เกษตรฯ เผยพื้นที่เกษตรเสียหายน้ำท่วมกว่า 2 หมื่นไร่

02 ก.ย. 2564 | 22:25 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ย. 2564 | 05:44 น.

รองโฆษกฯ ก.เกษตร เผย พื้นที่เกษตรเสียหายน้ำท่วมกว่า 2 หมื่นไร่ พืชไร่ เสียหายสูงสุด กว่าหมื่นไร่ รองลงมาเป็น “ข้าว” กว่า 9 พันไร่ จ่ายไปเยียวยาเกษตรกร แล้วกว่า 1 พันราย จ่ายไปแล้ว 7 ล้านบาทเศษ พร้อมรายงานผล

พีรพันธ์ คอทอง

นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากการรายงาน ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลกระทบด้านการเกษตร ณ ข้อมูล ณ วันที่ 2 ก.ย. 64  รายงาน อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 5 ก.ค.64 – ปัจจุบัน

 

ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก เชียงราย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เลย ระยอง จันทบุรี และจังหวัด ปราจีนบุรี เกษตรกร 4,780 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 22,186 ไร่

 

นำโด่งความเสียหายพืชไร่ 11,980 ไร่ สูงสุด รองลงมา เป็น "ข้าว"  9,492 ไร่ ตามมาด้วย  พืชสวนและอื่นๆ 715 ไร่ โดยสำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 846 ราย พื้นที่ 4,927 ไร่ คิดเป็นเงิน 5.71 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 220 ราย พื้นที่ 1,366 ไร่ วงเงิน 1.60 ล้านบาท

 

ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ตาก สระบุรี สมุทรปราการ เลย และจังหวัดตรัง เกษตรกร 727 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ ได้แก่ บ่อปลา 371 ไร่ กระชัง 1,200 ตร.ม.  สำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 136 ราย พื้นที่ 44 ไร่ วงเงิน 0.18 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 136 ราย พื้นที่ 44 ไร่ วงเงิน 0.18 ล้านบาท

 

ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดน่าน เกษตรกร 6 ราย จำนวนสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โค-กระบือ จำนวน 15 ตัว แปลงหญ้า 10 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

“วาตภัย” ช่วงภัยวันที่ 4 ก.ค.64 – ปัจจุบัน

 

ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกษตรกร 3,286 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 9,535 ไร่ แบ่งเป็น พืชไร่ 178 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 9,357 ไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 95 ราย พื้นที่ 255 ไร่ คิดเป็นเงิน 0.41 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 17 ราย พื้นที่ 38 ไร่ วงเงิน 46,316 บาท

            ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ไม่ได้รับผลกระทบ

 

ฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง ช่วงภัยวันที่ 15 พ.ค.64  – ปัจจุบัน

            ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เกษตรกร 11,827 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 122,205 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 37,891 ไร่ พืชไร่ 84,307 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 7 ไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 3,631 ราย พื้นที่ 39,317 ไร่ คิดเป็นเงิน 45.11 ล้านบาท

 

ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ไม่ได้รับผลกระทบ

 

อุทกภัย วาตภัย ช่วงภัยวันที่ 7 ก.พ.  – 17 มิ.ย. 64

 

            ด้านพืช ได้รับความเสียหาย 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย กำแพงเพชร เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย เพชรบูรณ์ ลำปาง น่าน  ตาก พะเยา พิจิตร แพร่ เลย ศรีสะเกษ สระบุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม สระแก้ว ปทุมธานี ราชบุรี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง เกษตรกร 4,036 ราย พื้นที่ 13,517 ไร่ คิดเป็นเงิน 18.36 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 4,032 ราย พื้นที่ 13,509 ไร่ วงเงิน 18.35 ล้านบาท

 

            ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ยังไม่ได้รับผลกระทบ

 

สถานการณ์โรคระบาดสัตว์

โรคพิษสุนัขบ้า (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ส.ค. 64)  ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 28 สิงหาคม 2564 มีรายงานพบโรคทั้งหมด 35 จังหวัด 179 จุด ปัจจุบันยังคงประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ 15 จุด ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สุรินทร์ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ และสงขลา

