Platform Economy โมเดลธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม

19 เม.ย. 2563 | 07:50 น.
อัปเดตล่าสุด :19 เม.ย. 2563 | 14:51 น.
1.4 k

บทความ โดย HERE Technologies

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3566 หน้า 7 วันที่ 16 -18 เมษายน 2562

 

เศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ on-demand economy มีลักษณะเป็นตลาดดิจิทัลที่เชื่อมโยงผ่านแพลตฟอร์มเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคในทันที ทำได้ด้วยการเชื่อมข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางด้วย Location Intelligence เพราะผู้ให้บริการต้องการระบบข่าวกรองตำแหน่งที่แม่นยำเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่พฤติกรรมวันนี้คือ “อยากได้ ต้องได้เดี๋ยวนี้” Grab และ AirBnB เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของบริการใหม่ที่สร้างขึ้นโดยสภาพแวดล้อมแบบออนดีมานด์ และเศรษฐกิจออนดีมานด์ จะมีบทบาทมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในยุคนี้ที่นวัตกรรมและการเชื่อมต่อพร้อม

 

นวัตกรรมพลิกไอเดียสู่การใช้งานจริงในโลกธุรกิจ

People-Centric Smart Spaces คือส่วนผสมสำคัญของการก่อร่างสร้างธุรกิจใหม่บนแพลตฟอร์ม ที่ผู้ประกอบการต้องตีโจทย์ให้แตกว่า pain point คืออะไร และทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้คนหันมาใช้เทคโนโลยีที่ตนสร้างและกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ข้อได้เปรียบของภาคธุรกิจในปัจจุบันคือ สมาร์ทโฟนเป็นปัจจัยต้นๆ ของคน รองจากปัจจัยทั้งสี่ นอกจากนี้ผู้คนยังคุ้นชินกับการเข้าถึงประสบการณ์ดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ร่วมกับสมาร์ทดีไวซ์ ทั้งในรูปแบบการสัมผัส การมอง หรือด้วยเสียงก็ตาม

เรากำลังพูดถึงโมเดลธุรกิจที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตคนเมืองไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยประสิทธิภาพของ Location Data ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพลิกโฉมไลฟ์สไตล์ on-the-go รวมถึงความนิยมของธุรกิจสตาร์ตอัพผู้ให้บริการรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ (ride-hailing business) ในบ้านเราอย่างเห็นได้ชัด แพตเทิร์นการเดินทาง การใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ในเมืองเปลี่ยนไป ควบคู่กับจังหวะที่ยุคอี-คอมเมิร์ซบูมมากๆ

 

Platform Economy โมเดลธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม

 

การขนส่งสินค้ากลายมาเป็นบริการที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายๆ ครั้งของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ผู้บริโภคในวันนี้มีความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นลง ฉะนั้นยิ่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความประทับใจให้กับลูกค้ามากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสการกลับมาออร์เดอร์สินค้าในครั้งต่อๆ ไป ผลสำรวจ Capgemini research institute เผยข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีบริการดีลิเวอรี ดังนี้

55% ของผู้บริโภคยินดีที่จะเปลี่ยนไปใช้บริการแบรนด์คู่แข่ง หากอีกฝ่ายสามารถมอบบริการดีลิเวอรีที่รวดเร็วกว่า

55% ของผู้บริโภคกล่าวว่า บริการดีลิเวอรีภายใน 2 ชั่วโมงภายหลังการออร์เดอร์สินค้า ช่วยเพิ่มความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้

73% ของผู้บริโภคกล่าวว่า ตนเองให้ความสำคัญกับการได้รับสินค้าในช่วงเวลาที่สะดวกมากกว่าเรื่องความเร็ว

55% ของผู้บริโภคยินดีที่จะส่งมอบสินค้าให้กับเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง

และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า on-demand economy แข่งขันกันด้วยความเร็ว ความสะดวก และความถูกต้องของสินค้า อย่างที่ Amazon ตั้งเป้าส่งสินค้าถึงปลายทางได้อย่างเรียบร้อยภายใน 30 นาที หรือ Walmart ที่เริ่มให้บริการ same-day delivery ขนส่งด่วนภายในวัน ซึ่งอี-คอมเมิร์ซเจ้ายักษ์ในประเทศไทย Lazada หรือ Shopee ก็เริ่มขยายธุรกิจและบริการในลักษณะนี้เช่นกัน

 

