“นฤมล” ตีปี๊บ งาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร “ เปิด 1 พ.ย. 69 แน่นอน

26 พ.ย. 2567 | 20:22 น.
อัปเดตล่าสุด :26 พ.ย. 2567 | 20:26 น.
596

เปิดไทม์ไลน์ “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร” “นฤมล” ตีปี๊บ แจ้งข่าวดีนักท่องเที่ยวทั่วโลก เปิด 1 พ.ย. 69 แน่นอน สั่งกรมวิชาการเกษตร เร่งปรับปรุงผังแม่บท ตามคำแนะนำ AIPH เนรมิตพื้นที่ 1,030 ไร่ ยังคงกิจกรรมเดิม

ศ.ดร นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้มอบหมายให้ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรลงสำรวจพื้นที่เชิงลึก (AIPH Site inspection) การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี ในโอกาสที่ Ms. Hongmin Peng รองประธานสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ Mr. Tim Briercliffe เลขาธิการสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ และคณะกรรมการสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ ลงสำรวจพื้นที่เชิงลึกร่วมกับกรมวิชาการเกษตร และจังหวัดอุดรธานีลงสำรวจพื้นที่จัดงานจริงระหว่างวันที่ 23-28 พฤศจิกายน 2567 ณ จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดนครราชสีมา

 

“นฤมล” ตีปี๊บ งาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร “ เปิด 1 พ.ย. 69  แน่นอน

นายรพีภัทร์   กล่าวว่า ได้เน้นย้ำในเรื่องหลักการในการปรับผังแม่บทตามคำแนะนำของคณะกรรมการ AIPH นั้นยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิม พื้นที่ในการจัดงานยังมีพื้นที่เท่าเดิม 1,030 ไร่ รวมถึงจำนวนอาคารไม่มีการตัดทอนออกแต่อย่างใด  กิจกรรมต่างๆ ยังคงเดิม แต่การปรับผังเป็นการกระชับพื้นที่การใช้ประโยชน์ การปรับผังแม่บททำให้การก่อสร้างทำได้เร็วขึ้น และ ผู้เข้าชมงานสามารถเข้าถึงจุดที่เป็นจุดดึงดูดสำคัญของโครงการได้ในเวลาที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในโอกาสนี้ กรมวิชาการเกษตร เตรียมรับมอบพื้นที่จากจังหวัดอุดรธานี เพื่อดำเนินการในขั้นตอนการก่อสร้าง และภูมิสถาปัตย์ ในโอกาสแรกต่อไป

กรมวิชาการเกษตร โดย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นางวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจังหวัดอุดรธานี โดยนายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) โดยนางสาวอารีรัตน์ มนตรีปรีชาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมติดตามการSite Inspection กับคณะกรรมการ AIPH ( 24-25 พ.ย.67) ณ จังหวัดอุดรธานีเพื่อเสนอการปรับปรุงผังแม่บทใหม่

“นฤมล” ตีปี๊บ งาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร “ เปิด 1 พ.ย. 69  แน่นอน

ในการ Site Inspection คณะกรรมการ AIPH เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดปรับผังแม่บท ที่กรมวิชาการเกษตรนำเสนอ ทั้งมีข้อแนะนำในการดำเนินการภายในระยะเวลาที่จำกัดดังนี้

  1. ช่วงระยะเวลา 2 ปีหลังจากนี้ จะต้องมีแผนการดำเนินงาน และระยะเวลาในการดำเนินงานขั้นตอนต่างๆ ที่ชัดเจน โดยต้องเร่งดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างงานก่อสร้างให้เร็วที่สุด
  2. การออกแบบอาคารควรมีความเรียบง่าย(Simplicity)ไม่สลับซับซ้อน (Complexity) โดยการจัดงานเน้นพื้นที่สีเขียวให้มาก เพื่อให้พื้นที่หลังการจัดงานฯ เป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี เป็นความภาคภูมิใจของชาวอุดรธานีและภูมิภาคต่อไป
  3. การปลูกต้นไม้ต้องคำนึงถึงคุณภาพดินในการปลูกพืช โดยเพิ่มอินทรียวัตถุ เพื่อเสริมการเจริญเติบโตของพืช และควรเลือกปลูกพืชที่เติบโตเร็วเป็นสิ่งสำคัญ
  4. เน้นย้ำในส่วนของการเตรียมความพร้อมของระบบการขนส่ง เพื่อรองรับผู้สนใจเข้าชมงานได้อย่างเพียงพอ
  1. มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนภาครัฐ ภาคเอกชน และเมืองอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศที่เน้นคุณภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เข้าร่วมชมงาน และเข้าร่วมจัดสวนนานาชาติ
    สวนองค์กร สวนเมืองพี่เมืองน้อง เพื่อเพิ่มความหลากหลายและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนซึ่งสามารถประชาสัมพันธ์เชิญชวนในการประชุม AIPH Spring Meeting ณ จังหวัดเชียงราย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
  2. ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568คณะกรรมการ AIPH จะจัดประชุมประจำปีของสมาคมAIPH Annual Spring Meeting ซึ่งมีคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมจากทั่วโลกมาเข้าร่วมประชุมและรายงานความก้าวหน้า โดยคาดหวังจะเห็นความก้าวหน้าและแผนการดำเนินการของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานีที่ชัดเจนมากขึ้น

“นฤมล” ตีปี๊บ งาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร “ เปิด 1 พ.ย. 69  แน่นอน

 ทั้งนี้จากคำแนะนำของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศในประเด็นดังกล่าว กรมวิชาการเกษตร จังหวัดอุดรธานี และ สสปน. จะได้รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ และคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ รวมทั้งการรายงานความก้าวหน้าพร้อมแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้นต่อคณะกรรมการ AIPH อีกครั้ง ในโอกาสการจัดประชุม AIPH Spring Meeting ณ จังหวัดเชียงราย ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568

“นฤมล” ตีปี๊บ งาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร “ เปิด 1 พ.ย. 69  แน่นอน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวในตอนท้ายว่าในการปรับผังแม่บทตามคำแนะนำของคณะกรรมการ AIPH นั้นยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมพื้นที่ในการจัดงานยังมีพื้นที่เท่าเดิม 1,030 ไร่ รวมถึงจำนวนอาคารไม่มีการตัดทอนออกแต่อย่างใด  กิจกรรมต่างๆ ยังคงเดิม แต่การปรับผังเป็นการกระชับพื้นที่การใช้ประโยชน์ การปรับผังแม่บททำให้การก่อสร้างทำได้เร็วขึ้น และ ผู้เข้าชมงานสามารถเข้าถึงจุดที่เป็นจุดดึงดูดสำคัญของโครงการได้ในเวลาที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา

 

“นฤมล” ตีปี๊บ งาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดร “ เปิด 1 พ.ย. 69  แน่นอน

 รวมถึงการมีส่วนร่วมของจังหวัดอุดรธานี สสปน. ประชาชนจังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วน ที่พร้อมขับเคลื่อนให้การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 เปิดงานได้ตามวันเวลาที่กำหนดแน่นอนในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดอุดร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดร ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี ที่จะจัดขึ้นในเดือน พฤศจิกายน 2569 นี้