 

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรคในสัตว์กลุ่มเสี่ยงทุกตัวในรัศมี 5 กม.รอบจุดเกิดโรคได้ รวมทั้งเร่งรัดควบคุมจำนวนประชากรสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญ (สุนัขและแมว) ทำให้มีจำนวนคงที่หรือลดลงเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโรค โดยการผ่าตัดทำหมัน

 

  • โรคลัมปีสกิน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ส.ค. 2564) พบการระบาดสะสมตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. – 10 ส.ค. 2564 รวม 62 จังหวัด 783 อำเภอ สัตว์ป่วยสะสม 557,870 ตัว ปัจจุบันยังคงมีสัตว์ป่วย 183,036 ตัว สัตว์ตายสะสม 41,970 ตัว

 

มาตรการควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกษตรกรให้รับรู้ลักษณะของโรคและสถานการณ์การระบาดของโรคเก็บตัวอย่างเพื่อยืนยันโรค ตลอดจนควบคุมโรคและแมลงพาหะโดยเร็ว รวมถึงขอความร่วมมือเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ แหล่งรวมสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ รวมทั้งช่องทางการนำเข้าสัตว์ตามแนวชายแดน

 

โดยให้เข้มงวดการตรวจรอยโรคในโค กระบือ ที่เคลื่อนย้านผ่านจุดตรวจทุกตัว และงดการซื้อขายโค กระบือที่มาจากแหล่งที่เกิดโรค หรือจากพื้นที่ในรัศมี 50 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค และได้ให้ความช่วยเหลือเกษตกร ได้แก่ 1) รักษาพยาบาลสัตว์ป่วย 171,119 ราย 2) หยอด หรือ ราดยาป้องกันแมลง 32,618 ราย 3) พ่นยากำจัดแมลง 125,303 ราย 4) พ่นยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค 145,434 ราย 5) แจกยากำจัดแมลงแก่เกษตรกร 116,096 ราย 6) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกร 335,318 ราย

 

โรคระบาดสัตว์ในต่างประเทศ (ช่วงวันที่ 24 - 30 กรกฎาคม 2564) พบการระบาด 26 ครั้ง ดังนี้

 

-  โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร 22 ครั้ง แบ่งเป็น 

  • ในสุกร 9 ครั้ง ที่ประเทศโรมาเนีย เยอรมัน ยูเครน โดมินิกัน ภูฏาน

 

  • ในหมูป่า 13 ครั้ง ที่ประเทศลัตเวีย รัสเซีย ฮังการ

 

- โรคระบาดสัตว์อื่นๆ 4 ครั้ง แบ่งเป็น

 

  • โรคบลูทังจ์ในโคเนื้อ/แกะ 1 ครั้ง ที่ประเทศสเปน

 

  • โรค SARS-CoV ในสิงโต 1 ครั้ง ที่ประเทศแอฟริกาใต้

 

  • โรคไข้ริฟต์วาลเลย์ในโคเนื้อ 1 ครั้ง ที่ประเทศเคนยา

 

  •  โรคนิวคาสเซิลในนก 1 ครั้ง ที่ประเทศรัสเซีย

 

เครื่องบินฝนหลวง

 

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สรุปผลรวมปฏิบัติการตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง (วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 1 กันยายน 2564) ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 186 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 94.80 ขึ้นปฏิบัติงาน จำนวน 3,846 เที่ยวบิน (5,642:33 ชั่วโมงบิน)

 

ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 3,419.500 ตัน พลุสารดูดความชื้นโซเดียมคลอไรด์ จำนวน 307 นัด พลุสารดูดความชื้นแคลเซียมคลอไรด์ จำนวน 307 นัด พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์สำหรับภารกิจปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 940 นัด

 

จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 64 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน  พะเยา แพร่ ตาก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา

 

นครพนม มุกดาหาร บุรีรัมย์ ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ สกลนคร ร้อยเอ็ด เลย สุรินทร์ อุดรธานี อุบลราชบุรี หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง ระนอง  สงขลา นราธิวาส และจังหวัดสุราษฎร์ธานี