นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประกาศความพร้อมจัดงาน “ไวต้าฟู้ด เอเชีย 2024” (Vitafood Asia 2024) ตลาดสารสกัดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceuticals) รับกระแสความนิยมของทั่วโลกที่กำลังมาแรง รวมทั้งเทรนด์ตลาดเสริมอาหารในภูมิภาคเอเชีย เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทยไปสู่เวทีโลก โดยการจัดงานครั้งนี้นับเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทย ที่จะสามารถขับเคลื่อนผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ เพราะเศรษฐกิจที่ดี มักมาพร้อมกับสุขภาพที่ดีของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่เริ่มหันมาสนใจสุขภาพ เสาะหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากขึ้น
ปัจจุบับ ภาพรวมของตลาดเสริมอาหารในประเทศไทยรวมทั้งโปรตีนต่างๆ มูลค่าโดยประมาณ 1.9 แสนล้านบาท มี 3 ประเภทแบ่งเป็น
1. Functional Foods
2. Functional Drinks
3. supplementary food
ทั้ง 3 ประเทภเป็นส่วนหนึ่งในมูลค่าของอุตสาหกรรมอาหารที่มีอันตราการเติบโตสูงมาก และที่เติบโตมากที่สุดคือ Functional Foods
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเสริมอาหารและสารสกัดกำลังเติบโตอย่างมากในตลาดเอเชีย โดยมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อ้างอิงรายงานจาก Euromonitor International ตลาดสารสกัดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceuticals) ของประเทศไทยมีมูลค่า 190 พันล้านบาทในปี 2565 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 239 พันล้านบาท ในปี 2569
โดยกระแสความคึกคักของตลาดที่เกิดขึ้นนั้น มาจากผู้ผลิตที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และการตอบรับของผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ตลาดในประเทศไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนเป็นอย่างมาก ทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิม และ ผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เริ่มขยายงานเข้าสู่ตลาดเสริมอาหารมากขึ้น
ดังนั้น การจัดงาน “ไวต้าฟู้ด เอเชีย 2024” (Vitafoods Asia 2024) งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่จะเกิดขึ้นในปี 2567 นี้ จึงมุ่งตอบโจทย์ความต้องการที่รอบด้าน ทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฯ และผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องไปกับผลการสำรวจไลฟ์สไตล์ของ Euromonitor ที่ผู้บริโภคชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าครึ่งหนึ่งเชื่อว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อมากขึ้นอีก 5 ปีนับจากนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่ดีเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคต
โดยภาพรวมของ “ไวต้าฟู้ด เอเชีย 2024” (Vitafoods Asia 2024) มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการได้ใช้พื้นที่ของการจัดงานสำหรับการเรียนรู้และสร้างความร่วมมือในระยะยาว รวมทั้งใช้โอกาสนี้ในการจัดหาส่วนผสมและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากบรรดาผู้ผลิตและเจ้าของนวัตกรรม และพบปะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเจ้าของธุรกิจและซัพพลายเออร์คุณภาพสูง มากกว่า 600 แบรนด์ที่ร่วมออกบูธแสดงสินค้าและนวัตกรรม จาก 70 ประเทศมาร่วมจัดแสดง
แบ่งเป็นโซลูชันหลากหลายประเภท ได้แก่ ส่วนผสมและวัตถุดิบ (Ingredients & Raw Materials), การผลิตตามสัญญาและฉลากส่วนตัว (Contract Manufacturer & Private Label), ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสินค้าและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Branded Finished Product), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, วิตามิน, ส่วนผสมจากธรรมชาติ, สารสกัดสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์ทางโภชนาการ, บรรจุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมส่วนจัดแสดงนวัตกรรม อาทิ หัวข้อสัมมนาเสริมโนว์ฮาวธุรกิจแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น แนวโน้มจากเติบโตและโอกาสธุรกิจเสริมอาหารในเอเชียและออสเตรเลีย การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร การทำฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผู้สูงอายุ กลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงการอัปเดตงานวิจัยเรื่อง Pre-Pro-Postbiotics, Collagen Peptides หรือ สารสกัดที่กำลังมาแรง เช่น Ashwagandha และสารสกัดจากเห็ด เป็นต้น
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ “ไวต้าฟู้ด เอเชีย2024” ได้แก่ ผู้ผลิต, ผู้จัดจำหน่าย, ที่ปรึกษา, ผู้ค้าปลีก, การวิจัย, วิทยาศาสตร์, วิชาการ, ผู้นำเข้า, ผู้ค้าส่ง, อาหารและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ, อาหาร, ยา, อาหารเพื่อสุขภาพ, อาหารเพื่อสุขภาพ, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล, สมาคมการค้า โดยตั้งเป้าว่าจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 10,000 คน
“บริษัทฯ มีความตั้งใจในการผลักดันโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจในไทยให้มากขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฮับของการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในภูมิภาคเอเชีย”
ด้าน ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและการนำสารสกัดสมุนไพรและจุลินทรีย์มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทยอีกทั้งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการนำเข้าวัตถุดิบ และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโตในอนาคต
ดร.ภก.ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ ประธานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบสำหรับเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพในหลายด้าน ทั้งความเข้มแข็งด้านการศึกษาและการวิจัยด้านชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical Science) ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จึงเป็นจุดแข็งในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยให้ไปสู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพ ทั้งผลิตภัณฑ์ประเภท ผลิตภัณฑ์สมุนไพร Functional Foods ชีวเวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ Active Pharmaceutical Ingredients (APIs) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งนอกจากเป็นการลดการนำเข้าของผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์และสุขภาพแล้ว ยังเป็นการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้
นายนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรในประเทศไทยมีโอกาสขยายตัวอีกมากจากปัจจัยโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้ความต้องการ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”ในไทยเติบโต โดยมีมูลค่าตลาดเป็นสัดส่วนสูงกว่า 30% ของกลุ่มผลิตความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร