ลุ้นประชุมราคาอาหารสัตว์บ่ายนี้  ปรับมาตรการนำข้าวัตถุดิบ

23 มี.ค. 2565 | 13:50 น.
อัปเดตล่าสุด :23 มี.ค. 2565 | 21:08 น.

ลุ้นประชุมราคาอาหารสัตว์บ่ายนี้  "พาณิชย์"ประชุมปรับมาตรการนำข้าวัตถุดิบทั้งข้าวโพดและข้าวสาลี เตรียมเคลียร์ปมมาตรการ 3 ต่อ 1 จะเอายังไง แย้มมาตรการ 3 ต่อ 1 ปรับแน่ สัดส่วนเท่าใด ต้องคุยก่อน พร้อมกำหนดปริมาณนำเข้า   

หลังจากที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวสาลีที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลักปรับตัวสูงขึ้นจากปัญหาสงครามรัสซีย-ยูเครน และราคาข้าวโพดที่สูงขึ้นเป็นกิโลกรัม (กก.) ละ 10 กว่าบาท จาก กก. ละ 6-8 บาทซึ่งทำให้ต้นวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตอาหารสัตว์เพิ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ผลิตอาหารสัตว์

ลุ้นประชุมราคาอาหารสัตว์บ่ายนี้   ปรับมาตรการนำข้าวัตถุดิบ

ดังนั้นในช่วงบ่ายวันนี้(23มีนาคม)กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหาประชุมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรมี 2 ส่วน คือ 1.ชาวไร่ข้าวโพด ชาวไร่มันสำปะหลัง 2.ปศุสัตว์ ที่มีผลกระทบเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์สูง ทำให้ราคาเนื้อสัตว์มีต้นทุนสูงขึ้น และผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจะต้องหารือให้มีข้อยุติร่วมกัน และให้ได้ทางออกในเรื่องนี้

 

ลุ้นประชุมราคาอาหารสัตว์บ่ายนี้   ปรับมาตรการนำข้าวัตถุดิบ

ซึ่งต้องมาดูว่ามาตรการเดิมที่กำหนดช่วยชาวไร่ข้าวโพด ที่การนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน หรือมาตรการ 3 ต่อ 1 ในสถานการณ์นี้ ยังมีความเหมาะสมหรือไม่เบื้องต้น มีความเห็นควรผ่อนมาตรการนี้เป็นการชั่วคราว เพื่อไม่ให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นจนเกินไป และกระทบราคาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ แต่ยังมีความเห็นไม่สอดคล้อง จึงต้องคุยกันให้จบ ก่อนจะ นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) รวมถึงเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะดำเนินการต่อไปโดยเร็ว

ลุ้นประชุมราคาอาหารสัตว์บ่ายนี้   ปรับมาตรการนำข้าวัตถุดิบ

ทั้งนี้ แนวทางในการดูแลราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ขณะนี้มีมาตรการที่เสนอมาโดยผู้ผลิตอาหารสัตว์ 3 มาตรการ คือ การปรับลดสัดส่วนของมาตรการ 3 ต่อ 1 การเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยยกเลิกโควตาภาษีและค่าธรรมเนียม และการยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ซึ่งจะมีการพิจารณารายละเอียดมาตรการต่าง ๆ อีกครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการที่ดูแลแต่ละชุดพิจารณา หากเป็นเรื่องมาตรการ 3 ต่อ 1 ก็ต้องเข้า นบขพ. แต่ถ้าเป็นการลดภาษีนำเข้า ก็ต้องเข้าคณะกรรมการนโยบายอาหาร โดยมีหลักการว่าทุกมาตรการจะเป็นมาตรการระยะสั้น และไม่ส่งผลกระทบในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม มาตรการที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ การปรับลดสัดส่วนของมาตรการ 3 ต่อ 1 ซึ่งจะมีการพิจารณาว่า จะปรับลดสัดส่วนลงเท่าใด อาจจะเป็น 2 ต่อ 1 หรือ 1 ต่อ 1 หรือยกเว้นชั่วคราว และจะต้องมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าว่าไม่ควรเกินเท่าใด โดยพิจารณาจากปริมาณความต้องการใช้ของทั้งปี และผลผลิตที่มีอยู่ในประเทศ ส่วนการนำเข้าภายใต้ WTO และ AFTA ปัจจุบันองค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าได้ทั้งปี ผู้นำเข้าทั่วไป นำเข้าได้ช่วง ก.พ.-ส.ค. ก็ต้องดูว่าจะปรับเงื่อนไขหรือไม่ และการลดภาษีกากถั่วเหลือง ต้องดูผลระยะยาวว่าหากลดภาษีแล้ว จะส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลงหรือไม่ เพราะปัจจุบัน ไทยมีการปลูกถั่วเหลืองน้อยกว่าความต้องการอยู่แล้ว และกระทบต่อรายการของกระทรวงการคลังหรือไม่