ข้อมูลสะสมจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)และสถาบันการเงิน 17แห่งระบุ การระงับบัญชีม้า ณสิ้นเดือนธ.ค.2567มีจำนวน 1.75แสนบัญชีและรายชื่อม้า 1.34แสนบัญชีแต่ยังเกิดเหตุจำนวนมากที่เป็นเหยื่อโดยหลอกให้ทำธุรกรรมเอง(Authorized Push Payment Fraud)
นางรุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภัยการเงินยังคงคุกคามความเชื่อมั่นของระบบPayment ธปท.ไม่เคยนิ่งนอนใจและได้ยกระดับมาตรการเชิงป้องกัน
โดยเพิ่มความเข้มข้นและขยายผลการจัดการบัญชีต้องสงสัย เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันความเสี่ยงและแก้ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ซึ่งยุคเริ่มต้นธปท.ออกแนวนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้บริการทางการเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยกำกับให้ธนาคารพาณิชย์รับมือกับแอปพลิเคชั่นปลอมหรือโมบายแบงก์กิ้ง
ต่อมาต้นปี2567ธปท.ไม่ให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้สวมรอยเป็นตำรวจบ้าง หรือเป็นส่วนราชการอื่นเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อจึงไม่ให้ส่งลิ้งค์หรือเปิดบัญชีออนไลน์ต้องสแกนใบหน้า รวมทั้งการทำธุรกรรมไม่เกิน 5หมื่นบาทขึ้นไปเพื่อไม่ให้มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นเราและทำธุรกรรม(Unauthorized Payment Fraud)
ถัดมาประชาชนถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุน/ซื้อสินค้าบริการเกิดการโอนเงินไปในบัญชีม้าเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดธุรกรรมทางการเงินที่ไม่ว่าถ่ายโอน ส่งต่อ หรือรับเงิน เป็นลักษณะฉ้อฉล และมิจฉาชีพเอามาใช้ กลางปีที่67จึงออกกมาตรการปราบปรามม้ายุคแรก รวมทั้งสนับสนุนให้ธนาคารดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยมากขึ้น หรือมีเพดานวงเงิน
ทั้งนี้ ทุกธนาคารได้ตกลงร่วมกันว่าในวันที่ 31ม.ค. 68 ถ้าเป็นบัญชีม้าดำและม้าเทาเข้ม ลูกค้าจะโอนเงินเข้าบัญชีไม่ได้ ก่อนหน้านี้ก็มีหลายธนาคารพักเงินไว้แล้วมีการคืนเงินให้ลูกค้าในเวลาอันสั้นอาจจะ 1-2วัน
สิ่งที่เห็นคือ ตัวเลขภัยทุจริตที่ลูกค้าไม่ได้รู้เห็นหรือเป็นแอปดูดเงินที่มิจฉาชีพสวมรอยซึ่งภัยดังกล่าวลดลงอย่างมาก เห็นได้จากกลางปี67 เจอหลายร้อยเคส. แต่ณ สิ้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาเจอเพียง 1เคส และธปท.คาดหวังว่าจะอยู่ที่ระดับศูนย์เคสซึ่งเป็นผลที่ดีขึ้นจากการนำเทคโนโลยีมาช่วย
แต่ในเรื่องของการหลอกให้ลูกค้าโอนเงิน “Authorized Push Payment Fraud” หลังจากออกมาตรการกวาดล้างบัญชีม้าอย่างจริงจังก็เห็นการชะลอลงบ้าง เห็นได้จากเส้นของกราฟไม่ทยานขึ้นเช่นช่วงก่อนหน้า สะท้อนว่าภัยยังคงอยู่และธปท.คงจะมีการกระชับมาตรการ
“กณีเป็นบัญชีที่อยู่ในข่าย การปราบปรามบัญชีม้ามาตรการเร่งด่วนที่จะทำเพิ่มมี ก. ข. ค. หมายความว่า เราจะเป็น ก้าง ขวาง คอม้า ทำให้ม้าทำงานไม่สะดวกยิ่งขึ้นอีก ทั้งกวาดล้างบัญชีม้าเข้มขึ้น หรือการเปิดบัญชีม้าจะยากขึ้นกว่าเดิม เช่น การเปิดบัญชีที่มีความเสี่ยงนั้นธนาคารไม่เปิดบัญชีให้ หรือเปิดได้แต่ไม่ให้ใช้การเต็มที่/จำกัดการทำธุรกรรม ซึ่งอันนี้ในต่างประเทศทำมานานแล้ว นอกจากนี้จะมีการแชร์ข้อมูลให้มากขึ้นโดยครอบคลุมภายนอก”
นางสาวดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท.กล่าวว่า การกวาดล้างบัญชีม้ามากขึ้นโดยจะยกระดับสีม้าหรือเพิ่มเฉดสี สะท้อนความเสี่ยงมากขึ้นสิ่งที่แบงก์จะทำให้ดีขึ้น คือถ้าโอนไม่ผ่านแบงก์จะส่งMessage แจ้งเตือนว่ากำลังโอนเงินเข้าบัญชีต้องสงสัย
ตอนนี้การเตือนมาทุกธุรกรรม หวังว่าคำเตือนจะช่วยกระตุก แล้วจะทำAlert เป็นกลไกถัดไป แต่บางแบงก์ทำแล้วโดยจะทำได้ทุกแบงก์ภายในเดือนมี.ค.นี้ อีกอันที่จะต้องจัดการให้เข้มข้นมากขึ้น คือ ม้านิติ คือ ม้ารายบุคคลธรรมดาหาได้ยากขึ้น เส้นทางเงินสั้นลง โดยแต่ก่อนมีการโอน 5ทอด ตอนนี้มี 1ทอดแล้วไปคริปโท จึงมุ่งไปที่เปิดบัญชีนิติบุคคล โดยใช้กันมากขึ้น ใช้สะดวกขึ้นด้วย เพราะบริษัทจะได้โฟลว์เงินมากกว่า
สำหรับ "ม้านิติ"ที่เป็นสีดำบริษัทที่อยู่บนเส้นทางเงินและที่ปปง.ประกาศแล้ว มีการกันเงินออกแล้ว และภายในก.พ.จะกันไม่ได้เปิดบัญชีใหม่ และไม่ใช่จะกันเฉพาะบริษัทเท่านั้นแต่จะดูกรรมการที่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารแต่ละนิติว่ามีชื่อติดอยู่ในม้าสีใด?
ถ้ามีชื่อติดม้าสีใดก็จะเปิดบัญชีไม่ได้หรือเปิดบัญชีได้ยากขึ้น และเปิดบัญชีแล้วจะมีการจำกัดการใช้เป็นActionหลัก หวังว่าธปท.จะจัดการกับบัญชีม้าได้ดีขึ้น โดยกันเงินเข้าทุกเฉดสีที่มีความเสี่ยงสูง ,รวมถึงกันเงินออกและกันไม่ให้เปิดบัญชีใหม่จะทำได้ครบภายในเดือนมี.ค
“ม้าเสี่ยงสูงอื่นๆ ตอนนี้มี ม้าคริปโท ธปท.เห็นคนโอนบ่อยหรือโอนเงินต่ำกว่า 5หมื่นบาท ไปบัญชีเดียว 3ครั้ง พอมีกฏเกณฑ์แบบนั้น มิจฉาชีพก็จะปรับ ทำให้จับไม่ทัน ฉะนั้น pattern ใหม่จะใช้เทคโนโลยี่และ มีDATAมากขึ้น รวมทั้งDATA Cross Bank จะทำให้ตรงนี้ดีขึ้น
ธปท.จะทำกลไกให้แชร์ข้อม฿ลให้ผู้ประกอบการนิติบุคคลทุกสี เพราะ75%ของความเสียหายออกที่ครปโทและตามยากเพราะโอนไปคริปโทในประเทศก่อนแล้วออกนอกประเทศ อีกทั้งธปท.ร่วมกับ กลต. กรมตำรวจ และปปง. เพื่อปิดไม่ให้เงินไปไหลไปต่างประเทศ สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือเครื่องมือห้ามเปิดบัญชีโดยให้ดูความเสี่ยง ดูพฤติกรรมว่าจะนำไปใช้ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือ การหน่วง คือการระงับ แต่จะมีวิธีหน่วงที่ไม่กระทบคนในวงกว้าง และมีการแชร์ข้อมูลนอกลุ่มแบงก์เช่น DA Exchange หรืออี-วอลเลตทั้งวงจร”