บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT และบริษัทในเครือประกาศผลประกอบการปี 2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรียบร้อย
โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งหมด 155,563.98 ล้านบาท ลดลง 29.62% จากปี 2566 ที่ทำได้ 221,037.69 ล้านบาท
ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” จะพาไปสำรวจผลประกอบการของแต่ละบริษัทในกลุ่ม ปตท. ว่าเป็นอย่างไร
มีกำไร 90,072.03 ล้านบาท ลดลง 19.6% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีกำไร 112,023.88 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 4/67 มีกำไร 9,311 ล้านบาท ลดลง 71.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง 43.0% จากไตรมาสก่อน
โดยในไตรมาส 4/67 บริษัทปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (EBITDA) จำนวน 93,291 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,321 ล้านบาทหรือ 6.0% จากไตรมาส 4/66 ที่จำนวน 87,970 ล้านบาท
ซึ่งมาจากกลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงานดีขึ้นตามกำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรของน้ำมันเบนซินและปริมาณขายภาพรวมที่ปรับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานดีขึ้นโดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากกำไรสต๊อกน้ำมันสุทธิกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งมีกำไรประมาณ 1,000 ล้านบาท
ขณะที่ในไตรมาส 4/66 ขาดทุนประมาณ 12,000 ล้านบาท แม้ว่ากำไรขั้นต้นจากการกลั่น(Market GRM) และปริมาณขายปรับลดลง
ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานลดลงเล็กน้อยตามส่วนต่างราคาผลิตภัณธ์กับวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าปริมาณขายปรับเพิ่มขึ้นส่วนกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานลดลงจากราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น และธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลดำเนินงานลดลง โดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซจากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิไตรมาส 4/67 ที่ลดลง จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น แม้ว่า EBITDA เพิ่มขึ้นดังกล่าว ประกอบกับในไตรมาส 4/67 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำสุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 5,100 ล้านบาท โดยหลักจากค่าใช้จ่ายตอบแทนส่วนแบ่งกำไรสำหรับบริหารการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มของ ปตท. โกลบอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด หรือ PTTGM ประมาณ 2,200 ล้านบาท
และประมาณการหนี้สินจากค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของกลุ่มบริษัท Vencorex และบริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด หรือ PTTAC ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)ประมาณ 2,200 ล้านบาท
กลุ่มไทยออยล์มีกําไรสุทธิ 9,959 ล้านบาท ลดลง 9,484 ล้านบาท หรือ -48.78% จากปี 2566 ที่ 19,443.17 ล้านบาท โดยมีอัตราการใช้กําลังการกลั่นลดลง เนื่องจากมีการหยุดเดินเครื่องนอกแผนของหน่วยกลั่นนํ้ามันดิบที่ 3 เป็นเวลา 13 วัน ในเดือนมกราคม 2567 และมีการหยุดซ่อมบํารุงตามแผนของหน่วยกลั่นนํ้ามันดิบที่ 1 และหน่วยที่เกี่ยวข้อง เป็นเวลา 11 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2567
รวมถึงราคาขายผลิตภัณฑ์หลายผลิตภัณฑ์ที่ปรับลดลง ส่งผลให้กลุ่มไทยออยล์มีรายได้จากการขาย 455,857 ล้านบาท ลดลง 3,545 ล้านบาท ด้านกําไรขั้นต้นจากการกลั่นปรับลดลงจากส่วนต่างราคานํ้ามันเบนซิน นํ้ามันอากาศยาน/นํ้ามันก๊าดและนํ้ามันดีเซลกับนํ้ามันดิบดูไบที่ปรับลดลง จากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นใหม่เริ่มดําเนินการ
นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์รับรู้ขาดทุนจากสต๊อกนํ้ามัน 5,913 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 5,105 ล้านบาทช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคานํ้าดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2567 ปรับลดลงจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจโลก ได้แก่ สหรัฐ และจีน
กำไรจากการดำเนินงานปกติลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า แม้ว่าปริมาณขายจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% มาอยู่ที่ 488,794 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากการเพิ่มกำลังการผลิตของโครงการจี 1/61 ตามแผนงาน และการรับสัดส่วนการลงทุนเพิ่มเติมในโครงการยาดานาภายหลังการถอนการลงทุนของผู้ร่วมทุน
โดยราคาขายเฉลี่ยของบริษัทปรับลดลง 3% มาอยู่ที่ 46.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ประกอบกับต้นทุนต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้น 7% มาอยู่ที่ 29.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ จึงทำให้กำไรจากการดำเนินงานปกติลดลง
อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2,227 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากในปี 2566 มีการรับรู้ผลขาดทุนที่ไม่ใช่การดำเนินงานปกติจากการด้อยค่าสินทรัพย์โครงการโมซัมบิก ในขณะที่ปี 2567 ไม่มีรายการดังกล่าว
มีกําไรสุทธิของบริษัทฯ มีมูลค่า 4,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 368 ล้านบาทหรือ 10% เมื่อเทียบ กับปี 2566 โดยหลักจากกําไรขั้นต้น 20,984 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,122 ล้านบาทหรือ 6% สาเหตุหลักมาจาก โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ที่เพิ่มขึ้น 3,057 ล้านบาท เนื่องมาจากปริมาณความต้องการไฟฟ้าและไอน้ําของลูกค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
รวมถึงบริษัทฯ ได้มี การบริหารจัดการต้นทุนเชื้อเพลิง ทั้งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าค่า Ft ซึ่งเป็นองค์ประกอบบางส่วน เฉพาะ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ส่งผลต่อราคาขายไฟฟ้าอุตสาหกรรมจะลดลงก็ตาม แต่บริษัทฯ ยังคงมีโครงสร้างรายได้หลักในส่วนของไฟฟ้า ไอน้ําที่ ส่งผ่านต้นทุนได้ โรงไฟฟ้าผู้ผลิตอิสระ (IPP) ลดลง 2,021 ล้านบาท เนื่องจากโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน มีค่าเชื้อเพลิงส่วนต่าง (Energy margin) ลดลง
มีกําไรสุทธิ จํานวน 7,650 ล้านบาท ลดลง 3,444 ล้านบาทจากปี 2566 หรือ -31.0% คิดเป็นกําไรต่อหุ้น 0.64 บาท โดยปี 2567 OR มีรายได้ขายและบริการ 723,958 ล้านบาท ลดลง 45,783 ล้านบาท (-5.9%) จากปี 2566 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากปริมาณจําหน่ายน้ํามันที่ลดลง และราคาน้ํามันในตลาดโลกเฉลี่ยปรับลดลงของกลุ่มธุรกิจ Mobility โดยรายได้ขายลดลง 7.4%
ส่วนธุรกิจ Lifestyle เพิ่มขึ้น 8.2% ตามการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นของทั้งธุรกิจค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ กลุ่มธุรกิจ Global ปรับเพิ่มขึ้น 10.9% ตามปริมาณจําหน่ายน้ํามันที่เพิ่มขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นหลัก
ขาดทุนสุทธิที่ 29,810.55 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 กำไรสุทธิ 999.13 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายรวม 604,045 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 2% โดยมีสาเหตุสําคัญมาจากรายได้ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นที่ปรับตัวลดลงจากราคาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสําเร็จรูปและกลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่ลดลง
ในภาพรวมในปี 2567 บริษัทฯ มี Adjusted EBITDA อยู่ที่ 31,766 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 17% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากผลประกอบการของกลุ่มผลิตภัณฑ์โรงกลั่นที่อ่อนตัวลงตาม GRM
นอกจากนี้บริษัทฯ รับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการดําเนินงานปกติ ได้แก่ ผลขาดทุนจากสต๊อกน้ํามัน (Stock loss) และรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้ เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV) รวม 2,457 ล้านบาท กําไรทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนและกําไรจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินรวม 383 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากเงินลงทุนที่รับรู้ในปีนี้จํานวน 1,462 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเนื่องจากผลประกอบการของธุรกิจปิโตรเคมีที่อ่อนตัวลงในปีนี้โดยเฉพาะธุรกิจโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่ปรับลดลงตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ PVC เป็นหลัก
ขาดทุนสุทธิ 5,193 ล้านบาท ขาดทุนมากกว่าปี 2566 ที่ 78% โดยมีรายได้จากการขายสุทธิสำหรับปี 2567 จำนวน 281,711 ล้านบาท ลดลง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุจากปริมาณขายลดลง 4% และราคาขายเฉลี่ยลดลง 2% ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง
สำหรับธุรกิจปิโตรเลียมมีกำไรขั้นต้นจากการกลั่นตามราคาตลาดที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาดของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับราคาแนฟทาปรับตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ มีบันทึกค่าเสื่อมราคา 9,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มจากโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2567 ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิจำนวน 2,427 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาด
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่า และตัดจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 566 ล้านบาท โดยหลักมาจากบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และบันทึกการกลับรายการด้อยค่าที่ดิน