เอกชนหนุนไทยเจรจา“FTA ไทย-อียู” สร้างโอกาสการค้า-ลงทุน

26 ม.ค. 2566 | 01:00 น.

เอกชนหนุนไทยเร่งเจรจา“FTA ไทย-อียู”ช่วยสร้างโอกาสการค้า การลงทุนระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ด้าน ”จุรินทร์”เยือนกรุงบรัสเซลส์นำคณะประชุมทวิภาคีกับ อียู เน้นหารือFTA

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางเยือนกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อรื้อฟื้นการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ว่า สภาหอการค้าฯ เห็นว่าการเจรจาดังกล่าวมีความสำคัญมาก

 

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

 

หากประสบความสำเร็จจะทำให้เกิดประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย ดังนี้   หลังจากที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิ GSP ตั้งแต่ปี 2558 ทำให้การค้า การลงทุนของไทยในอียูเติบโตไม่มากนัก เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งหากการเจรจาครั้งนี้บรรลุข้อตกลง และประสบความสำเร็จ จะทำให้การค้า การลงทุนของทั้ง 2 ประเทศขยายตัวอย่างมาก

เอกชนหนุนไทยเจรจา“FTA ไทย-อียู” สร้างโอกาสการค้า-ลงทุน

 

  และสินค้าส่งออกของไทยมีโอกาสขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดอียูมากขึ้น อาทิ สินค้าเกษตรและอาหารซึ่งเป็นธุรกิจหลักของไทย หรือ “ครัวของโลก” ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องนุ่มห่มและสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ พลาสติก 

 “นักลงทุนไทยมีโอกาสเข้าไปลงทุนในอียูมากขึ้น ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ค้าปลีก เกษตรและอาหาร  ในขณะเดียวกัน สามารถดึงดูดนักลงทุนอียูเข้ามาลงทุนในไทยได้มากขึ้น อาทิ การขนส่งทางทะเล การเงิน การประกันภัย ธุรกิจพลังงานสะอาด การศึกษา และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์”

เอกชนหนุนไทยเจรจา“FTA ไทย-อียู” สร้างโอกาสการค้า-ลงทุน

 ในขณะที่ GDP ของไทย หากการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู ประสบความสำเร็จ คาดว่าจะขยายตัวในระยะยาว 1.28% คิดเป็นมูลค่า 2.05 แสนล้านบาทต่อปี การส่งออกของไทยไปอียู เพิ่มขึ้น 2.83% หรือ 2.16 แสนล้านบาทต่อปี และการนำเข้าจากอียูเพิ่มขึ้น 2.81% หรือ 2.09 แสนล้านบาทต่อปี

 

นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์  ประธานคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ

 

ขณะที่นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์  ประธานคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ในกรณีการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู อาจจะมีบางหน่วยงาน        ที่มีข้อกังวล ในประเด็นต่างๆ อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรการคุ้มครองพันธุ์พืช UPOV1991 มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน  แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานเหล่านี้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและเสนอข้อคิดเห็นตั้งแต่ก่อนการเจรจาและในระหว่างการเจรจาได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
 

เอกชนหนุนไทยเจรจา“FTA ไทย-อียู” สร้างโอกาสการค้า-ลงทุน

 

อย่างไรก็ตาม สภาหอการค้าฯ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การเจรจาประสบความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรป ส่งเสริมเทคโนโลยีและ know-how ต่างๆ ทำให้การค้าและการลงทุน ของทั้ง 2 ฝ่ายขยายตัวมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเปิดให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย จึงขอเชิญชวนอียูเข้ามาลงทุนด้วยเช่นกัน

 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

ล่าสุดนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์การเดินทางมาประชุมกับสหภาพยุโรปถือเป็นการประชุมนัดสำคัญอย่างยิ่งเพราะมีความจำเป็นที่รัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายที่เป็นผู้นำฝ่ายการเมืองจะมายืนยันเจตจำนงและความพร้อมในการทำ FTA ระหว่างกัน ก่อนที่แต่ละฝ่ายจะกลับไปดำเนินกระบวนการภายในต่อไปซึ่ง FTA ไทย-อียู ถือเป็นความหวังของภาคเอกชนไทยและนักธุรกิจต่างชาติที่ต้องการให้เร่งให้เกิดขึ้นโดยเร็วเพื่อสร้างโอกาสทางการค้า และการดึงดูดการลงทุนจากอียู รวมถึงลดความเสียเปรียบในการแข่งขันของไทยกับประเทศต่าง ๆ ที่มี FTA กับอียู

 

เอกชนหนุนไทยเจรจา“FTA ไทย-อียู” สร้างโอกาสการค้า-ลงทุน

 

โดยนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้าถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกประเทศที่สหภาพยุโรปจะเปิดเจรจา FTA ด้วย การพบกับนายวัลดิสของ นายจุรินทร์จะเป็นการส่งสัญญาณของไทยว่ามีพร้อมที่จะทำ FTA กับสหภาพยุโรป

ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิก 27 ประเทศ เป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นลำดับ 2 ของโลก ประชากรรวมกันกว่า 447 ล้านคน และมี จีดีพี. กว่า 14.93 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 18 ของจีดีพีโลก ในปี 2564 โดยสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 5 ของไทย รองจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2565 สูงถึง 41,038.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.46 ล้านล้านบาท) มีสัดส่วนการค้าคิดเป็นร้อยละ 6.95 นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังเป็นนักลงทุนลำดับ 3 ของไทย รองจากญี่ปุ่น และจีน