"คดีแอชตันอโศก"กับความเห็นแย้ง ตุลาการ เสียงข้างน้อย

02 ส.ค. 2566 | 16:49 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ส.ค. 2566 | 17:35 น.
741

"คดีแอชตันอโศก" กับความเห็นแย้ง ตุลาการ เสียงข้างน้อย 19 ต่อ30 พิเคราะห์ว่า เอกชน พยายามขยายเขตทางให้ได้ตามกฎหมาย ป้องกันปัญหาเพลิงไหม้ รถดับเพลิงเข้าถึงโครงการได้ ที่ดินรฟม. ใช้เป็นทางร่วมระหว่าง คนใช้ที่จอดรถ ผู้อยู่อาศัยและการเดินทางโดยรถไฟฟ้า

 

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ยืนตามศาลชั้นต้น(กลาง) สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมหรู”แอชตัน อโศก”  ของ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์   ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากเสียงเอกฉันท์ ตุลาการเสียงข้างมาก 30ต่อ 19  ฐาน ขนาดเขตทางเข้า-ออกโครงการ  ขัดกฎหมายควบคุมอาคาร  เนื่องจากไม่มีด้านใดด้านหนึ่งที่มีหน้ากว้าง12เมตรติดกับทางสาธารณะ หรือมีเขตเข้า-ออกโครงการเพียง6.40เมตร  ทั้งที่ก่อสร้างเป็นอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่พิเศษพื้นที่เกิน3หมื่นตารางเมตร

แม้ว่า เอกชน หรืออนันดาฯ (ผู้ร้องสอด) จะชี้แจงว่าได้ขอเช่าที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพิ่มเติมให้ได้ตามขนาดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ ศาลฯพิเคราะห์แล้วว่า ที่ดินที่ได้จากการเวนคืนประชาชนเพื่อใช้ในกิจการขนส่งมวลชนสาธารณะ ไม่สามารถให้เอกชนใช้ประโยชน์เพื่อก่อสร้างโครงการอาคารชุดได้

คำชี้ขาดในครั้งนี้สร้างแรงกระเพื่อมเป็นวงกว้างให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ของไทยและผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม  โดยเฉพาะมีการกล่าวอ้างว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมในลักษณะเดียวกันกับ “คดีแอชตัน อโศก”  ดำเนินการในลักษณะใกล้เคียงคือ ใช้ที่ดินของรฟม.เป็นทางเข้า-ออก

ในทางกลับกัน ตุลาการเสียงข้างน้อย ที่มีความเห็นแย้ง จำนวน 19เสียง    โดยนายกมล สกลเดชา ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ในฐานะตุลาการเสียงข้างน้อย ฝ่ายที่สอง ไม่เห็นพ้องด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างมากจึงมีความเห็นแย้ง ดังนี้

  • ขยายเขตทางเข้า-ออก ป้องกันเพลิงไหม้ ตามกฎหมาย

ประเด็นที่หนึ่ง เห็นด้วย กับความเห็นตุลาการเสียงข้างน้อย ฝ่ายที่หนึ่ง ในประเด็นที่วินิจฉัยว่าเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ.2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้ว ย่อมเห็นว่ากฎกระทรวงดังกล่าว มุ่งคุ้มครองผู้ใช้อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินหากเกิดเพลิงไหม้อาคาร

การที่ข้อ 2 วรรคสอง ของกฎกระทรวงดังกล่าว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นมากกว่า3หมื่น ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร

จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีพื้นที่เพียงพอต่อการเข้าไปดับเพลิง และช่วยเหลือผู้ใช้อาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารเท่านั้น มิได้มุ่งประสงค์จะให้อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร แต่อย่างใด

เอกชน จึงสามารถนำที่ดิน ที่มีอยู่ 6.40เมตร ไปรวมกับที่ดินแปลงอื่นของรฟม.ที่ติดต่อกัน และมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร

เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกของอาคารได้ โดยอาจเป็นที่ดินของ เอกชนเอง หรือเป็นที่ดินของรฟม.ยินยอมให้ เอกชนใช้เป็นทางเข้า-ออกถนนสาธารณะก็ได้ โดยเอกชน ได้ยื่นคำขอตามแบบคำขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม.เป็นทางผ่านลงวันที่ 5 ก.พ.2557 และหนังสือลงวันที่ 11 เม.ย.2559 ต่อ รฟม. โดยขอขยายทางผ่านที่ดินของ รฟม. บริเวณลานจอดรถสถานีสุขุมวิท จากเดิมที่เป็นทางจำเป็นกว้าง 6.40 เมตรเพิ่มเป็นกว้าง 13 เมตร หรือขอยายทางเพิ่มอีก 6.60 เมตรและเนื่องจากทางจำเป็นตั้งอยู่ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2346 เลขที่ดิน 5650 บริเวณด้านทิศใต้ของลานจอดรถสถานีสุขุมวิท ซึ่งเป็นปล่องระบายอากาศของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ไม่สามารถขยายทางเพิ่มได้

