นายณฐพล ศรีจอมขวัญ รองประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านดนตรี และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สไปร์ซซี่ดิสก์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา ศิลปินไทยได้สร้างกระแสในอุตสาหกรรมดนตรีระดับนานาชาติอย่างน่าประทับใจด้วยการขึ้นแสดงในเทศกาลดนตรีที่สำคัญทั่วโลก
ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงความสามารถที่โดดเด่นของตัวศิลปินเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทยที่ก้าวไกลสู่เวทีระดับสากล มีศิลปินไทยที่ได้เข้าร่วมแสดงในงานเทศกาลดนตรีระดับนานาชาติมากมาย อาทิ SXSW Sydney 2024 ในออสเตรเลีย Baybeats Music Festival 2024ที่สิงคโปร์ AXEAN Festival 2024 ในอินโดนีเซีย และ ONE MUSIC CAMP 2024 ในญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมดนตรีแข็งแกร่งและได้รับการยอมรับในระดับโลก ความสำเร็จนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของศิลปินไทยในสายตานานาชาติ แต่ยังตอกย้ำถึงศักยภาพอุตสาหกรรมดนตรีของไทยที่กำลังขยายตัวและได้รับการยอมรับในวงกว้างนอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ในการพัฒนาผลงานเพื่อก้าวสู่ตลาดดนตรีระดับโลกในอนาคต
ความหลากหลายทางดนตรี ผสานเสน่ห์เฉพาะตัวของศิลปินไทยมัดใจผู้คนทั่วโลก
จากกระแสความนิยมที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำให้ศิลปินไทยเริ่ มกลายเป็นที่จับตาต้องใจทั้ งในประเทศและต่างประเทศนั้น มาจากการผสมผสานเอกลักษณ์ทางวั ฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่เข้าถึงอารมณ์ ผู้ฟังได้อย่างลึกซึ้ งและหลากหลายแนว
ตั้งแต่เพลงป๊อป ฮิปฮอป ร็อค ไปจนถึงลูกทุ่ง หมอลำและดนตรีพื้นบ้าน อีกทั้งศิลปินไทยยั งสามารถนำเสนอความเป็นไทยในรู ปแบบที่ร่วมสมัยได้อย่างลงตัว ตัวอย่างเช่น เจฟ ซาเตอร์ ศิลปินที่มีเอกลักษณ์ ในแนวเพลงหลากหลาย ทั้งป๊อป อาร์แอนด์บี และฮิปฮอป
โดยนำซาวด์ดนตรีที่มีความโดดเด่ นเฉพาะตัวมาผสมผสานกับการถ่ ายทอดอารมณ์และความรู้สึกในแต่ ละบทเพลงอย่างลึกซึ้ง สร้างเสน่ห์ที่แตกต่างและดึงดู ดใจผู้ฟังได้อย่างน่าประทับใจ หรือ มิลลิ ศิลปินฮิปฮอปสาวที่ สามารถนำเสนอเนื้อหาที่มี ความหมายและสะท้อนความเป็นตั วตนได้อย่างน่าสนใจ
รวมถึงบิวกิ้น-พีพี ที่มีเสียงร้องที่ทรงเสน่ห์ ในเพลงป๊อปที่เข้าใจง่ายและติ ดหู หรือวงเกิร์ลกรุ๊ป T-Pop อย่าง 4 EVE ที่มีทั้งสไตล์การเต้นและการร้ องที่โดดเด่น จนได้รับความนิยมจากผู้ฟังในทั้ งในประเทศและต่างประเทศ และวงน้องใหม่ BUS ที่มีแนวเพลงป๊อปสุดชิคกับเนื้ อหาที่เข้าถึงง่าย
หรือลำไย ไหทองคำ นักร้องลูกทุ่งสาวเสียงดีเต้ นเก่ง ก็ได้รับการตอบรับที่ดี ในตลาดเพลงทั้งในประเทศและต่ างประเทศ ความหลากหลายและความคิดสร้ างสรรค์ที่แสดงออกผ่านดนตรีเหล่ านี้ ล้วนบ่งชี้ถึงศักยภาพของศิลปิ นไทยและวงการเพลงไทยในการรุ กตลาดจนได้รับการยอมรับระดั บนานาชาติ
กระแสเพลงไทยดังไกลข้ ามพรมแดน สะท้อนโอกาสใหม่ที่กำลังเติ บโตในตลาดโลก
ความหลากหลายทางดนตรีและเสน่ห์ เฉพาะตัวที่ดึงดูดใจผู้ฟังทั้ งในและนอกประเทศ ศิลปินไทยไม่เพียงแต่ได้รั บความนิยมจากชาวต่างชาติจนทำให้ ต้องมาเยือนถึงถิ่นประเทศไทย
แต่ยังกลายเป็นที่จับตามอง จนไปสู่การสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดดนตรีต่างประเทศอีกด้วย เช่น ไพร่า (Pyra) ซึ่งเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้ โชว์ความสามารถในเทศกาล Burning Man ที่สหรัฐอเมริกา และยังคว้ารางวัล Best Solo Act From Asia จาก BandLab NME Awards 2022 ที่อังกฤษ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าเสี ยงดนตรีของศิลปิ นไทยสามารถไปไกลถึงเวทีระดั บโลกได้
นอกจากนี้เกิร์ลกรุ๊ปรุ่นใหม่ อย่าง Pixxie ก็ได้รับความสนใจจากผู้จั ดงานเทศกาลดนตรีในจีนอย่าง คุณเหมาเยว่เฟิง (Mao Yuefeng) จากบริษัท Modern Sky ที่อยู่เบื้องหลังการจั ดเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่กว่าสิ บงานทั่วประเทศจีน
