ความเดิมครั้งก่อน
ประวัติ Z.com โบรกเกอร์ไทยสัญชาติญี่ปุ่น
- Z.com คือ หนึ่งในโบรกเกอร์ไทย หมายเลข 10 ที่มี จีเอ็มโอ ไฟแนนซ์เชียล โฮลดิ้งส์ อิ้งค์ กลุ่มทุนญี่ปุ่นถือหุ้นใหญ่ ซึ่งกลุ่มทุนนี้แว่วมาว่าเป็นกลุ่มทุนอิทธิพลน่าสะพรึงกลัวสูง
- Z.com เริ่มกิจการ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 และมีทุนจดทะเบียน 2.88 พันล้านบาท มุ่งเน้นการปล่อยมาร์จิ้นหุ้น หรือเงินกู้ที่มีหุ้นค้ำ โดยพอร์ทลูกหนี้ปัจจุบันคาดว่ามูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท
- Z.com ปัจจุบัน ขาดทุนบักโกรก กว่า 518 ล้านบาทในปี 2565 และขาดทุน 726 ล้านบาทในปี 2566 สรุปขาดทุนสะสมรวมกันกว่า 1.163 พันล้านบาทตั้งแต่เปิดกิจการ โดยจากที่ประเมินเราคาดว่าน่าจะขาดทุนหนักจาก การ force sell หุ้น OTO และหุ้น More ของเฮียม๊อ
- การขาดทุนหนักล่าสุด Z.com ภายใต้การบริหารของ CEO นายประกฤต ธัญวลัย หรือ “เต้ย” หนึ่งในกรรมการ ASCO หรือ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ก็แว่วๆว่าทุนญี่ปุ่นยื่นคำขาด อยากปิดกิจการและ cut loss ความเสียหาย อย่างไรก็ตามหลังจากสัปดาห์ก่อน Z.com ล่าสุดได้ยืนยันว่ายังไม่ปิด (นะจ๊ะ)
ความคืบหน้าล่าสุด
- ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2567 ภายหลังสื่อเริ่มประโคมข่าวว่า บล. Z.Com จะปิดกิจการ… Z.Com ก็ออก Press ชี้แจง ว่ายังดำเนินธุรกิจต่อ
- ล่าสุด ถัดมาอีก 10 วันหลังคำแถลง พอมาวันศุกร์ที่ 7 มิ.ย. 2567 Z.com โผล่ออกโรงประกาศบังคับ ลูกค้าปิด Port บัญชีมาร์จิ้น พร้อมเรียกหนี้คืนภายใน 20 ธันวาคม 2567
ทุนญี่ปุ่น กับความความจริงใจ
- จากเหตุการณ์ทั้งหมด เสมือน Z.Com กำลังเล่นขายของกับพี่น้องประชาชนคนไทยที่ไว้ใจในบริษัทซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นทุนญี่ปุ่น แต่ทว่าจากลำดับเรื่องราวและความชี้แจงของ Z.Com ก็แสดงว่า บริษัทก็เสมือน ว่าแก้ต่างไปวันๆ… วันที่ 27 พ.ค. 2567 บอกอย่าง 10 วันต่อมาพูดอย่าง
- การทำธุรกิจ ต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความจริงใจต่อลูกค้า … ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจใด ในประเทศใดก็ตาม… ซึ่ง “ทุนญี่ปุ่น” ขึ้นชื่อว่าซื่อตรง กว่าหลายชาติในโลก แต่ Z.Com แหกโผ
- แน่นอนว่าสิทธิ์ทางกฏหมายเป็นของ Z.Com ในการเรียกคืนหนี้และปิดการให้บริการ แม้ก่อนนั้น โม้หนักหนาว่ามีญี่ปุ่นหนุน และบริษัทเคยจะเข้าตลาดหุ้น… แต่วันดีคืนดี จะเรียกหนี้คืนทันที ไม่ให้เวลาลูกค้าปรับตัว ก็ทำกันแบบดื้อๆ
- พูดให้เห็นภาพ… ลองคิดดู หากธนาคารพาณิชย์ไทยเจ้าหนึ่ง บอกว่าจะปิดพรุ่งนี้ จะหยุดให้บริการสินเชื่อและเรียกหนี้คืนหมด ระบบเศรษฐกิจจะพังขนาดไหน?
