เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

01 ส.ค. 2566 | 13:34 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ส.ค. 2566 | 13:57 น.

ลุ้นส่งออกครึ่งปีหลังพลิกบวก เอกชนมองมิ.ย.น่าจะติดลบเดือนสุดท้าย ขณะที่พาณิชย์ประเมินส่งออกครึ่งหลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ยังมั่นใจทั้งปีโต1.2% ท่ามกลางปัจจัยรุมทั้งเศรษฐกิจโลก เอลนีโญ สงคราม เงินเฟ้อโลก  แต่เงินบาทอ่อนส่งผลดีต่อส่งออกไทย

ได้เห็นตัวเลข "การส่งออกไทย" ประจำเดือนมิ.ย.2566ไปแล้วว่ายังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่9 โดยมี มีมูลค่า 24,826 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 6.4% หรือเมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 848,926.6 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 24,768.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 10.3% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 857,187.9 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 8,261.3 ล้านบาท

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

เป็นผลให้ภาพรวมส่งออก 6 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 141,170.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลด 5.4% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 4,790,352.2 ล้านบาท การนำเข้ามูลค่า 147,477.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลด 3.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 5,067,514.3 ล้านบาท ทำให้ไทยขาดดุลการค้า มูลค่า 6,307.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 277,162.1 ล้านบาท

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

อย่างไรก็ตามการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก มียอดเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 23,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โดยหากเทียบในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด-19 มียอดเฉลี่ยอยู่ที่ 20,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  กระทรวงพาณิชย์ยังมองบอกว่าแนวโน้มการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง จะยังฟื้นตัวดีขึ้น หากทำได้เฉลี่ยเดือนละ 24,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป โอกาสที่การส่งออกทั้งปีจะทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1-2% ซึ่งเป็นเป้าทำงาน ก็มีความเป็นไปได้

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

โดยการส่งออกตั้งแต่เดือนก.ค. เป็นต้นไป น่าจะเห็นตัวเลขกลับมาเป็นบวกได้ เพราะฐานปีก่อนต่ำ คู่ค้ายังมีความต้องการสินค้าไทย และกระทรวงพาณิชย์มีมาตรการเร่งผลักดันการส่งออกร่วมกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ และมีความกังวลในเรื่องการขาดแคลนอาหาร ที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตร

 

ทั้งนี้หากดูภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดสำคัญพบว่าส่วนใหญ่ยังคงติดลบท่ามกลางความไม่แน่นอนของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการชะลอตัวของภาคการผลิตโลก โดยตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน (5) กลับมาติดลบหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน แต่ก็ยังมีตลาดส่งออกที่กลับมาขยายตัวอย่างตลาดจีนและญี่ปุ่นกลับมาขยายตัว

โดยภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 1.ตลาดหลัก ติดลบ 8.5%  โดยตลาดที่กลับมาติดลบเช่น  ตลาดสหรัฐฯติดลบ4.8%  อาเซียน (5)ติดลบ18%  และสหภาพยุโรป (27) ติดลบ9%  ขณะที่ตลาด CLMV ยังคงติดลบต่อเนื่อง 23.1%  ขณะที่ตลาด จีนและญี่ปุ่น กลับมาขยายตัว4.5% และ 2.6% ตามลำดับ

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

2. ตลาดรอง ภาพรวมติดลบ 2%  โดยตลาดที่ติดลบ เช่นตลาดเอเชียใต้ ติดลบ 17.5 % ตะวันออกกลางติดลบ8.6%แอฟริกา ติดลบ8.5%  และลาตินอเมริกา ติดลบ 10.2%  แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย  9.7%  รัสเซียและกลุ่ม CIS  112.5% และสหราชอาณาจักร 8.8%

3. ตลาดอื่น ๆ ขยายตัว 19.7%  อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัว 19.3%

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

สำหรับ สินค้าสำคัญที่หดตัวใน "ตลาดสหรัฐ" ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2566 หดตัว3.6%

