ดีอี ดันลงทุน Smart City ลดภาษี 100% ซื้อสินค้าและบริการบัญชีดิจิทัล

20 พ.ย. 2566 | 11:00 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ย. 2566 | 11:16 น.

กระทรวงดิจิทัลฯ ชูนโยบาย Growth Engine of Thailand ยกระดับความสามารถการแข่งขัน ความมั่นคงปลอดภัย และเพิ่มขีดความสามารถบุคลากร กลไกการขับเคลื่อน Smart City กระจายความเจริญบริหารเมืองอัจฉริยะไปทั่วประเทศ พร้อมชง BOI ลดหย่อนภาษีลงทุนเพิ่มจาก 50% เป็น 100% ภายใน 3 ปีข้างหน้า

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม  หรือ ดีอี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน สัมมนา Thailand  Smart City  2024 จัดโดย Post Today ภายใต้หัวข้อ ผลักดันไทยสู่  Smart City  ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมือง ไปสู่เมืองอัจฉริยะ  หรือสมาร์ทซิตี้  

ดีอี ดันลงทุน Smart City ลดภาษี 100% ซื้อสินค้าและบริการบัญชีดิจิทัล

 โดยนโยบายรัฐบาล  ในการพัฒนาเมืองให้ไปสู่สมาร์ทซิตี้  ประกอบด้วย   3  นโยบายขับเคลื่อน ประกอบด้วย 1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยข้อมูลทันสมัย    ,   2.การนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนประเทศ  และ 3.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   เพื่อสร้างความได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้า ในการเจรจาการค้าโลก   ที่อยู่ภายใต้กติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้กระทรวงดิจิทัล  ได้นำนโยบายรัฐ มาแปลงเป็นนโยบายของกระทรวงภายใต้ นโยบาย Growth Engine  of Thailand  ประกอบด้วย 1. การยกระดับความสามารถการแข่งขันประเทศ , ความมั่นคง และความปลอดภัย  เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน   และ  การเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรในประเทศ  ทุนมนุษย์      โดยกลไกการขับเคลื่อน คือ การกระจายความเจริญบริหารเมืองไปทั่วประเทศ    

สำหรับเมือง  7 เมือง  ที่ได้รับการส่งเสริมเป็นสมาร์ทซิตี้  ตอบโจทย์การไปสู่สมาร์ทซิตี้ทุกมิติ   ที่ประกอบด้วย 7 ด้าน ขนส่งอัจฉริยะ   พลังงานอัจฉริยะ  เศรษฐกิจอัจฉริยะ พลเมืองอัจฉริยะ การใช้ชีวิตความเป็นอยู่อัจฉริยะ  บริการภาครัฐอัจฉริยะ  และ   สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ   โดยข้อบังคับขั้นต่ำ  ของการเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้  คือ  ความเป็นกลางทางคาร์บอน

สำหรับการส่งเสริม ภาครัฐ มีนโยบายในการส่งเสริมสมาร์ทซิตี้ นโยบายกระตุ้นการลงทุนในไทยแลนด์สมาร์ทซิตี้  ดีป้า ได้ร่วม บีโอไอ  ให้การส่งเสริมการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา  3 ปี  และในกรณีที่มีการซื้อสินค้าและบริการจากบัญชีดิจิทัล สามารถคิดเป็นเงินลงทุน 100%    และกรณีลงทุนด้านดิจิทัล 50% 

การส่งเสริมการนำข้อมูลเมือง มาใช้ในการติดตามการพัฒนาเมือง     และแนวคิดการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจชุมชน ว่าแนวคิดแบบไหนที่เป็นที่ต้องการของชุมชน และออกแบบการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ตามชุมชน   โดยเทคโนโลยี  แต่ละเมืองไม่จำเป็นต้องมีความเหมือนกัน  เนื่องจากสภาพแวดล้อม  ความเป็นอยู่   ปัญหาของเมือง มีความแตกต่างกัน  และแต่ละเมืองมีความต้องการต่างกัน  เช่น  ในกรุงเทพฯ  ต้องการเป็นสมาร์ทซิตี้  ที่นำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาน้ำท่วม  หรือ แก้ปัญหาจราจร   หรือ   เชียงใหม่ พัฒนาเมืองให้มีความเป็นอัจฉริยะ เพื่อแก้ปัญหา PM 2.5

สำหรับบทบาทกระทรวงดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมนำไปสู่สมาร์ทซิตี้ นั้นมุ่งส่งเสริม การนำ IoT เซ็นเตอร์  เพื่อบริหารจัดการมลภาวะ และทรัพยากรธรรมชาติ    ,   บิ๊กดาค้า  วางแผนการรคับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ,คาร์บอนเครดิตเทรดดิ้ง แพลตฟอร์ม   และบล็อกเชนเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาเกษตรครบวงจร

“เป้าหมายคาดหวังจากสมาร์ทซิตี้   การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ยั่งยืน ต่อเนื่อง  ไม่ใช่ทำ 5 ปี 10 ปีเลิก  แล้วต้องอยู่กับเมืองนั้นตลอด โดยประเทศไทยต้องได้รับประโยชน์จากสมาร์ทซิตี้     การลดความเลื่อมล้ำ   ทุกคนต้องได้รับบริการเท่ากันหมด  ต้องได้รับความสะดวกสบาย   และต้องเน้นชุมชนเป็นศูนย์กลางพัฒนาเมือง ใช้ชีวิตสะดวกสบาย ลดค่าใช้จ่าย  และเวลาที่มีประสิทธิภาพ    สุดท้ายเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ที่มีความแตกต่าง  เป็นเมืองมีรอยยิ้มและความสุขในอนาคต”