ส่งออกQ2 ฟื้นชัด ยาง-สิ่งทอ-รถพุ่งยกแผง

05 เม.ย. 2564 | 03:05 น.
1.2 k

ส่งออกไทยฟื้นชัด ออร์เดอร์ส่งออกไตรมาส 2 ทะลัก ยางพารา มันสำปะหลัง รถยนต์ เครื่องนุ่งห่ม คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โตยกแผง ข้าว ไก่ อัญมณี ลุ้นฟื้นครึ่งหลัง ประสานเสียงปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาด ค่าระวางเรือพุ่ง ปัจจัยลบอันดับ 1

การส่งออกไทยช่วง 2 เดือนแรกปี 2564 ยังติดลบ 1.1% โดยส่งออกได้มูลค่า 39,925.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สถานการณ์ถือว่าปรับตัวดีขึ้น จากสินค้าส่งออกสำคัญในกลุ่ม 20 อันดับแรกสามารถขยายตัวได้ในอัตราตัวเลขสองหลัก อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+14.21%), เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+10.92%) , ผลิตภัณฑ์ยาง (+23.40%), เม็ดพลาสติก (+20.73%), เคมีภัณฑ์ (+11.47%, แผงวงจรไฟฟ้า (+11.08%), ยางพารา (+11.99%), ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+48.32%), เครื่องใช้ไฟฟ้า (+20.49%) และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง (+94.47%) ส่วนสินค้าส่งออกที่ยังติดลบ

ส่งออกไทยฟื้นชัด ออร์เดอร์ส่งออกไตรมาส 2 ทะลัก ยางพารา มันสำปะหลัง รถยนต์ เครื่องนุ่งห่ม คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โตยกแผง ข้าว ไก่ อัญมณี ลุ้นฟื้นครึ่งหลัง ประสานเสียงปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาด ค่าระวางเรือพุ่ง ปัจจัยลบอันดับ 1

การส่งออกไทยช่วง 2 เดือนแรกปี 2564 ยังติดลบ 1.1% โดยส่งออกได้มูลค่า 39,925.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สถานการณ์ถือว่าปรับตัวดีขึ้น จากสินค้าส่งออกสำคัญในกลุ่ม 20 อันดับแรกสามารถขยายตัวได้ในอัตราตัวเลขสองหลัก อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+14.21%), เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+10.92%) , ผลิตภัณฑ์ยาง (+23.40%), เม็ดพลาสติก (+20.73%), เคมีภัณฑ์ (+11.47%, แผงวงจรไฟฟ้า (+11.08%), ยางพารา (+11.99%), ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+48.32%), เครื่องใช้ไฟฟ้า (+20.49%) และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง (+94.47%) ส่วนสินค้าส่งออกที่ยังติดลบ อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ (-72.36%), เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ (-28.77%) ข้าว (-10.74%) เป็นต้น

สอดคล้องกับที่ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ตรวจสอบคำสั่งซื้อสินค้าไทยจากต่างประเทศเพื่อส่งมอบในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบหลายสินค้ามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น

 

ยาง-การ์เมนต์ฟื้น

นายหลักชัย กิตติพล นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมยางพาราไทย เผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการยางพาราไทยได้รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาจำนวนมาก เฉพาะอย่างยิ่งจากตลาดจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่นที่เวลานี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังโควิดคลี่คลาย เพื่อใช้ในการผลิตยางล้อรถยนต์ ถุงมือยางที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น แต่ช่วงไตรมาส 2 ของทุกปีเป็นฤดูแล้งยางผลัดใบต้องหยุดกรีด ทำให้ผู้ประกอบการขาดแคลนวัตถุดิบในการส่งออก คาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่จะกลับมากรีดยางได้ใหม่จะเป็นโอกาสในการส่งออก และโอกาสของชาวสวนยางที่จะขายสินค้าได้ราคาสูงขึ้น จากเวลานี้ราคายางทุกชนิดอยู่เหนือระดับ 60 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) หลังเปิดกรีดคาดเฉลี่ยที่ 50-70 บาทต่อ กก. ทั้งปีนี้การส่งออกยางพาราของไทยคาดจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 20%

นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่ม(การ์เมนต์) ได้รับคำสั่งซื้อดีขึ้นจากทุกตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ต่อเนื่องไตรมาสแรกของปีนี้ หลังปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้การส่งออกติดลบ 17% และในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ยังติดลบ 17% อย่างไรก็ดีคำสั่งซื้อส่วนใหญ่เวลานี้ลูกค้าให้ส่งมอบในช่วงครึ่งปีหลัง คาดการส่งออกการ์เมนต์ในปี 2564 เทียบกับปี 2563 จะขยายตัวได้ที่ 5%

 

ข้าว-อัญมณีรอลุ้น

ด้านสินค้าข้าวนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า คำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศเพื่อส่งมอบไตรมาส 2 ของปีนี้ยังต้องลุ้น แต่คาดว่าไม่น่าเกิน 5 แสนตันต่อเดือน และโดยภาพรวมไม่น่าต่างจากไตรมาสแรกที่คาดส่งออกได้ราว 1.3 ล้านตัน หรือเฉลี่ยไม่ถึง 5 แสนตันต่อเดือน (จากเป้าหมายทั้งปีตั้งไว้ 6 ล้านตัน) ทั้งนี้แม้มีปัจจัยบวกจากเงินบาทที่เวลานี้อ่อนค่าลง ทำให้ราคาข้าวส่งออกของไทยปรับตัวลดลง แข่งขันได้ดีขึ้น แต่ที่มีปัจจัยลบสำคัญจากตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าขาดแคลน เพิ่มขึ้นหลังเกิดวิกฤติเรือขนสินค้าขวางคลองสุเอซที่เวลานี้แม้สถานการณ์คลี่คลายลงแล้ว แต่มีผลทำให้ตู้สินค้าจากเรือที่ติดอยู่ในคลองสุเอซจะหมุนเวียนกลับมาใช้ในระบบล่าช้าลง ซ้ำเติมการขาดแคลน

“ข้าวไทยเวลานี้ขายได้ลดลง ลูกค้าหลักที่ยังซื้อได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่นและแอฟริกา ส่วนจีนหันไปซื้อข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นจากราคาและค่าขนส่งถูกกว่าไทย ปัญหาใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมของผู้ส่งออกในเวลานี้คือตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน และสายเดินเรือฉวยโอกาสขึ้นค่าระว่างเรือ เช่นเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์กจากเคยอยู่ที่ 2,000-2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตู้ ปัจจุบันเกือบ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้ (1.86 แสนบาท คำนวณที่ 31 บาทต่อดอลลาร์) และปลายปีนี้สายเดินเรือแจ้งว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจถึง 9,000 ดอลลาร์ต่อตู้ (2.79 แสนบาท) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนผู้ซื้อสูงขึ้น”


ส่งออกQ2 ฟื้นชัด ยาง-สิ่งทอ-รถพุ่งยกแผง

ไฟฟ้า-อิเล็กฯพุ่งต่อ

ด้านดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า นอกจากสินค้าข้างต้นแล้ว มีสินค้าที่มีแนวโน้มคำสั่งซื้อและจะส่งออกได้เพิ่มขึ้นในเดือนที่เหลือของปีนี้ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศษฐกิจคู่ค้า ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ที่ตอบสนองความต้องการจากผู้คนยุคโควิดใช้ชีวิตที่บ้านมากขึ้น และซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ส่วนสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ยังติดลบจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยไม่เหมาะกับสถานการณ์ช่วงโควิดเพราะคนมีกำลังซื้อลดลงต้องเน้นเรื่องปากท้องก่อน

“ภาพรวมครึ่งแรกปีนี้การส่งออกไทยคาดจะขยายตัวได้ที่ 1-2% จากเป้าหมายทั้งปีที่ 4% ซึ่งต้องไปลุ้นในครึ่งหลัง” 

 

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,667 วันที่ 4 - 7 เมษายน พ.ศ. 2564