อาการโควิดล่าสุดเป็นยังไง สายพันธุ์ "XBB.1.16" รักษายังไง เช็คที่นี่

19 เม.ย. 2566 | 12:03 น.
อัปเดตล่าสุด :19 เม.ย. 2566 | 12:04 น.

อาการโควิดล่าสุดเป็นยังไง สายพันธุ์ "XBB.1.16" รักษายังไง เช็คที่นี่มีคำตอบ หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก และในประเทศไทย หมอธีระชี้เยื่อบุตาอักเสบ เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ

อาการโควิดล่าสุดเป็นอย่างไร เริ่มเป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลังจากที่โควิดสายพันธุ์  XBB.1.16 พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย และมีการแพร่ระบาดทั่วโลกไปอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขข้อสงสัยในประเด็นดังกล่าวพบว่า

อาหารหลักที่พบจากการเปิดเผยของนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่

  • จะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ  
  • มีไข้ 
  • ไอ 
  • เจ็บคอ 

และมีข้อสังเกต คือ พบผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อบุตาอักเสบ  คันตา  ขี้ตาเหนียว  ลืมเปลือกตาไม่ขึ้นร่วมด้วย ซึ่งในประเทศอินเดีย อาการนี้มักพบในเด็ก  

นอกจากนี้ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดเชื้อสายพันธุ์นี้ซ้ำได้

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" เกี่ยวกับอาการของโควิดสายพนัธุ์ XBB.1.16 ไว้ว่า 

อาการโควิดล่าสุดเป็นอย่างไร สายพันธุ์ XBB.1.16 รักษายังไง

อาการเด่นของสายพันธุ์ย่อย XBB.1.16 นั้น มีการแชร์ข้อมูลจากกุมารแพทย์ในอินเดีย ซึ่งเล่าประสบการณ์พบผู้ป่วยเด็กมาด้วยอาการไข้สูง และมีเยื่อบุตาอักเสบ จึงตั้งเป็นข้อสังเกตเตือนให้ทราบกัน 

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลเรื่องอาการของ XBB.1.16 อย่างเป็นระบบ และยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น ดังนั้นจึงควรฟังหูไว้หู และคอยติดตามข้อมูลอัพเดตกันต่อไปอย่างใกล้ชิด

สิ่งที่ควรรู้ก็คือ เยื่อบุตาอักเสบ เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ รวมถึงไวรัสก็หลากหลายชนิด รวมถึงโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิมก็มีรายงานว่าทำให้เกิดได้เช่นกัน แต่เจอไม่บ่อยนัก 

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสเฟสบุ๊กส่วนตัว (Yong Poovorawan) ว่า ความรุนแรงของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 จากอินเดียไม่ได้รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดิม แต่แพร่ระบาดง่าย เมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องพบผู้ป่วยอาการมากเป็นอัตราส่วนปกติ  มีอาการบางอย่างแตกต่างไปบ้าง เช่น ตาแดงในเด็ก

ด้านวิธีการดูแลรักษา ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จะเฝ้าระวังอันตรายในกลุ่มเสี่ยง 608 และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

ขณะที่วัคซีนและภูมิต้านทานนั้น สายพันธุ์ XBB ทุกตัว หลบหลีกภูมิต้านทานเดิมได้ดี จึงเป็นแล้วเป็นอีกได้ ภูมิที่เกิดจากวัคซีนที่ใช้ในการลดความรุนแรงของโรค ใช้เพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานชนิดสำเร็จรูป LAAB จะไม่ได้ผลในกลุ่มสายพันธุ์ XBB

"ต่อไปสายพันธุ์ XBB.1.16 ติดต่อได้ง่ายกว่าจะเข้ามาแทนที่เป็นตัวต่อไปตามวัฏจักรวงจร"