“ทางรถไฟจีน-ลาว” รุดหน้า ติดตั้งเครื่องควบคุมสัญญาณเครื่องแรกเสร็จแล้ว

16 ต.ค. 2563 | 07:37 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ต.ค. 2563 | 14:52 น.
1.2 k

การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณการเดินรถไฟเครื่องแรกของ ทางรถไฟจีน-ลาว ในเขตชานเมืองตอนเหนือของนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ประสบความสำเร็จด้วยดี เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นก้าวสำคัญในการก่อสร้างและการติดตั้งระบบสัญญาณตามแนวเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ที่มีกำหนดเปิดใช้งานปลายปีหน้า (2564)

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า งานวิศวกรรมสัญญาณของ โครงการทางรถไฟจีน-ลาว ประกอบด้วยการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณระยะทาง 562 กิโลเมตร อุปกรณ์การติดตั้งและทดสอบการใช้งานของเครื่องเปลี่ยนเส้นทาง 171 ชุด เครื่องควบคุมสัญญาณ 345 ชุด และอุปกรณ์วงจรไฟตอน (Track circuit) 425 ท่อน

 

ภายในเดือนพ.ค. ปีหน้า (2564) ทางรถไฟทั้งสายจะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์

(ขอบคุณภาพจาก แฟ้มภาพซินหัว)

เครื่องควบคุมสัญญาณถูกเรียกว่าเป็น “ดวงตาของรถไฟ” และเพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบและติดตั้งเครื่องควบคุมสัญญาณเครื่องแรกจะมีมาตรฐานและคุณภาพสูง กลุ่มบริษัทสำนักระบบไฟฟ้าการก่อสร้างทางรถไฟ จำกัด (CRCEBG) อันเป็นบริษัทวิศวกรรมของจีนที่รับผิดชอบโครงการนี้ จึงได้เตรียมการเป็นอย่างดีก่อนการก่อสร้าง รวมทั้งปรับแผนการก่อสร้างให้เหมาะสม

 

ข้อมูลของบริษัทฯ ระบุว่าทีมวิศวกรของจีนได้ปฏิบัติตามรายละเอียดและข้อกำหนดทางเทคนิคอย่างเคร่งครัดระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ทั้งยังควบคุมมาตรฐานของกระบวนการก่อสร้างอย่างแข็งขัน และเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่องโดยปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รถไฟจีน-ลาว” คืบกว่า 90% จี้ไทยรับมือวิกฤติ-โอกาส

รถไฟความเร็วสูง "ลาว" ว้าววว! แซงหน้า "ไทย"?

'อุโมงค์มิตรภาพ' ทางรถไฟจีน-ลาว ก่อสร้างเสร็จแล้ว

 

 ทางรถไฟจีน-ลาวเป็นโครงการเชื่อมต่อเชิงกลยุทธ์ระหว่างแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่นำเสนอโดยจีน และยุทธศาสตร์ของประเทศลาว ที่มุ่งมั่นเปลี่ยนประเทศไร้ทางออกสู่ทะเลเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อภาคพื้นดิน

“ทางรถไฟจีน-ลาว” รุดหน้า ติดตั้งเครื่องควบคุมสัญญาณเครื่องแรกเสร็จแล้ว

เส้นทางรถไฟสายนี้มีความยาว 422 กิโลเมตร ประกอบด้วยอุโมงค์ 75 แห่งความยาวรวม 198 กิโลเมตร และสะพานความยาวรวม 62 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นเส้นทางจากเมืองบ่อเต็น เมืองชายแดนตอนเหนือของลาวติดที่มีพรมแดนกับจีน มุ่งหน้าสู่นครหลวงเวียงจันทน์ และรองรับความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

เส้นทางรถไฟระบบไฟฟ้าสายนี้ก่อสร้างขึ้นภายใต้การจัดการและมาตรฐานทางเทคนิคของจีนเต็มอย่างรูปแบบ โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2559 มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในเดือนธ.ค.2564

 

ที่มา สำนักข่าวซินหัว