- แม้ตลาดหุ้นไทย ไม่ใช่ตลาดหุ้นญี่ปุ่น แต่การมาหากินในไทยก็ใช่ว่า วันนี้อยากทำ พรุ่งนี้โกรธ ผู้บริหารคนไทยและอยากปิด ก็ปิด ไม่คำนึงถึง Collateral Damage ของนักลงทุน… ลูกค้า… และผลกระทบทางเศรษฐกิจ
- ส่วนด้านผู้คุมกฏไทยก็เกินบรรยาย ทั้ง ตลท. ทั้ง กลต. และ ธปท. ก็ปล่อยปละละเลย จน Z.com ทำธุรกรรมเลยเถิด จากการให้ Margin เล่นหุ้น ไปสู่ Equity Financing เจ้าของบริษัทจดทะเบียนไทย (ซึ่งขัดนโยบายสนับสนุนของ ธปท.)
- กลต. เค้าให้ license มาปล่อยเงินให้ลูกค้าเล่นหุ้น ไม่ใช่ให้เจ้าของเอาหุ้นมาค้ำ … ผู้บริหาร Z.com ไม่เคยรู้หรอ
- ส่วนความเสียหายของ Z.com จนกำไรขาดทุนไป 1.2 พันล้านบาท ใน 2 ปี ก็เพราะไปปล่อยกู้หุ้นศักยภาพต่ำเช่น More และ OTO ในอัตรา 50%
- ส่วนจะโทษใคร ก็ต้องโทษตัวเอง… โทษแผนกประเมินความเสี่ยงตนเอง… โทษผู้บริหารตนเอง ไม่ใช่ทำแบบนี้กับลูกค้าตาดำๆ
การตอบโต้ของลูกค้า
- จาก Port ลูกหนี้กว่าหมื่นล้านบาท… จำนวนลูกหนี้นับไม่ถ้วน กับการหยุด!! ให้บริการแบบกะทันหัน… ไม่แปลกหากลูกค้าหลายรายจ่อยื่นร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย… ทั้งสำนักงานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. … ทั้ง กลต. และ ธปท.
- ผู้บริโภคเหล่านี้ เพียงหวังว่า การให้เวลาประนีประนอมคงได้ข้อยุติ หาได้คิดชักดาบ ทุนญี่ปุ่นอย่างที่ครหาไม่
บทเรียนคนไทย… และหุ้นความเสี่ยง
- จากบทเรียนนี้ จากเหตุการณ์นี้… คำถามสุด classic คือ Regulator ผู้มีอำนาจไทย (แต่ใช้ไม่เป็น) ทั้ง ธปท. ทั้ง กลต. ทั้ง ตลท. จะว่าไง… จะทำตัวเหมือนวัวหายล้อมคอก?? หรือ จะทำตัวดั่งวิญญูชนที่พึงปฏิบัติ คือ รู้หน้าที่… รู้คุณธรรม… กล้าดำเนินการตามหลักการของจริยธรรม หรือไม่?!?
- อย่างไรก็ตาม… เหตุนี้ หาก Regulator ไทย ไม่ทำอะไร… นั่งดูตาปริบๆ… มีหุ้นอยู่ 29 ตัวที่อยู่ใน list หุ้นที่ถูกค้ำประกัน margin ในภาพรวมทั้งระบบเรียงตาม % หุ้นที่ถูกค้ำจำนวนมาก ไปหาน้อย เช่น หาก 30% แปลว่าหุ้น 30% ของบริษัทถูกค้ำประกันอยู่!!!
- ซึ่งหุ้นเหล่านี้ หากเจ้าของไม่มีเงินคืนหนี้ และหากถูก forcesell ลงมา อาจเกิดความเสียหายที่เกินจะบรรยาย floor floor floor… โดยข้อมูลนี้มาจาก กลต. หาได้เขียนขึ้นมาเอง (นะจ๊ะ)
- SCM 52.09%
- GPI 51.12%
- SAAM 49.98%
- TFG 47.27%
- YGG 46.37%
- SA 41.21%
- A5 40.63%
- KUN 38.30%
- NRF 38.20%
- GLORY 37.06%
- IP 32.95%
- JSP 31.72%
- SFLEX 30.96%
- BM 28.87%
- III 28.39%
- CGD 27.19%
- SBNEXT 27.02%
- UKEM 26.70%
- READY 25.08%
- FVC 24.48%
- DEMCO 24.46%
- APCS 24.00%
- WARRIX 23.91%
- SAMART 23.33%
- PJW 23.13%
- TRITN 21.89%
- BEYOND 21.44%
- SSP 20.71%
- NER 20.50%