"ถุงวิเศษลดเปลือกเพิ่มเนื้อ-ห้องเย็น8พันตัน"นวัตกรรมแก้ทุเรียนอีอีซี

29 เม.ย. 2565 | 14:54 น.
อัปเดตล่าสุด :29 เม.ย. 2565 | 22:12 น.

 EEC จับมือ อบจ.ระยอง และ ปตท. ขับเคลื่อนมาตรการรองรับผลผลิต รักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ อบจ.ระยอง ตั้งศูนย์รับซื้อผลไม้ 100 ล้าน ช่วยรวบรวมและกระจายผลผลิต ปตท.เปิดห้องเย็นบริการเก็บผลไม้ 8,000 ตัน นวัตกรรมถุงวิเศษลดเปลือกเพิ่มเนื้อ  คลายปัญหาทุเรียน-ผลไม้ตะวันออกล้น 

วันที่ 28 เม.ย.2565 ที่ห้องประชุมชั้น 3 อบจ.ระยอง ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง  จ.ระยอง นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ด EEC  พร้อมด้วย นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง และนายชาญศักดิ์ ชื่นชม รอง กก.ผจก.ใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บมจ..ปตท.  ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การบริหารจัดการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ เพื่อคลายปัญหาสร้างความเชื่อมั่น สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ EEC โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ร่วมเป็นสักขีพยาน 

 

นายคณิต กล่าวว่า คณะกรรมการ EEC อบจ.ระยอง และ ปตท.ได้ร่วมกัน ในการเตรียมการรักษาเสถียรภาพของราคาผลไม้ในภาคตะวันออกให้กับเกษตรกร จึงได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ดังกล่าวขึ้น

\"ถุงวิเศษลดเปลือกเพิ่มเนื้อ-ห้องเย็น8พันตัน\"นวัตกรรมแก้ทุเรียนอีอีซี

\"ถุงวิเศษลดเปลือกเพิ่มเนื้อ-ห้องเย็น8พันตัน\"นวัตกรรมแก้ทุเรียนอีอีซี

โดยที่ อบจ.ระยอง จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับซื้อและรวบรวมผลไม้ วงเงิน 100 ล้านบาท ในการร่วมกับผู้ประกอบการและภาคเอกชน จัดหาและรวบรวมผลไม้ที่ผ่านการคัดคุณภาพตามมาตรฐาน สด สะอาด และปลอดภัย และกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคภายในประเทศ 

 

ขณะที่การจัดเตรียมคลังห้องเย็น ดำเนินการโดยปตท. สำหรับจัดเก็บผลไม้แช่เข็ง ซึ่งรองรับปริมาณผลผลิตประมาณ 7,000-8,000 ตัน ให้บริการแก่เกษตรกร และผู้ประกอบการต่าง ๆ ให้มีทางเลือกในการเก็บรักษาและคงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถรอจำหน่ายในช่วงนอกฤดูกาลผลิต 

\"ถุงวิเศษลดเปลือกเพิ่มเนื้อ-ห้องเย็น8พันตัน\"นวัตกรรมแก้ทุเรียนอีอีซี

\"ถุงวิเศษลดเปลือกเพิ่มเนื้อ-ห้องเย็น8พันตัน\"นวัตกรรมแก้ทุเรียนอีอีซี

ส่วนการประชาสัมพันธ์ จะดำเนินการโดย คณะกรรมการ EEC ซึ่งมีหน้าที่จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และช่วยขยายช่องทางการตลาดในกลุ่มพันธมิตรในพื้นที่ EEC เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปผลไม้ กลุ่มสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร และภาคเอกชนนอกพื้นที่ต่าง ๆ  

 

นายคณิต กล่าวต่อว่า สำหรับทุเรียน เป็นผลไม้หลักของระยอง และเป็น 1 ใน 5 คลัสเตอร์หลักของแผนพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่ EEC โดยจะดำเนินการในเรื่องของการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยี ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมีการดำเนินงานไปแล้ว ร่วมกับ สวทช.เช่น ระบบการให้น้ำ และถุง Magik Growth ที่ช่วยให้ได้ผลทุเรียนที่มีเปลือกบางลง 30 เปอร์เซ็น ได้เนื้อทุเรียนเพิ่มขึ้น 20-25 เปอร์เซ็นอีกด้วย.