ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน

20 ส.ค. 2565 | 12:16 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ส.ค. 2565 | 19:27 น.

ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง -สั่นสะเทือนแก้เหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนระยะ 15 ปี พ.ศ. 2566 - 2580 ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากแหล่งกำเนิดมลพิษ

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทำให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงและความสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น มีสถิติเรื่องร้องเรียนเหตุเดือดร้อนรำคาญจากเรื่องดังกล่าวที่เพิ่มมากขึ้น และการแก้ไขปัญหาก็เป็นไปได้ยาก

 

 

 

จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนากฎหมายและมาตรฐานวิธีการตรวจวัดระดับเสียงและความสั่นสะเทือนให้มีความทันสมัย เป็นสากล ให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน

 

ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน

นายอรรถพล กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)โดย คพ. จึงได้จัดทำ(ร่าง)แผนแม่บทจัดการมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2566 - 2580) ขึ้น โดยได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำการสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนที่แตกต่างกัน รวมทั้งจัดการประชุมกลุ่มย่อย ตามประเภทแหล่งกำเนิดรวม 8 ประเภท ได้แก่

 

ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน

การขนส่งทางบก การขนส่งทางราง การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางน้ำ อุตสาหกรรม การก่อสร้าง กิจกรรมในชุมชน และกิจกรรมสันทนาการ พร้อมจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีเป้าหมายที่จะให้พื้นที่ที่มีสถานีตรวจวัดของ คพ. มีระดับเสียงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และระดับความสั่นสะเทือนมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ภายในปี พ.ศ. 2580

ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน

 

แผนแม่บทฯ ดังกล่าว จะถูกใช้เป็นแผนหลักและทิศทางในการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน โดยครอบคลุมทั้งการจัดการแหล่งกำเนิด สิ่งแวดล้อม และชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชน

ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน

รวมถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ที่มีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อให้แผนแม่บทฯ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอเชิญผู้ที่สนใจดูรายละเอียด (ร่าง) แผนแม่บทจัดการมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน ได้ที่เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ และเสนอความคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะมาได้ที่อีเมล [email protected] ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565

ทส.ร่างแผนจัดการมลพิษทางเสียง-สั่นสะเทือนแก้เดือดร้อนรำคาญของประชาชน