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

ขณะที่"ตลาดจีน"ที่กลับมาขยายตัว. โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องยนต์สันดาปภายใน และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น แต่ครึ่งแรกของปีกลับติดลบ3.7%

เช่นเดียวกับ"ตลาดญี่ปุ่น" ที่กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน โดยมี สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ไก่แปรรูป ทองแดงและของทำด้วยทองแดง และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น แต่ภาพรวมครึ่งปียังคงติดลบ 1.3%

"ตลาดอาเซียน" (5) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ข้าว และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปีติดลบ7.5%

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

"ตลาด CLMV" ติดลบต่อเนื่อง 8 เดือนซึ่งสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ทำให้ครึ่งปีแรกติดลบ13.3%

"ตลาดสหภาพยุโรป" (27) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ครึ่งแรกของปี ติดลบ 2.4%

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

"ตลาดเอเชียใต้" ติดลบต่อเนื่อง 11 เดือนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด น้ำมันสำเร็จรูป และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทำให้ครึ่งปีแรกติดลบ15.4%

"ตลาดทวีปออสเตรเลีย" กลับมาขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเม็ดพลาสติก เป็นต้นแต่ครึ่งแรกของปี ติดลบ 3.3%

"ตลาดตะวันออกกลาง" สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ และยางพารา เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น แต่ครึ่งปีแรกกลับมาขยายตัว5%

 

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

"ตลาดแอฟริกา" สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว เม็ดพลาสติก และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี ติดลบ 0.6%

"ตลาดลาตินอเมริกา" ติดลบต่อเนื่อง 3 เดือนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และเครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ เป็นต้น ส่งผลครึ่งปีแรกติดลบ4%

"ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS" ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ครึ่งปีแรกยังคงขยายตัว 41.6%

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

"ตลาดสหราชอาณาจักร" ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2566 ขยายตัว 11.1%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) กล่าวว่า หากในช่วงที่เหลือของปีนี้หากส่งออกได้เฉลี่ย 24,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน การส่งออกทั้งปี ก็จะเท่ากับปีที่แล้ว คือ ไม่ขยายตัว หรืออาจจะเป็นบวกได้ และมองว่า เดือนมิ.ย. จะเป็นเดือนสุดท้ายของปีนี้ที่จะติดลบ ถ้าวัดจากการส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนที่ระดับ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป
         
ทั้งนี้หากย้อมการส่งออกตั้งแต่ปี65พบว่า "การส่งออกไทย" ยังคงติดลบต่อเนื่อง การส่งออกเดือน มิ.ย.2566 ที่ลดลง 6.4% เป็นการส่งออกติดลบต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 ที่ลดลง 4.2% พ.ย.2565 ลด 5.6% ธ.ค.2565 ลด 14.3% ม.ค.2566 ลด 4.6% ก.พ.2566 ลด 4.8% มี.ค.ลด 4.2% เม.ย.2566 ลด 7.7% พ.ค.ลด 4.6%

เศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นฉุด “ส่งออกไทย”ครึ่งปี

สำหรับแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลัง กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ จากการบริโภคและการลงทุนที่ยังอ่อนแอ เศรษฐกิจยุโรปเปราะบางจากอุปสงค์ภายในและตลาดแรงงานที่อ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดเยอรมนี ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ที่มีระดับค่าครองชีพสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ในขณะที่การถอนตัวจากข้อตกลง Black Sea Grain Initiative ของรัสเซีย และปัญหาภัยแล้งจาก"ปรากฎการณ์เอลนีโญ" สร้างความกังวลต่อการตึงตัวของอุปทานอาหารโลก ซึ่งอาจจะกระทบต่อ "เงินเฟ้อ" และ "กำลังซื้อของประเทศคู่ค้า"

อย่างไรก็ดี มีปัจจัยสนับสนุน "การส่งออกไทย" จากการเร่งเปิดตลาดศักยภาพเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา และแอฟริกา นอกจากนี้ "ค่าเงินบาท"ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทย และความกังวลต่อการขาดแคลนอาหารทั่วโลกอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