Bid Offer ทุกๆช่วงราคา ทุกๆช่วงเวลา จะมีการซื้อขายตลอด 

10 ม.ค. 2567 | 12:09 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ม.ค. 2567 | 12:10 น.

Bid Offer ทุกๆช่วงราคา ทุกๆช่วงเวลา จะมีการซื้อขายตลอด  : คอลัมน์ Investing Tactic โดย นายศิระ ลี้เจริญรักษา (โค้ชอ้อ) วิทยากรพิเศษ โครงการ SITUP

หากใครเคยได้อ่านบทความของผมก่อนหน้านี้ จะได้ฟังมุมมองวิธีการ  ของการซื้อหุ้นที่จุดต่ำสุดในช่วงของเวฟ 2 ตามทฤษฎี Elliott wave ในบทความนี้ผมจะขอเพิ่มทริกในการมองหาจุดเข้าที่ต่ำสุดภายในแท่งเทียน Daily chart โดยใช้การดู Bid Offer เข้ามาช่วย

ผมขอเกริ่นสั้นๆ จากคนที่ชอบนั่งดูการซื้อขายตัวหุ้นใน  Ticker  ชอบดูการแมชของราคาแต่ละหุ้นในช่อง   Bid Offer  ว่า  ในทุกๆ ช่วงราคา ในทุกๆ ช่วงเวลา  จะมีการซื้อขายอยู่ตลอด  ซึ่งทำให้ผมแปลกใจ  ว่าทำไมถึงมีคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างตรงข้ามกันอยู่ตลอดในทุกช่วงราคา 

Bid Offer ทุกๆช่วงราคา ทุกๆช่วงเวลา จะมีการซื้อขายตลอด 

เช่น  ราคาตกลงมาที่แนวรับ ซึ่งเป็นจุดซื้อของสายสวิงเทรด ก็จะมีคนตั้งซื้อ และมีคนเทขาย หากราคาหลุดแนวรับ ซึ่งเป็นจุดซื้อของสาย False break และเป็นจุดขายของฝั่ง Stop loss  เมื่อราคาเด้งขึ้นมา  ก็จะมีคนไม่อยากตกรถมาซื้อ  และมีคนกลัวว่าเป็นขาลงจึงขาย  เมื่อราคาขึ้นมาใกล้ถึงแนวต้านก็จะมีคนกลัวขายออกมาก่อน  และมีคนอยากรีบซื้อเพราะหวังว่าราคาจะเบรก 

เมื่อราคากลับขึ้นมาที่แนวต้านก็จะเป็นจุดขายของสาย Buy on dip และเป็นจุดซื้อของสาย Break out  เมื่อราคาทะลุแนวต้านขึ้นไป  ก็จะมีคนแห่ขายทำกำไร  และก็จะมีคนทุ่มซื้อ  เป็นแบบนี้อยู่ตลอดทั้ง Cycle  ส่วนตัวของผู้เขียนบทความนั้นมีความสนุกในการเฝ้าดูการเป็นไปของตลาด  และได้มองเห็นว่า  หุ้นมีความต้องการซื้อขายอยู่ในทุกช่วงราคาและเวลาก็จริง  แต่ว่าในแต่ละช่วงนั้นจะมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน

ทีนี้เราจะมาเจาะจงในช่วงของก้นเวฟ 2 ซึ่งจะเป็นการหาซื้อหุ้นในจุดต่ำสุดของรอบ จากที่ผมได้สังเกตในจุดต่ำสุดของเวฟ 2  หรือจุดกลับตัวของแท่งเทียน  Daily chart  การซื้อขายจะมีความต่างในเรื่องของ ปริมาณและความเร็ว  รูปแบบที่ผมเจอบ่อยในตัวแท่งเทียน Daily chart  ของการกลับตัวนั้น ในช่วงเช้าจะมีการรวบราคาในฝั่ง Bid  ราคาจะไหลลงอย่างรวดเร็ว  โดยมีปริมาณ Vol  ไม่มาก  ผู้ที่ติดหุ้นอยู่จะอยากขายหุ้นทิ้ง  แต่ก็ขายไม่ทันเพราะความเร็ว และไม่มี Vol 

