เตือน! ผู้ป่วยเบาหวานติดโควิด19เสี่ยงเป็น "ลองโควิด" มากถึง 4 เท่า

12 มิ.ย. 2565 | 07:57 น.
อัปเดตล่าสุด :12 มิ.ย. 2565 | 14:57 น.
2.2 k

เตือน! ผู้ป่วยเบาหวานติดโควิด19เสี่ยงเป็น "ลองโควิด" มากถึง 4 เท่า หมอธีระเผยไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า

 

12 มิถุนายน 2565

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 349,190 คน ตายเพิ่ม 816 คน รวมแล้วติดไป 540,082,758 คน เสียชีวิตรวม 6,330,593 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ไต้หวัน เยอรมัน เกาหลีเหนือ บราซิล และออสเตรเลีย

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็น 72.26% ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 63.84%

 

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็น 48.98% ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 35.9%

สถานการณ์ระบาดของไทย

 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

 

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

 

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยคิดเป็น 9.55% ของทวีปเอเชีย หากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะเป็น 13.11%

 

เตือน ผู้ป่วยเบาหวานติดโควิด19เสี่ยงเป็น "ลองโควิด" มากถึง 4 เท่า

 

อัพเดต Long COVID (ลองโควิด)

 

สำนักข่าวต่างประเทศอย่าง CNBC รายงานข้อมูลจากการประชุมวิชาการครั้งที่ 82 ของ The American Diabetes Association ที่จัดที่นิวออร์ลีนส์ รัฐ Louisiana สหรัฐอเมริกาว่า มีผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าคนที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Long COVID หลังติดเชื้อโรคโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า

 

อย่างไรก็ตามอาจต้องรอดูงานวิจัยฉบับเต็มที่จะตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์เพื่อให้เห็นรายละเอียดเพิ่มเติม

แต่อย่างน้อยที่สุด ข้อมูลข้างต้นก็ย้ำเตือนให้เห็นความสำคัญของการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่สูงอายุ คนมีโรคประจำตัวต่างๆ

 

ยังคงต้อย้ำเตือนกันว่า Long COVID เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการมาก เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย ผู้ใหญ่เสี่ยงมากกว่าเด็ก 

 

กลไกเกิด Long COVID นั้นเชื่อว่ามาจากการถูกทำลายของเซลล์ในระบบต่างๆ ของร่างกายจากการติดเชื้อ (tissue damage), การมีเชื้อหรือชิ้นส่วนของเชื้อคงค้างอยู่ในเซลล์และก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบต่อเนื่อง (persistent viral infection)

 

,การกระตุ้นให้เกิดภูมิต่อต้านตนเอง (autoimmunity), และ/หรือ การเปลี่ยนแปลงของสมดุลเชื้อโรคในอวัยวะต่างๆ เช่น ทางเดินอาหาร จนรบกวนการทำงานของอวัยวะหรือระบบนั้น (dysbiosis)

 

ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

 

การใส่หน้ากากนั้นเป็นอวัยวะที่ 33 ที่สำคัญและจะช่วยลดความเสี่ยงได้