ดังนั้นจึงขอย้ายตำแหน่งทางดังกล่าวไปอยู่ทางทิศเหนือของสานจอดรถสถานีสุขุมวิท ซึ่งติดกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และเอกชนตกลงจะให้ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในวงเงิน 97.67 ล้านบาท บาท โดยการก่อสร้างอาคารจอดรถพร้อมพื้นที่ใช้สอย ขนาด 9 ชั้น ให้แก่ รฟม. ต่อมา คณะกรรมการการ รฟม. ในการประชุมครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 พิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามคำขอของเอกชน

รฟม. โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 (ผู้ว่าฯ รฟม.) จึงออกใบอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม.เป็นทางผ่าน เลขที่ รฟม 012/1135 ลงวันที่ 4 ก.ค.2557 อนุญาตให้เอกชนผ่านที่ดินของ รฟม. ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189 เลขที่ดิน 2161 บริเวณลานจอดรถสถานีสุขุมวิท โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 1 ช่องทาง ขนาดกว้าง 13 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนอโศกมนตรี ซึ่งเอกชนตกลงจะให้ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในวงเงิน 97.67 ล้านบาท โดย รฟม. เป็นผู้พิจารณาว่าจะรับเงินค่าทดแทนเป็นเงิน หรือเป็นการก่อสร้างอาคารจอดรถพร้อมพื้นที่ใช้สอยให้ รฟม.

  • เอกชนใช้ที่ดินรฟม.ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189 เลขที่ดิน 2161 ของ รฟม. เป็นที่ดินที่ได้มาโดยการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักรเขตบางชื่อ เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า กรณีที่ รฟม.  ออกใบอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่าน เลขที่ รฟม 012/1135 ลงวันที่ 4 ก.ค.2557 และบันทึกข้อตกลง เรื่อง การใช้ที่ดินของรฟม.เป็นทางเข้า-ออกและการปรับปรุงพื้นที่ลงวันที่ 26 มิ.ย.2557

อนุญาตให้เอกชน ผ่านที่ดินของ รฟม. ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189 เลขที่ดิน 2161 บริเวณลานจอดรถสถานีสุขุมวิท โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 1 ช่องทาง ขนาดกว้าง 13 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนอโศกมนตรี เป็นการดำเนินการตามวัตุประสงค์แห่งการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวข้างต้น หรือไม่

โดยมีความเห็นว่า ในระยะแรก รฟม. ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189 เลขที่ดิน 2161 ในการดำเนินการกิจการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล โดยใช้เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้า (สถานีสุขุมวิท) มีการก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าและปล่องระบายอากาศ พื้นที่ส่วนที่เหลือจัดไว้สำหรับเป็นลานจอดรถให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จึงถือว่า รฟม. ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189 เลขที่ดิน 2161 เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนแล้ว

ส่วนการที่ รฟม. ได้อนุญาตให้เอกชนใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน สำนักงานขาย และติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย โครงการแอซตัน อโศก ของผู้ร้องสอด นั้นเป็นการอนุญาตให้เอกชน ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจของโครงการแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ไม่สามารถใช้บริการบริเวณลานจอรถสถานีสุขุมวิทได้ อันถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนแต่ การที่ รฟม. อนุญาตให้ เอกชน  ย้ายตำแหน่งทางเข้าออกที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2345เลขที่ดิน 2160 จากเดิมที่อยู่บริเวณลานจอดรถสถานีสุขุมวิทด้านติดปล่องระบายอากาศ ขนาดกว้าง 6.40 เมตร ไปอยู่บริเวณด้านติดสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และขยายความกว้างเพิ่มอีก 6.60 เมตร รวมเป็นความกว้าง 13 เมตร 

เพื่อเป็นทางเข้าออกของโครงการแอชตัน อโศก พร้อมระบบสาธารณูปโภคของที่ดินทั้ง 3 แปลงของเอกชน แม้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจของเอกชน รวมทั้งผู้พักอาศัยในโครงการแอชตัน อโศก ที่จะมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. ส่วนที่เป็นทางดังกล่าวก็ตาม โดยที่ที่ดินในส่วนนี้ เดิม รฟม. ใช้ประโยชน์ เป็นทางเข้าออกลานจอดรถสถานีสุขุมวิท เมื่อ รฟม. อนุญาตให้เอกชนใช้เป็นทางเข้าออกถนนสุขุมวิท 21 หรือถนนอโศกมนตรี ของโครงการแอชตัน อโศก ของเอกชนแล้ว

รฟม.ยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นทางเข้าออกลานจอดรถสถานีสุขุมวิทดังเดิมในลักษณะเป็นการใช้ทางร่วมกันระหว่างประชาชนผู้มาใช้บริการลานจอดรถสถานีสุขุมวิทกับผู้พักอาศัยในโครงการแอชตัน อโศก ของเอกชน โดยเอกชนได้ปรับปรุงทางเข้าออกลานจอดรถใหม่ให้สามารถเดินรถได้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ตามที่ผู้ร้องสอดได้ขออนุญาตเชื่อมทางเป็นทางเข้า-ออก ตามหนังสือลงวันที่ 11 เม.ย.2557

จึงถือว่าภายหลังจากเอกชนดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการแอชตัน อโศก แล้วเสร็จ รฟม.มาใช้ประโยชน์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189 เลขที่ดิน 2161 สำหรับเป็นที่จอดรถของประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีสุขุมวิท ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ แล้ว

 

 

 

เทียบเสียงตุลาการเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย