“พาณิชย์”ถก 4 ฝ่ายถกแก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไร้ข้อสรุป

23 มี.ค. 2565 | 18:41 น.
อัปเดตล่าสุด :24 มี.ค. 2565 | 01:46 น.

“พาณิชย์”ถก 4 ฝ่ายถกแก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไร้ข้อสรุป  ผ่อนปรนมาตรการ 3 ต่อ 1 เหตุสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์แจ้งขอลาประชุม ด้านเกษตรกรเข้าใจสต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เตรียมนัดประชุมครั้งใหม่ หาข้อยุติให้ได้ต่อไป

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อพิจารณารายละเอียดการผ่อนคลายเงื่อนไขการนำเข้าข้าวสาลีจากเดิมหากนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน เป็นไม่มีการกำหนดสัดส่วนเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ก.ค.2565 ว่า วันที่ 23 มี.ค.2565 กรมฯ ได้เชิญประชุม 4 ฝ่าย คือ ผู้ปลูก ผู้เลี้ยง โรงงานอาหารสัตว์ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน

เพื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่อนคลายการนำเข้าดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้แจ้งขอลาประชุม ซึ่งกรมฯ จะได้นัดประชุมหารือและหาข้อยุติร่วมกันทุกฝ่ายโดยด่วนที่สุดต่อไป

 

“พาณิชย์”ถก 4 ฝ่ายถกแก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไร้ข้อสรุป

“ในการประชุมครั้งนี้ กรมฯ ได้หารือร่วมกับผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และข้าว รวมถึงตัวแทนสมาคมการค้าพืชไร่ ซึ่งทุกฝ่ายเข้าใจถึงสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงรายย่อย และยินดีที่จะหารือถึงแนวทางการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวบนพื้นฐานข้อมูลที่ยอมรับร่วมกัน เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิตและสามารถช่วยลดภาระราคาอาหารสัตว์ได้”
“พาณิชย์”ถก 4 ฝ่ายถกแก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไร้ข้อสรุป
 

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2565 ได้มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผู้แทนจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว มันสำปะหลัง เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ สุกร สมาคมโรงงานอาหารสัตว์

“พาณิชย์”ถก 4 ฝ่ายถกแก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไร้ข้อสรุป

และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีมติเห็นควรให้ผ่อนคลายมาตรการ 3 ต่อ 1 จนถึงวันที่ 31 ก.ค.2565 ก่อนที่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศจะออกสู่ตลาด และควรจำกัดปริมาณนำเข้า เพื่อไม่ให้มีการนำเข้าเกินสมควร จนส่งผลกระทบต่อผลผลิตในประเทศ