เช่นเดียวกันกับการเดินทางในเมืองใหญ่ เทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์รูปแบบคมนาคมขนส่งอย่างอิสระเสรีมากขึ้น เมื่อผู้โดยสารตั้งต้นว่าจะเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกตั้งแต่ขั้นตอนการจองรถและคนขับ ทว่าบางครั้งจุดที่ผู้โดยสารอยู่ก็ไม่ปรากฏในแผนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องตรอกซอกซอยแสนยิบย่อย เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้ โอเพ่นโลเกชันแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอัจฉริยะให้แก่บริษัทผ่านแผนที่ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ (Application Programming Interface - API)

ขณะที่ชุดพัฒนาโมบายซอฟต์แวร์ (Mobile software developments kits - mSDK) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดบริเวณที่ต้องการให้รถโดยสารเข้าไปรับระบบเอไอกับแมชชีนเลิร์นนิ่ง ที่ทำงานร่วมกันบนแผนที่จะช่วยจดจำเส้นทางใหม่และบันทึกเพิ่มในฐานข้อมูล นอกเหนือจากระบบติดตาม GPS แล้ว แพลตฟอร์มแผนที่ยังสามารถนำเสนอเส้นทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้นๆ แก่คนขับ พร้อมๆ กับโชว์เส้นทางดังกล่าวให้กับผู้โดยสารบนแอพมือถือ แพลตฟอร์ม HERE ทำให้ทั้งคนขับและผู้โดยสารมั่นใจได้ว่าจะถึงที่หมายอย่างราบรื่นและใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

องค์กรต่างๆ ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Location data) ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ บวกกับความสามารถทางเทคโนโลยีในวันนี้ ยิ่งส่งให้ธุรกิจขนส่งด่วนหรือธุรกิจประเภท on-demand service บริหารจัดการเส้นทางในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก รถติด หรือคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหาบริษัทองค์กรมีโซลูชันที่ใช่ในการทำงาน ระบบตำแหน่งอัจฉริยะ Location Intelligence สร้างโอกาสทางธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม แม้แต่วงการค้าปลีกหรือโฆษณา

 

5G ขับเคลื่อนธุรกิจให้โตขึ้นยิ่งกว่าที่เคย

โลเกชันแพลตฟอร์มสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้หลายแง่มุม ไม่ว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การเดินทางของผู้คน เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองและธุรกิจดีลิเวอรี นับเป็นการเร่งขับเคลื่อนสู่เมืองในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดให้บริการ 5G จะช่วยเสริมทัพให้กับเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มอีโคโนมีสร้างโอกาสในการเข้าถึงผู้ใช้และส่งมอบประสบการณ์ที่รวดเร็วขึ้นได้ ด้วยศักยภาพของสัญญาณ 5G ทั้งการกระจายของสัญญาณที่กว้างขึ้น ความเร็วที่เพิ่มขึ้น ความหน่วงลดลง และรองรับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ได้มากกว่า จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ ตั้งแต่การโอนถ่ายดาต้า สร้างการสื่อสารระหว่างคันรถ จนถึงเชื่อมต่อรถทุกคันเข้ากับผังเมืองดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรที่ถูกต้องแม่นยำบนรถยนต์ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้น ออนดีมานด์ดีลิเวอรีจึงนับเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ขับเคลื่อนดิจิทัลไลฟ์เซอร์เคิลให้ครบวงจรมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองดิจิทัล เช่นเดียวกันกับ วิสัยทัศน์ของแพลตฟอร์ม HERE ในฐานะโลเกชันแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับการใช้งานครอบคลุมหลายๆ อุตสาหกรรม ที่เล็งเห็นความสำคัญของดาต้าที่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นดาต้าจากเซ็นเซอร์ในรถยนต์ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่บนท้องถนน หรือจุดสำคัญๆ ในเมือง

ตรงจุดนี้ Open Location Platform สามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ก่อนนำไปประมวลผลเพื่อนำไปใช้พัฒนาผังเมืองสำหรับภาครัฐ ไปจนถึงให้นักพัฒนาใช้ต่อยอดเพื่อพัฒนาฟีเจอร์หรือเทคโนโลยี

แพลตฟอร์ม HERE คือแพลตฟอร์มประมวลผลบิ๊กตาด้า ที่ผู้ใช้งานสามารถโยนข้อมูลจากฝั่งตนเองลงไปเพื่อให้แพลตฟอร์มวิเคราะห์และนำเสนอออกมาในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ในแง่มุมต่างๆ อย่างเจาะลึกทั้งเชิงข้อมูลและบริการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม