นับถอยหลังประเทศไทยกำลังมีดาวเทียมเป็นของตนเอง ภายหลัง จิสด้า หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) แจ้งความคืบหน้าการพัฒนาธุรกิจดาวเทียม จำนวน 2 ดวง คือ ดาวเทียม ธีออส -2 ( THEOS -2 ) และ ดาวเทียมธีออส-2 A (THEOS -2A) โดย ธีออส-2 ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 20.00 น. ตรงกับเวลาในประเทศไทย คือ วันที่ 20 กันยายน เวลา 08.00 น. ณ ฐานปล่อยจรวดของเฟรนช์ เกียนาในทวีปอเมริกาใต้
อย่างไรก็ตาม ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ สทอภ. ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับดาวเทียมธีออส-2 และ การพัฒนากิจการอวกาศในประเทศไทย อ่านรายละเอียดบรรทัดถัดจากนี้
ดาวเทียมทั้งสองดวงใช้งบลงทุนเท่าไหร่
โครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากรทั้ง 2 ดวง ที่กำลังจะยิงขึ้นสู่อวกาศใช้เงินลงทุนจำนวน 7,000 ล้านบาท เป็นโครงการระยะเวลาต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี โดย ธีออส-2 ขึ้นสู่ท้องฟ้าในวันที่ 19 ก.ย. 66 เวลา 20.00 น. ตรงกับเวลาในประเทศไทยวันที่ 20 ก.ย. เวลา 08.00 น. ดาวเทียมเล็ก THEOS-2A มีกำหนดการที่จะนำส่งขึ้นสู่อวกาศในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ณ ฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศสาธิต ธาวัน เมืองศรีหริโคตา ประเทศอินเดีย
ประสิทธิภาพดาวเทียม
สำหรับประสิทธิภาพดาวเทียม ธีออส-2 เป็นดาวเทียมถ่ายภาพที่มีรายละเอียดสูงถึง 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ ดาวเทียม ทั้ง 2 ดวงเป็นของประเทศไทย มีศูนย์กลางการควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมอยู่ที่ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งจะสามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมในหลายพื้นที่ทั่วโลก ถือว่าเป็นก้าวใหญ่ของประเทศไทยที่มีดาวเทียมที่มีรายละเอียดสูงมีประสิทธิภาพสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน
สำหรับดาวเทียมทั้ง 2 ดวง ได้จัดเก็บไว้ภายใต้สภาวะควบคุม
สภาพแวดล้อม โดย ดาวเทียมธีออส-2 ถูกจัดเก็บ ณ Airbus Test Facility เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ส่วนดาวเทียมเล็ก THEOS-2A ประกอบและทดสอบแล้วเสร็จ เก็บไว้ภายใต้สภาวะควบคุมสภาพแวดล้อม ณ อาคารประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรม (SKP) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี คาดว่าจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ณ ฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศสาธิต ธาวัน เมืองศรีหริโคตา ประเทศอินเดีย
หลังจากยิงดาวเทียมธีออส-2 มีการพัฒนาและต่อยอดเพิ่มเติมหรือไม่
มีแผนพัฒนาและต่อยอดดาวเทียมธีออส-3 ภายหลังจาก ส่งวิศวกรดาวเทียมของไทยจำนวน 22 คน ไปฝึกฝน เรียนรู้ และ ลงมือปฏิบัติจริง ณ สหราชอาณาจักร และ กลับมาต่อยอดให้กับบุคลากรในประเทศ จะมีการดำเนินการต่อในเรื่องการสร้างวิศวกรใหม่ โดยการรับวิศวกรรุ่นใหม่ หรือ ที่มีความสนใจในการสร้างดาวเทียมมาร่วมทีมพัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป ทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป และในอนาคตสร้างดาวเทียมพัฒนาฝีมือคนไทยอีกด้วย
ประสิทธิภาพดาวเทียมธีออส-2
ดาวเทียมธีออส 2 สามารถสั่งถ่ายภาพได้ถึง 4 รูปแบบด้วยกันคือ