ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไป ทำให้การกำกับดูแลยากขึ้น ธปท.จึงออกแนวทางของภูมิทัศน์การเงิน (Bot's Consultation Paper  On  Financial Landscape ) เพื่อหารือและเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อหาคำตอบและกำหนดทิศทางในอนาคต ในหลักการรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมและความเสี่ยง โดยด้านนวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้บริการเพื่อสะดวกขึ้น  เร็วขึ้น ถูกลง ส่วนแนวทางกำกับความเสี่ยงนั้น เปิดรับความเสี่ยงอย่างรอบคอบและเท่าทัน

 

เช่น อะไรที่มีความเสี่ยงมากต้องกำกับเข้ม กรณี ไม่เสี่ยงมากก็ผ่อนได้  และความเสี่ยงไม่ชัด ต้องมีราวกั้น(guard   rail)ที่ไม่แน่นอน  เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งหมดนี้เพื่อมาดูแลผลประโยชน์เพื่อส่วนร่วม

 

“ระบบการเงินไทยเจอวิกฤกติหลายรอบ อาทิ เงินเฟ้อ วิกฤตปี 40 และโควิด-19 ธปท.ปรับตัว  ปรับนโยบายท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง  แต่ภาระกิจหน้าที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง เราจำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ โดยภูมิทัศน์การเงินจะเป็นสิ่งที่เราอยากหาจุดสมดุลระหว่างนวัตกรรมและความเสี่ยง ซึ่งไม่ได้เป็นแผนแม่บท 5 ปี แต่เปเปอร์จะพยายามสื่อถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงและหาคำตอบ” 

 

ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวทางของภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทบเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืนนั้นมีโจทย์ 3 ด้าน ( กระแสดิจิทัล กระแสกรีนและผู้เล่นรายใหม่) โดยธปท.เปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ จากสาธารณชนทั้งในส่วนของเนื้อหาทั่วไปประเด็นเฉพาะเรื่องที่ระบุเป็นคำถาม ในแต่ละหัวข้อ

 

สามารถส่งความเห็นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่าน 2 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ธปท.และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยธปท.จะรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะไปปรับปรุง ทิศทาง และแนวนโยบายการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย รวมทั้งกำหนดแนวนโยบายเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติต่อไป

 

สำหรับรายละเอียดของสำหรับทิศทางสำคัญในการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงิน ตามเอกสารเผยแพร่  ประกอบด้วย

ธปท. ปฏิวัติระบบการเงิน ลดการใช้เงินสด -รื้อค่าธรรมเนียม-ตั้งVirtual  Bank

เปิดโอกาสให้ภาคการเงินสามารถใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการภายใต้หลักเกณฑ์  3 Open ได้แก่

 

1. เปิดกว้างในการแข่งขัน (Open competition) แนวนโยบายที่สำคัญคือ

-ขยายขอบเขตหรือเพิ่มความยืดหยุ่น ในการทำธุรกิจของสถาบันการเงินและนันแบงก์  แนวนโยบายสำคัญในการเปิดให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลหรือVirtual  Bank มีขอบเขตการประกอบธุรกิจเหมือน traditional Bank เต็มรูปแบบ สามารถนำเสนอบริการทางการเงิน และแข่งขันกับผู้ให้บริการอื่นได้อย่างเต็มที่ โดยต้องจดทะเบียนจัดตั้งและมีสำนักงานใหญ่หรือบริษัทแม่ในไทย เพื่อให้ธปท.สามารถกำกับดูแล ผู้ประกอบธุรกิจผ่านหน่วยงานในไทยได้ สอดคล้องกับ แนวทาง อนุญาตให้จัดตั้งVirtual  Bank ในมาเลเซีย   ฟิลิปปินส์ และDigital full  Bankในสิงคโปร์

ธปท. ปฏิวัติระบบการเงิน ลดการใช้เงินสด -รื้อค่าธรรมเนียม-ตั้งVirtual  Bank

- ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินหรือ FinTech จากเดิมกำหนดไม่เกิน 3% ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นในรูปแบบโครงสร้างกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในภาคการเงินโดยไม่กระทบผู้ฝากเงินและมีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสม

 

- เร่งลดการใช้เงินสดอย่างต่อเนื่องรวมทั้งลดการใช้เช็คกระดาษให้เหลือไม่ถึงครึ่งภายใน 5 ปีเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

 

- ขยายให้ non-bank Fls ทำธุรกิจได้หลากหลายขึ้น เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้วยต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อให้แข่งขันได้เต็มที่ภายใต้การกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยงและเท่าเทียมกับผู้เล่นอื่น

 

2. เปิดกว้าง ให้ผู้ให้บริการกลุ่มต่างๆเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรม( Open Infrastructure) แนวนโยบายสำคัญได้แก่

 

- ยกระดับธรรมาภิบาลของโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินให้เปิดกว้าง ต่อการใช้ประโยชน์และพัฒนานวัตกรรมโดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

 

- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยต้นทุนที่สะท้อนความเสี่ยงตามจริงมากขึ้น เช่นกลไกค้ำประกันเครดิตสำหรับความต้องการเงินทุนที่หลากหลายและกลไกเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ

 

- ทบทวนโครงสร้างราคาบริการชำระเงินพิจารณาทบทวนโครงสร้างราคาบริการชำระเงินโดยเฉพาะเงินสดและเช็คให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยธปท. จะหารือและสรุปโครงสร้างค่าธรรมเนียมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 และกำหนดแผนการปรับค่าธรรมเนียมโดยเฉพาะการใช้เงินสด และเช็คต่อไป

 

รวมทั้งกำหนดนโยบายเพื่อลดการใช้เงินสดด้วยอัตราเร่งเป็น 2 เท่าภายใน 3 ปี ( อัตราการ ลดการใช้เงินสด ในปี 2567 เป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยในปี 2561 ถึง 2564 สะท้อนจากอัตราการเติบโตของมูลค่าการถอนเงินสดจากตู้ atm และเคาน์เตอร์ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ -6.50% และ -11.18 ตามลำดับ และภายในปี 2569 ลดการใช้เช็คกระดาษให้เหลือไม่ถึง 50%ของปริมาณการใช้ ณ ปี 2564  หลังพัฒนาให้ Digital Payment มีคุณลักษณะที่ตอบโจทย์และผลักดันให้ภาคธุรกิจและประชาชนหันมาใช้Digital Paymenyอย่างแพร่หลายเพื่อเร่งให้ไทยเข้าสู่ Less-cash society

 

 3. เปิดกว้างให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) อาทิ ผลักดันให้มีกลไกเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