สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ประมาณการหุ้นกู้ออกใหม่ปี 2567 จะอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาท โดยเป็นหุ้นกู้ออกใหม่ 4- 4.5 แสนล้านบาท และเป็นหุ้นกู้ Roll over ราว 5-5.5 แสนล้านบาท โดยมูลค่าหุ้นกู้ออกใหม่ คาดจะทรงตัวหรือต่ำกว่าปี 2566 เล็กน้อย จากมูลค่าหุ้นกู้ที่ออกปีที่แล้วจำนวน 1.02 ล้านล้านบาท
ส่วนผลกระทบจากกรณีปัญหา"หุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้" จะกระทบต่อการ Roll over ของบริษัทผู้ออกในปีนี้หรือไม่ ? นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากสถิติพบว่าอัตรา Roll over โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 60% ของหุ้นกู้ที่ครบกำหนดอายุ ซึ่งในปีนี้มีหุ้นกู้ครบไถ่ถอนราว 8.9 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 7.91 แสนล้านบาท หรือสัดส่วน 90% เป็นหุ้นกู้ระดับลงทุน (Investment Grade)
"ปัจจัยที่ทำให้การ Roll over หุ้นกู้น้อยลง ยังขึ้นกับแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศ หากเป็นขาลง ผู้ประกอบการก็อาจไปกู้แบงก์แล้วนำเงินมาจ่ายหนี้หุ้นกู้ที่ครบไถ่ถอน ซึ่งรายใหญ่อาจได้ต้นทุนที่ถูกกว่า และไม่จำเป็นต้องเร่งออกหุ้นกู้เพื่อล็อกต้นทุนเหมือนช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นในปี 2565-66 จึงตอบชัดไม่ได้ว่า กรณีหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ที่เป็นข่าว จะส่งผลต่อการ Roll over หุ้นกู้ในปีนี้หรือไม่" กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าว
โดยจากผลสำรวจ คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2567 ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ ณ ระดับปัจจุบันที่ 2.50% ไปอีกระยะหนึ่ง โดยคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจมีการปรับดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 จำนวน 1-2 ครั้ง รวมทั้งปีไม่เกิน 0.5%
ฐานเศรษฐกิจ ได้สำรวจข้อมูลบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ผู้ออกที่มีมูลค่าหุ้นกู้คงค้างสูงสุด ( เกินระดับ 1 แสนล้านบาท ) จากเว็บไซต์ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ล่าสุด ณ วันที่ 12 มกราคม 2567 พบมี 7 บริษัท ซึ่งมีมูลค่าหุ้นกู้คงค้างรวม 1,084,822 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนปี 67 รวมกัน 225,294 ล้านบาท ดังนี้
1.บมจ.ซีพี ออลล์ ( CPALL) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 233,506 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 อยู่ที่ 25,753 ล้านบาท ขณะที่ปี 2565 มียอดคงค้าง 234,065 ล้านบาท
2.บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ( TRUE) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 182,772 ล้านบาท และมียอดหุ้นกู้ครบไถ่ถอนปี 2567 ประมาณ 36,409 ล้านบาท
3.บมจ.ปตท. (หุ้นกู้ PTTC ) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 143,354 ล้านบาท มีมูลค่าหุ้นกู้ครบไถ่ถอนปี 2567 ประมาณ 39,354 ล้านบาท เทียบปี 2565 มูลค่าคงค้าง 234,065 ล้านบาท
4.บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 140,000 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นกู้ครบไถ่ถอนปี 2567 ราว 60,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าคงค้างเท่ากับ ณ สิ้นปี 2565 ที่ 140,000 ล้านบาท
5.บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ( GULF ) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 135,000 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นกู้ครบไถ่ถอนปี 2567 วงเงิน 14,500 ล้านบาท เทียบปี 2565 มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง 104,500 ล้านบาท
6.บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 126,465 ล้านบาท มูลค่าหุ้นกู้ครบไถ่ถอนปี 2567 วงเงิน 16,833 ล้านบาท เทียบสิ้นปี 65 มีมูลค่าหุ้นกู้คงค้าง 138,015 ล้านบาท
7.บจก.ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น ( TUC) มูลค่าหุ้นกู้คงค้าง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 123,725 ล้านบาท ( รวมหุ้นกู้ บจก.ดีแทค ไตรเน็ต (DTN) 29,975 ล้านบาท ) โดยมีหุ้นกู้ครบกำหนดปี 67 ประมาณ 32,445 ล้านบาท
ยอดคงค้าง"หุ้นกู้กลุ่มซีพี"รวมกว่า 8 แสนล้าน
ทั้งนี้จากการรวบรวม พบว่าเฉพาะกกลุ่มซีพี มียอดคงค้างหุ้นกู้ในปี 2566 เป็นวงเงินรวม 814,646 ล้านบาท และครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 ประมาณ 169,868 ล้านบาท ประกอบด้วย