ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวในงานสัมมนา PostToday Smart City ภายใต้หัวข้อ Smart Life: ยกระดับชีวิตคนไทยในเมืองต้นแบบ Smart City ว่าการเดินหน้า Smart Life และ Smart City ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจาการออกแบบ ที่เกิดขึ้นจากหลายภาคส่วน คือ นโยบายภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความตระหนัก และสื่อสารให้กับภาคประชาชน โดยประชาชนจะต้องรับรู้เศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประชาชนต้องปรับตัวอะไรบ้าง และต้องมีไทม์ไลน์ให้ประชาชนได้ปรับตัวด้วย ไม่เช่นนั้น มันก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เอานโยบายมาทำให้การมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
NIA มองว่า 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องให้ความสำคัญและต้องจับตา ซึ่งสอดรับกับแนวนโยบายของภาครัฐ และกระแสของโลก ได้แก่ 1. Agriculture Food and Herbs ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มาแรงมาก , 2. Medical and Health เพราะขณะนี้ประเทศไทยไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้เทรนด์เรื่องสุขภาพจึงมีความสำคัญ ,3. Energy Environment and EV ถือเป็นเทนด์ที่มาแรงอย่างมาก เนื่องจากตอบโจทย์กับเรื่องสิ่งแวดล้อมของโลก , 4.Travel การท่องเที่ยว และ 5.SoftPower ถือเป็นอีกเทรนด์ เรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากที่สุดในขณะนี้ ซึ่งมองว่าต้องเป็น SoftPower ที่มีมิติของนวัตกรรมใส่เข้าไปด้วย
ซึ่งจากเทรนด์ที่น่าจับตาดังกล่าว ทำให้เร็วๆนี้ NIA เตรียมจัดอีเว้นท์ใหญ่ SoftPower Forum ซึ่งเป็นงานระดับอินเตอร์เนชั่นแนล โดยจะมีการจัดแถลงถึงรายละเอียดในระยะอันใกล้นี้ เช่น งานจัดที่ใด จะโชว์ SoftPower ของไทยอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก อยากให้ทุกคนได้ติดตาม
ดร.กริชผกา กล่าวต่อไปว่านวัตกรรมไทยอยู่จุดไหนของโลกนั้น ข้อมูลจาก โกลบอล อินโนเวชั่นอินเด็กซ์ ซึ่งเป็นการวัดดัชนีนวัตกรรมโลก วัดโดยองค์การทรัพย์สินโลก สำรวจจาก 132 ประเทศทั่วโลก พบว่า นวัตกรรมของไทยอยู่ที่ลำดับ 43 ของโลก ส่วนในกลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศที่ดีที่สุดคือ สิงคโปร์ อยู่ที่อันดับ 5 ของโลก ถือเป็นหนึ่งประเทศที่มีนวัตกรรมดีมาก เนื่องจากนโยบาลภาครัฐมีความชัดเจนและแนวทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตามอันดับของไทยก็ไม่ถือว่าแย่ เพราะหากเทียบกับในกลุ่มเอเชียด้วยกัน เช่น เวียดนาม พบว่า อยู่อันดับที่ 46 และ มาเลเชีย อันดับที่ 36 คำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้กลุ่มนวัตกรรมเราดีขึ้นกว่านี้ ซึ่งสิ่งที่ไทยทำได้ดี คือ ตัวเลขผลิตภัณฑ์การครีเอทีฟ เพราะไทยมีของดีเชิงวัฒนธรรมเยอะ แต่สิ่งที่แย่ คือ เรากลับมีโปรดักช์ที่สะท้อนความเป็นวัฒนธรรม หรือท้องถิ่นออกมาได้น้อยมาก แสดงว่าเรามีของดี แต่ยังไม่ผ่านกระบวนการที่ผ่านการยอมรับ
“สิ่งที่เราต้องแก้ไขอย่างมากคือ เรื่องกฎระเบียบในการทำธุรกิจ เพราะจาก 132 ประเทศ พบว่าไทยอยู่ที่อันดับ 112 แสดงว่ากฎหมายในการทำธุรกิจนวัตกรรมจะต้องมีปรับปรุง เพื่อหนุนให้การทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น เช่นเดียวกับ สิงค์โปรสิ่งที่ภาครัฐเขาได้จัดการอุปสรรคในการทำธุรกิจออกไป เพื่อดึงดูดนักลงทุน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ รวมถึงลดปัญหาใต้โต๊ะ ซึ่งประเทศที่เขาประสบความสำเร็จเรื่องนวัตกรรมคือ เขาให้ความสำคัญเรื่องนี้ รวมถึงปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ เพราะเรามีคะแนนไม่ดี รวมทั้งต้องปรับเรื่องการศึกษา ไปพร้อมๆกัน”