วอริกซ์ สปอร์ต เปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation เล็งลุย Metaverse

14 เม.ย. 2565 | 18:25 น.
อัปเดตล่าสุด :15 เม.ย. 2565 | 01:48 น.

โควิด-19 ฉุดอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทยไปต่อไม่ไหวปิดตัวไป 32 ราย ขณะที่ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น วอริกซ์ สปอร์ตเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 รายงานจากศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ระบุว่าครึ่งปีแรกของปี 2563 มีโรงงานผลิตสิ่งทอที่ได้รับผลกระทบและต้องปิดตัวไปถึง 32 ราย

วอริกซ์ สปอร์ตเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation

ผู้ประกอบการค้าปลีกและส่งต้องประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจจากการ lockdown ในขณะที่พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนมาใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาพิจารณาช่องทางออนไลน์

โดยข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ระบุว่า มูลค่าของ e-commerce ไทยในช่วงปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3.78 ล้านบาทและยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีก นั่นจึงทำให้ผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาสตัดสินใจหันมาปรับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

วอริกซ์ สปอร์ตเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation

นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด กล่าวว่า “เราตัดสินใจก้าวเข้าสู่ดิจิทัล ตั้งแต่ที่เราชนะงานประมูลชุดกีฬาทีมไทยได้ในช่วงปี 2560 ตั้งแต่ก่อนโควิด-19 จะเริ่มระบาด โดยฝ่ายบริหารของเรามองเห็นความท้าทายและตัดสินใจที่จะเปิดใจรับคำท้าทายนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังเข้ามามีผลต่อการดำเนินธุรกิจ

โดยตัวผมได้เข้าฝึกอบรมหลักสูตรในด้าน customer journey และอีกหลายๆ อย่าง ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ และสร้างวิสัยทัศน์ที่ช่วยเร่งความเร็วของการปรับปรุงส่วนต่างๆ ถ้าเราไม่ตัดสินใจลงทุนในเรื่องของ Digital Transformation ตั้งแต่ปี 2560 เราคงไม่ได้มาอยู่ตรงจุดนี้

วอริกซ์ สปอร์ตเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation

เราเริ่มต้นจากจุดปลายทางที่ช่องทาง e-commerce เป็นอันดับแรก และเราเห็นความสำคัญของการทำ Data Management การลงทุนกับเว็บไซต์ การมี AI เราเพิ่มการลงทุนทางด้านเว็บไซต์มากขึ้น เพราะเราตระหนักเป็นอย่างดีว่าช่องทางนี้มีความสำคัญ สำหรับระบบบริหารจัดการส่วนกลางเราได้เชื่อมระบบซัพพลายต่างๆ และใช้ SAP B1 ในส่วนของระบบการทำงานหลังบ้านให้สามารถดำเนินงานได้เรียบร้อย เชื่อมต่อได้ดีขึ้น จากนั้น เราจึงกลับมาลงทุนในส่วนของการปรับปรุงหน้าร้านให้ดีขึ้น ซึ่งเรามองว่าจะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

 

เรายังมองไปถึง Metaverse เพียงแต่ยังเป็นเรื่องใหม่ เราต้องอัปเดตองค์ความรู้อยู่เสมอเพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น ทุกวันนี้มีเครื่องมือทางการตลาดออกมาใหม่มากมาย ในขณะที่ธนาคารยูโอบีก็ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้และมอบประโยชน์กับ SMEs ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ พร้อมยังช่วยสนับสนุนการเปิดธุรกิจในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ผ่านเครือข่ายของธนาคารที่แข็งแกร่งได้อีกด้วย

 

“ผู้ประกอบการต้องตระหนักเสมอว่าทุกวันนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง คิดแล้วต้องลงมือทำ ประเมินความเสี่ยง แล้วเดินหน้า และมองไปยังตลาดดิจิทัล อย่าคิดว่าสายแล้วเลยจะทำ เพราะถ้าเราไม่ทำ เราก็จะหายไปเลย”