นักวิเคราะห์ บล.ดาโอ (ประเทศไทย) เปิดมุมมองต่อหุ้นกลุ่มยานยนต์ว่า ด้วยยอดผลิตรถยนต์เดือน ธ.ค.24 ลดลง ทั้งเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และจากเดือนก่อน จากยอดขายรถยนต์ในประเทศและส่งออกที่ปรับตัวลดลง ทำให้ภาพรวมรวมปี 67 มียอดผลิตรถยนต์ 1.47 ล้านคัน -20% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน
ยอดขายในประเทศ -21% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 28% จากเดือนก่อน อยู่ที่ 5.4 หมื่นคัน ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และลดลง เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อนมาก จากสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราต่ำ ทั้งนี้ รวมปี 67 ยอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 5.7 แสนคัน -26% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน
ยอดส่งออก -15% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และ -15% จากเดือนก่อน อยู่ที่ 7.6 หมื่นคัน จากปัจจัย
ทั้งนี้ รวมปี 67 ยอดส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 1.02 ล้านคัน -9% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน
ยอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์นั่ง BEV (ไม่เกิน 7 คน) เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ 5.1 พันคัน ลดลง -44% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน, -5% จากเดือนก่อน รวมปี 67 มียอดจดทะเบียนใหม่ 6.8 หมื่นคัน -10% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน
ส.อ.ท.ตั้งเป้าปี 68 จะมียอดผลิตรถยนต์ 1.5 ล้านคัน ขยายตัว 2% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 5.0 แสนคัน เพิ่มขึ้น 8% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน จากการผลิต EV ชดเชยการนำเข้าตามโครงการ EV3.0 ส่วนผลิตเพื่อส่งออกที่1.0 ล้านคัน -1% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน จากมาตรการด้านการค้า, ประเทศคู่ค้ามีการผลิตรถกระบะทำให้การส่งออกรถกระบะของไทยลดลง รวมถึงมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย
ฝ่ายวิจัยมองเป็นลบต่อบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากยอดผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวลดลง เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ทั้งนี้ ยอดผลิตรถยนต์ปี 67 ใกล้เคียงกับที่ฝ่ายวิจัยประมาณการไว้ ส่วนปี 68 ยังประเมินจะทรงตัวต่ำที่ 1.45-1.50 ล้านคัน จากกำลังซื้อในประเทศที่ยังอ่อนแอ และการส่งออกได้รับผลกระทบจากความระมัดระวังการใช้จ่ายของประเทศคู่ค้า และการแข่งขันที่มากขึ้น
กลุ่ม Automotive ยังให้น้ำหนัก underweight ไม่มี top pick โดย SAT (แนะถือ ราคาเป้าหมาย 11.50 บาท) ฝ่ายวิจัยประเมิน SAT กำไรปี 67 จะลดลง -34% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ตามทิศทางยอดผลิตรถยนต์ที่ลดลง โดยเฉพาะรถกระบะที่ยังลดลงมาก ส่วนปี 68 จะยังทรงตัวตามยอดผลิตรถยนต์
นอกจากนี้ ยังมองเป็นลบต่อหุ้นปล่อยสินเชื่อรถยนต์และจำนำทะเบียนรถ จากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ลดลง สะท้อนถึงความต้องการรถยนต์ที่ชะลอตัว ซึ่งกดดันต่อยอดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อที่น้อยลงและราคารถมือสองที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ จากความต้องการที่ยังไม่ดีขึ้นในช่วงเศรษฐกิจชะลอ ทำให้มีโอกาสรับรู้ขาดทุนรถยึดที่ยังทรงตัวในระดับสูง
โดยกลุ่มธนาคาร ฝ่ายวิจัยประเมินผลกระทบจากมากไปน้อย ได้แก่ KKP (แนะถือ ราคาเป้าหมาย 50.00 บาท) เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่ 48%, TISCO (แนะถือ ราคาเป้าหมาย 96.00 บาท) มีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่ 46% และ TTB (แนะถือ ราคาเป้าหมาย 2.00 บาท) มีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่ 31%
ขณะที่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุต่อหุ้นกลุ่มยานยนต์ว่า จาก ส.อ.ท. รายงานยอดผลิตรถยนต์ในเดือนธ.ค. 67 ลดลง 17% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน จากกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง และการถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจากทั้งรถ EV และรถมือสองที่ราคาตกต่ำ ส่งผลให้ยอดผลิตปี 67 อยู่ที่ 1.47 ล้านคัน ลดลง 20% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และต่ำกว่าเป้า ส.อท. ราว 2%
โดยคาดกำไรในไตรมาส 4/67 จะปรับลดลงจากไตรมาสก่อน และเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ชะลอตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ในปี 67 คาดกำไรกลุ่มยานยนต์ปรับลดลง สำหรับปี 68 ทางฝ่ายปรับลดสมมติฐานการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์จากเดิม คาดเติบโต 5% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน เหลือ 2% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งมองผลประกอบการปีนี้เติบโต 7% เทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน เป็นเพียงการฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ
ทางฝ่ายคงน้ำหนักการลงทุน "น้อยกว่าตลาด" เพราะมีมุมมองเป็นลบต่อแนวโน้มผลประกอบการในปี 67 ที่ชะลอตัวตามอุตสาหกรรม ส่วนปี 68 มองอุตสาหกรรมฟื้นตัวในระดับต่ำ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ชะลอตัวตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ สำหรับการมาของ EV ในช่วง 2 ปี แรกที่มองเป็น disruption ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในไทย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า
และค่ายรถยนต์จีนที่ตั้งฐานการผลิตในไทยมีซัพพลายเออร์ของตัวเองตามมาจึงส่งคำสั่งซื้อให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยไม่มาก ทางฝ่ายไม่เลือกหุ้น Top pick ด้วยแนวโน้มผลประกอบการหุ้นกลุ่มชิ้นนส่วนยานยนต์ที่มองไม่สดใสนัก เนื่องจากมีปัจจัยลบรุมเร้า กลยุทธ์การลงทุนในกลุ่มยานยนต์เน้นตั้งรับ ค่อยกลับมาดูหลังประกาศงบงวดปี 67 หากราคาหุ้นปรับลดลงและให้ Yield ปันผลที่น่าสนใจค่อยกลับมาพิจารณาอีกครั้ง