ซึ่งเห็นถึงศักยภาพในการแสดงของ Pixxie และเชื่อว่าศิลปินไทยมี ความสามารถในการตี ตลาดในประเทศจีนอย่างดี โอกาสที่กำลังเปิดกว้างเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่าอาจไม่ใช่แค่ กระแสความนิยมชั่วคราวเท่านั้น แต่ศิลปินไทยสามารถยืนหยั ดและเติบโตในตลาดดนตรีนานาชาติ อย่างมั่นคงได้
ก้าวต่อไปของวงการเพลงไทย การเดินหน้าเต็มกำลังขยายกระแส Thai Music Wave สู่ทั่วโลก
ผลลัพธ์จากกระแสความนิยมทั้ งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ เริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุ บัน ทำให้เกิดการร่วมมือกันของผู้ที่ เกี่ยวข้องในการผลักดันและขั บเคลื่อนเพื่อสานต่อความสำเร็ จดังกล่าวให้เกิดความให้ยั่งยืน
เช่นเดียวกับที่สำนักงานส่งเสริ มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA หน่วยงานหลักในการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของประเทศไทย ได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่ อนอุตสาหกรรมด้านดนตรี จัดทำโครงการ Music Exchange ที่มาพร้อมกลยุทธ์ Push & Pull ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้ แสดงบนเวทีต่างประเทศ
พร้อมเชิญชวนผู้จัด ผู้คัดเลือกศิลปิน เอเจนซี่ของเทศกาลดนตรีระดั บนานาชาติ รวมถึงบุคลากรสำคัญในอุ ตสาหกรรมดนตรี ทั้งในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ ก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) สหภาพยุโรป (EU) และอเมริกาที่มีผลต่อการส่ งออกศิลปิน เข้ามาเยี่ยมชมเทศกาลดนตรี ของไทย (Business Visit)
และจัดให้มีกิจกรรมเพื่อสร้ างเครือข่ายและจับคู่ธุรกิจ (Business Matching and Networking) กับธุรกิจค่ายเพลงของไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้ างความแข็งแกร่งในการขยายกระแส Thai Music Wave สู่ตลาดโลก
ด้าน นายณฐพล ศรีจอมขวัญ กล่าวต่อว่า แนวทางการดำเนินงานว่า โครงการ Music Exchange เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดที่ค่ายเพลงและศิลปินเคยเผชิญ เช่น การต้องพึ่งพาคอนเน็กชันหรือการสร้าง Social Media เพื่อเข้าถึงตลาดต่างประเทศ
รวมถึงการลงทุนที่ไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน โดยมองว่าหากโครงการมีการดำเนินงานต่อเนื่อง 3-5 ปี ต่อจากนี้ จะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของผลลัพธ์ที่มากขึ้นได้แน่นอน
สอดคล้องกับมุมมองของ นายพงศ์นรินทร์ อุลิศ รองประธานอนุกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคทเรดิโอ จำกัด กล่าวว่า ประโยชน์ ของโครงการในแง่การสร้ างโอกาสทางธุรกิจว่า โครงการ Music Exchange นี้เป็นกลไกสำคัญในการจับคู่ธุ รกิจระดับนานาชาติ
โดยการเชิญผู้จัดงาน ผู้คัดเลือกศิลปิน และเอเจนซี่เทศกาลดนตรีจากต่ างประเทศมาดูงานในไทย ทำให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ศิ ลปินไทยได้แสดงความสามารถและสร้ างเอกลักษณ์ในสายตาระดั บนานาชาติได้สะดวกมากขึ้น
ทั้งยังเป็นการเพิ่ มโอกาสในการได้รับเชิ ญไปแสดงบนเวทีระดับโลก หากมีการสนับสนุนการประชาสัมพั นธ์ในประเทศที่ศิลปิ นไปแสดงมากขึ้นควบคู่กันไป จะยิ่งช่วยเพิ่มการรับรู้และสร้ างฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่น ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคั ญให้วงการดนตรีไทยเติบโตอย่างก้ าวกระโดดในเวทีโลกได้
ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่ งของการดำเนินงานดังกล่าวให้เข้ มข้นยิ่งขึ้น ในปี 2568 ทางคณะอนุกรรมการฯ ยังมุ่งมั่นปรับปรุงกฎหมายลิขสิ ทธิ์เพลงและสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการเติบโตของอุ ตสาหกรรมดนตรีอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรและสร้ างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ฟั งในประเทศ เพื่อเสริมสร้ างตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่ง และพร้อมขยายกระแส Thai Music Wave สู่ตลาดโลกอย่างมั่นคงต่อไป