สินเชื่อใหม่แบงก์รัฐ 3.3 แสนล้าน ต่อลมหายใจเอกชน

19 เม.ย. 2563 | 10:40 น.
อัปเดตล่าสุด :19 เม.ย. 2563 | 18:00 น.
5.8 k

ในภาวะอันยากลำบากเช่นนี้บรรดาผู้ประกอบการจำนวนมากต่างมองหาสินเชื่อใหม่ เพื่อนำมาต่อลมหายใจ ให้ตนเองสามารถผ่านพ้นวิกฤติไวรัสตัวจิ๋วโควิด-19” ผู้เขียนจึงขอนำข้อมูลการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ของสถาบันการเงินของรัฐ หรือที่เรียกกันว่าแบงก์รัฐ วงเงินรวม 3396,000 ล้านบาท มานำเสนอ ดังนี้

1. Transformation Loan เสริมแกร่ง SMEs ของธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ให้กับ SMEs ในธุรกิจ Supply Chain ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี กู้ผ่านธนาคารออมสินวงเงินรวม 15,000 ล้านบาท กู้ผ่านสถาบันการเงินอื่นอีก 5,0005 ล้านบาท

2. สินเชื่อประชารัฐสร้างไทย ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน และบสย.ปล่อยกู้ให้ SMEs หรือ SMEs Start up วงเงินต่อราย 10-100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปีใน 2 ปีแรก คํ้าประกันโดย บสย. วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท

3. สินเชื่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ของธกส. สำหรับ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธกส. อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก 3% ต่อปี หลังจากนั้น MRR/MLR วงเงินต่อรายไม่เกิน 200,000 บาท วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท

4. สินเชื่อ GSB SMEs Extra Liquidity สินเชื่อระยะยาวสำหรับ SMEs ที่ต้องการเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง วงเงินต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ไม่ตํ่ากว่า MLR-1% ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี อายุสัญญา 6 ปี ลูกหนี้ต้องมีกำไรในรอบ 1 ปี และมีประวัติการชำระหนี้ดีตามเงื่อนไข หรือหากเคยทำการปรับโครงสร้างหนี้แล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยมีบสย. และบุคคลคํ้าประกัน วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท

5. สินเชื่อ Soft loan สำหรับ SMEs ของธนาคารออมสินและบสย. สำหรับผู้ที่ได้รับผล กระทบจากไวรัสโควิด-19 วงเงินต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี อายุสัญญา 2 ปี มี บสย.คํ้าประกัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท กู้ผ่านธนาคารออมสินโดยตรง และอีก 45,000 ล้านบาทกู้ผ่านสถาบันการเงินอื่น

6.สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ของธนาคารออมสิน อยู่ระหว่างกำหนดเงื่อนไขวงเงิน 10,000 ล้านบาท

สินเชื่อใหม่แบงก์รัฐ  3.3 แสนล้าน  ต่อลมหายใจเอกชน


 

7. สินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต SMEs ที่นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศ ดำเนินการโดยเอ็กซิมแบงก์ และบสย. วงเงินต่อราย 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-2 2% ปี ปีที่ 3-5 Prime rate -2% ปีที่ 6-7 Prime rate หลักประกันขั้นตํ่า 40% และมี บสย.คํ้าประกันร่วมได้ วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท

8.สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (LEL) ระยะที่ 3 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs แปรรูปอาหาร / ท่องเที่ยว/ ผู้ประกอบการใหม่ นวัตกรรม /ธุรกิจผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง ร้านธงฟ้าประชารัฐ ดำเนินการโดยเอสเอ็มอีแบงก์ วงเงินต่อราย บุคคลไม่เกิน 2 ล้านบาท ต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนนิติบุคคล ไม่เกิน 5 ล้านบาท มี บสย. คํ้าประกัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท

สำหรับอัตราดอกเบี้ย บุคคล ปีที่ 1-3 MLR -1.875% ปีที่ 4-7 MLR นิติบุคคลปีที่ 1-3 MLR -3.875%ปีที่ 4 7 MLR

9. สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash โดยเอสเอ็มอีแบงก์ สำหรับ SMEs รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ประกอบธุรกิจ ทัวร์ สปา ขนส่ง โรงแรม ร้านอาหาร วงเงินต่อราย 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 3% อายุสัญญาไม่เกิน 5 ปี วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท

10. สินเชื่อ SMART SMEs ของเอสเอ็มอีแบงก์ สำหรับบุคคลธรรมดาที่จดVAT/ นิติบุคคล เพื่อขยาย ปรับปรุงกิจการ เสริมสภาพคล่อง ธุรกิจผลิต บริการ ค้าส่งค้าปลีก วงเงินต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท

11. สินเชื่อ SMEs D HAPPY ของเอสเอ็มอีแบงก์ร่วมกับบสย. บุคคลธรรมดา นิติบุคคล เพื่อเสริมสภาพคล่อง ธุรกิจผลิต บริการ ค้าส่งค้าปลีก วงเงินต่อราย บุคคล ไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคล ไม่เกิน 15 ล้านบาท วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท

12. โครงการสินเชื่อกรุงไทย SMEs อัตราดอกเบี้ย เริ่มต้น 4% มีหลักประกัน หรือ บสย. คํ้าประกัน วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท

 

13. สินเชื่อ SMEs เกษตรกร ดำเนินการโดย ธกส.และบสย. สำหรับบุคคล / เกษตรกร / ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) / สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ตลอดห่วงโซ่มูลค่าสินค้าเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ลงทุน refinance จากสถาบันการเงินอื่นของรัฐ วงเงินต่อรายตั้งแต่ 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท

อัตราดอกเบี้ย บุคคล : ปีที่ 1-3 อยู่ที่ 4% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2 ส่วนนิติบุคคลดอกเบี้ยปีที่ 1-3 อยู่ที่ 4$ ปีที่ 4 เป็นต้นไป MLR โดยผู้กู้ต้องมีหลักประกัน หรือคํ้าประกันโดย บสย. วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท

14. สินเชื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์การเกษตร รวบรวม แปรรูปผลิตผลการเกษตร วงเงินต่อราย ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MLR ไม่เกิน 1% ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

นอกจากนี้ยังมีโครงการคํ้าประกันที่ดำเนินการโดย บสย. อีก 5 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครง การ บสย. SMEs สร้างไทย 2.โครงการ บสย. SMEs ดีแน่นอน 3.โครงการคํ้าประกันสินเชื่อรายย่อยสร้างอาชีพ (Micro3) 4.โครงการขยายเวลาคํ้าประกันสินเชื่อ PGS 5-PGS 7 5.Direct guarantee

 

คอลัมน์ ถอดสูตรคุย โดย บรรทัดเหล็ก

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,567 วันที่ 19-22 เมษายน 2563