"ส.อ.ท." ตั้ง 5 คณะทำงานเร่งช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ลุยจัดหาชุดตรวจ Rapid Test

15 ก.ค. 2564 | 12:36 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ค. 2564 | 19:35 น.

ส.อ.ท. ตั้ง 5 คณะทำงานเร่งช่วยผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมออก 3 มาตรการด่วน ป้องกัน รักษา เยียวยา แจกเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรพร้อมคู่มือการปลูกให้สมาชิกทั่วประเทศ จัดหาชุดตรวจ Rapid Test

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้ดำเนินจัดตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 (Covid-19) อย่างเร่งด่วน แบ่งออกเป็น 5 คณะ ประกอบด้วย
1.คณะทำงานด้านข้อมูลโควิด มีหน้าที่จัดการให้ความรู้คู่มือการใช้ Rapid Test ,แนวการปฏิบัติตัวในช่วงโควิดและหลังโควิด ผ่านระบบ e-Learning และจัดทำคู่มือการปลูกและแจกเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร โดยมีนายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานคณะทำงานฯ
2.คณะทำงานจัดหาชุด Rapid test และจัดทำห้องความดันลบ มีหน้าที่ดำเนินการจัดหาชุด Rapid test & Product และจัดทำห้องความดันลบ โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานคณะทำงานฯ
3.คณะทำงาน Call Center และประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานรับเรื่องการตรวจโควิด-19 ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร และให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีนายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานคณะทำงานฯ

4.คณะทำงานระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงโควิด ทำหน้าที่ผลักดันต่อกรมควบคุมโรคเพื่อให้ภาคราชการ เอกชน ประชาชนได้ใช้ระบบ Exposure Notification Express (ENX) ในการติดตามและแจ้งเตือนเมื่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง โดยมีนายสมโภชน์ อาหุนัย รองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานคณะทำงานฯ
5.คณะทำงานรับบริจาคช่วยเหลือ ทำหน้าที่เปิดรับบริจาคหาเงินช่วยเหลือในการดำเนินโครงการจัดทำห้องความดันลบ การจัดซื้อชุด Rapid test และการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม โดยมีนางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล รองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานคณะทำงานฯ
"จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเกือบวันละ 10,000 คน และมีผู้เสียชีวิตเกือบวันละ 100 คน สภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะองค์กรหลักภาคเอกชนที่ได้ให้การช่วยเหลือทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดตั้งคณะทำงานดังกล่าวขึ้น" 

สำหรับมาตรการเยียวยา ส.อ.ท. ได้ร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผลักดันโครงการ Faster Payment ให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะลดระยะเวลา Credit term ให้แก่คู่ค้าของบริษัทโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในระยะเวลา 30 วันต่อไปจนถึงสิ้นปี ความร่วมมือกันในการจัดทำสินเชื่อ Supply Chain Factoring เพื่อช่วย SMEs โดยจะหารือร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็ว 
รวมถึงแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศด้วยการสนับสนุนสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียน Made in Thailand แล้ว และเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็น 50% เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในช่วงนี้ได้มากขึ้น และขอให้ผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้สถาบันการเงินที่เข้าเกณฑ์ NPL ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดจนถึง 3 ปี นับจากสิ้นสุดช่วงโควิด ไม่มีประวัติข้อมูลที่บ่งบอกถึงประวัติการชำระหนี้หรือสินเชื่อใน Credit Bureau (บริษัท บัตรเครดิตแห่งชาติ จำกัด