Bid Offer ทุกๆช่วงราคา ทุกๆช่วงเวลา จะมีการซื้อขายตลอด  เมื่อราคาจะลงมาถึงจุดๆ หนึ่งที่คนติดหุ้นถอดใจแล้วตัดใจเพื่อเทขาย  ซึ่งจุดนั้นอาจจะเป็นจุดต่ำสุด ตามรูปคือราคา 17.70  ราคาจะหยุดลงแล้วเริ่มดีดกลับ  ในฝั่ง Bid ตามรูปคือราคา 17.80 จะมี Vol ตั้งรับไม่มาก แต่เมื่อมีคนเทขาย  ราคากลับไม่หลุด  และจะมีปริมาณ Vol ขายค่อนข้างสูง 

ในมุมมองของคนที่จ้องจะซื้ออย่างผม อยากได้ราคาที่ต่ำที่สุด  แต่เราจะซื้อไม่ได้  วิธีเช็คคือการตั้งซื้อ Bid ที่ราคาต่ำสุด ตามรูปคือราคา 17.70 ในจำนวนเล็กน้อยเพื่อทดสอบ  ถ้าราคาแมช  แสดงว่ายังไม่ใช่จุดต่ำสุด  อาจจะลงต่อได้อีก  หากราคาลงผมจะขายออกมาก่อน  และหากเป็นจุดต่ำสุดจริงๆ ตามรูปราคาจะไม่หลุด 17.70 อีกแล้ว   ในราคา 17.80 อาจจะมีการสลับเป็นฝั่ง Bid หรือ Offer บ้าง  แต่แรงขายจะมากกว่าแรงซื้อ  ในส่วนนี้จะทำให้ Vol ในแท่งเทียนมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก 

และเมื่อราคาในฝั่ง Offer เป็น 17.90  ถูกรวบอย่างรวดเร็ว เราจะไม่สามารถเคาะซื้อได้ทัน  แต่ให้เราจำปริมาณ Vol  17.90 ที่กลายมาเป็นฝั่ง Bid เอาไว้ให้ดี  ผมสมมุติว่ามีปริมาณ Vol หลังราคา 17.90 ถูกรวบจาก Offer เป็น Bid มีอยู่  400,000 หุ้น  ให้เราตั้ง Buy ที่ราคา Bid เพื่อเช็คคิว  และจำไว้ว่าเรามีคิวก่อนหน้าอยู่เท่าไหร่ เราต้องไวพอเพื่อเช็ค Vol ของคนที่รวบราคา จาก Offer มาเป็น Bid เพราะหลังจากนั้นไม่นานอาจมี Vol มาตั้ง Bid เพิ่มขึ้นจำนวนมาก

แล้วเมื่อมีคน Sell ในฝั่ง Bid  ให้เรานับจำนวน Vol Sell  ว่าใกล้หมด 400,000  หรือยัง ในส่วนนี้เราอาจต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละโบรกเกอร์มีให้ไม่เหมือนกัน  ทีนี้ถ้า Vol 400,000 ก่อนหน้าเรา หมดแล้ว เรายังไม่แมช  แล้วมี Vol Buy ฝั่ง Offer เข้ามาจำนวนมาก อย่างรวดเร็ว  แสดงว่าเราเจอก้นของเวฟ 2 แล้ว  เราจำเป็นต้องเคาะ ฝั่ง Offer  เพราะตรงนี้จะเป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับปลาเล็กที่จะขอเกาะปลาใหญ่ตามไปด้วย

ส่วนในเรื่องของเป้าหมายนั้น  ขึ้นอยู่กับความพอใจ เพราะจริตส่วนบุคคล หรือการอดทนการเหวี่ยงของราคาแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน  ในส่วนตัวของผู้เขียนจะขออธิบายในบทความต่อๆ ไปครับ