อุบลฯผงาดจัดกีฬาม.อาเซียน บูมท่องเที่ยว‘ไมซ์-สปอร์ต’ซิตี้

17 ธ.ค. 2564 | 10:59 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ธ.ค. 2564 | 18:21 น.
631

จังหวัดอุบลราชธานี ขับเคลื่อนสู่สปอร์ต ซิตี้ เต็มสูบ มรภ.อุบลฯเป็นเจ้าภาพ ปักหมุดจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน กลางปี 2565 นี้ หนุนเป้าหมายมหาวิทยาลัยไมซ์ พร้อมรับทัพนัก กีฬากว่า 5,000 คน บูมการท่องเที่ยวไมซ์-กีฬา คาดเศรษฐกิจสะพัด 150 ล้านบาท

นายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า อุบลราชธานีเป็น เมืองหลักของอีสานตอนล่าง ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 2 ล้านคน มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งครบทั้งทางบก ทางราง ทางอากาศ โดดเด่นด้วยภูมิ ประเทศที่มีทั้งแม่นํ้ามูล แม่นํ้าชี และแม่นํ้าโขง มีประวัติศาสตร์และประเพณีประจำถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาต

 

หนึ่งในเป้าหมายของจังหวัดคือ ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดด้วยการกีฬา ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนจังหวัดให้เป็น “ราชธานีแห่ง การกีฬา-Sport City”

อุบลราชธานีประกาศความพร้อมจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน กลางปี 2565 โดยมรภ.อุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพดำเนินการ

อุบลฯผงาดจัดกีฬาม.อาเซียน บูมท่องเที่ยว‘ไมซ์-สปอร์ต’ซิตี้

โดยส่งเสริมให้คนสนใจและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ สนับสนุนการจัด การแข่งขันกีฬาทุกระดับ และให้ใช้กีฬาเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ทั้งธุรกิจเกี่ยวเนื่องการกีฬา การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism) ซึ่งจะส่งผลต่อการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในจังหวัด

 

เมื่อปี 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (มรภ.อุบลฯ) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน “ราชภัฏอุบลราชธานีเกมส์” ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก เท่าที่มีการจัดแข่งขันกีฬาในอุบลราชธานี

อุบลฯผงาดจัดกีฬาม.อาเซียน บูมท่องเที่ยว‘ไมซ์-สปอร์ต’ซิตี้

ทำให้มั่นใจก้าวขึ้นไปอีกขั้น ในการเสนอตัว และได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน” “กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Games” ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคอาเซียน รองจากกีฬาซีเกมส์

 

ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนชาวอุบลฯ ร่วมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพอย่างเต็มที่ ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับทัวร์นาเมนต์กีฬาต่างๆ ที่กำลังกลับมาจัดกันทั่วโลก

อุบลฯผงาดจัดกีฬาม.อาเซียน บูมท่องเที่ยว‘ไมซ์-สปอร์ต’ซิตี้

ด้านรศ.ธรรมรักษ์ ละอองนวล รักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.อุบลราชธานี สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน (AUSC) มีมติให้จัดการแข่งขัน ASEAN University Games 2020 (2563) ในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นเจ้า ภาพจัดการแข่งขัน แต่จากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 จึงให้เลื่อนการแข่งขัน

 

“กรณีองค์กรต่อต้าน การใช้สารต้องห้ามโลก (WADA) ไม่รับรองประเทศไทย ในประเด็นการแก้ไขกฎหมายควบคุมสารต้องห้ามทางการกีฬาบางประการ ยังไม่สอดคล้องกลับเกณฑ์ WADA จึงไม่ให้ไทยจัดการแข่งขันกีฬาระดับภูมิภาค ระดับทวีป การชิงแชมป์โลก แต่ทั้งนี้ไม่กระทบรายการแข่งขันที่เสนอจัดไปก่อนหน้าแล้ว ที่ประชุม AUSC มีมติล่าสุดยืนยันให้จัดในไทย และให้มรภ.อุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขัน ระหว่างเดือนก.ค.-ส.ค. 2565 นี้”

 

คาดว่า จะมีทีมนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องจาก 10 ประเทศสมาชิก เดินทางมาร่วมงานไม่น้อยกว่า 5,000 คน ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งด้านท่องเที่ยว ด้านที่พัก ร้านอาหาร และรายได้ให้ชุมชน ของจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ตํ่ากว่า 150 ล้านบาท

 

รศ.ธรรมรักษ์ กล่าวอีกว่า การเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 20 นี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายมรภ.อุบลราชธานี จากที่การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง หลายคนสูญเสียอาชีพ ขาดรายได้ นักเรียนนักศึกษาไม่ได้ไปโรงเรียน ต้องปรับการเรียนการสอนไปตามสถานการณ์ เมื่อเร่งฉีด วัคซีนและโควิด-19 คลี่คลาย รัฐบาลเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับเป็นปกติ

กิจกรรมของทุกหน่วยงานมรภ.อุบลราชธานีปี 2565 มุ่งสู่ธีม Mice University

มรภ.อุบลราชธานี มุ่งดำเนินกิจกรรมหลักๆ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ จึงกำหนดยุทธศาสตร์ในปี 2565 ว่า มหา วิทยาลัยแห่งการบูรณาการ การเรียนการสอน และการพัฒนาประสบการณ์นักศึกษา ผ่านการสร้างสรรค์งานอีเวนต์รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ในชื่อ “UBRU 2022 MICE University” ทั้งการพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

กำหนดจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนและพัฒนาประสบการณ์ของนักศึกษา ตามแนวธุรกิจ “MICE” ทั้ง การจัดประชุมทั้งภายในภายนอกองค์กร การส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบองค์กรในพื้นที่ การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ การจัดงาน แสดงสินค้า/นิทรรศการ/แหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสังคมและท้องถิ่น สมดังปณิธาณในการเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” 

ชลธิษ จันทร์สิงห์/รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,741 วันที่ 19-22 ธันวาคม พ.ศ.2564