การลงทุนด้านเศรษฐกิจ BCG กับอนาคตการลงทุนในเขต EEC

30 มี.ค. 2566 | 12:07 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มี.ค. 2566 | 12:37 น.

คอลัมน์เศรษฐ-สะกิด โดย ดร.เพ็ชร ชินบุตร รองเลขาธิการ สายงานการลงทุน ฯ สกพอ.

- แนวโน้มการลงทุนด้านเศรษฐกิจ BCG  ในเขต EEC จำเป็นต้องศึกษา และผลักดันให้เกิด แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่อีอีซี

หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่ง ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คือการเร่งผลักดันการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG Model ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน คู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศได้อย่างทั่วถึง 

ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านการวิเคราะห์ศักยภาพอุตสาหกรรม โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 
1. ยกระดับห่วงโซ่การผลิตตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
2. การปรับแนวทางธุรกิจใหม่ ภายใต้หลักการเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน
3. ส่งเสริมเทคโนโลยีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน
4. ขยายความร่วมมือเพื่อผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน 

รวมทั้งการปรับแผนการส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดเทคโนโลยี BCG จากทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัด ที่ตั้งอยู่ใน อีอีซี ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มุ่งเน้นใน 3 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และ อุตสาหกรรมยานยนต์และโลจิสติกส์ โดยจะมุ่งเน้นการลงทุนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อจัดการตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และยกระดับสภาพแวดล้อมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะสนับสนุนให้พื้นที่อีอีซีเป็นพื้นที่ศักยภาพสำหรับการลงทุนในด้านดังกล่าว

การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และผลกำไรเป็นสำคัญ
 

- ถึงเวลา การบริหารจัดการ แนวทางการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Decabonization)

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Decarbonization) นอกจากการลงทุนด้านพลังงานสะอาด รีไซเคิล การจัดการทรัพยากรในการผลิตแล้ว ภาคเอกชนในพื้นที่อีอีซีเริ่มขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไฮโดรเจน (Hydrogen Economy) เพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านยานยนต์และด้านพลังงานในอนาคตด้วย โดยพื้นที่ EEC สามารถเป็นพื้นที่นำร่องการใช้เทคโนโลยีใหม่ในภูมิภาค และเป็นพื้นที่เป้าหมายในการลงทุนด้านดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจคาร์บอนต่ำ 

โดยอุตสาหกรรมและธุรกิจเป้าหมาย 3 สาขา ได้แก่ การจัดการและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), การจัดการผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการใช้งาน (End of Life Management), การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage)

ซึ่งปัจจุบัน โดยมีโครงการตัวอย่างในพื้นที่อีอีซี เช่น โครงการพัฒนาพลังงานในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่มาบตาพุด สถานีนำร่อง Hydrogen station ในจังหวัดชลบุรี เป็นต้น และมีตัวอย่างการลงทุนของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เช่น บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด ลงทุนโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานขยะขนาด 8 เมกะวัตต์ บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ลงทุนโรงงานไฟฟ้าจากกากอุตสาหกรรม เป็นต้น     
 

- ยกระดับความก้าวหน้าในการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่อีอีซี

สำนักงาน อีอีซี ได้ทำคความร่วมกับประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ด้วยพื้นที่อีอีซีเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภาคเอกชนญี่ปุ่น และมีเครือข่ายภาคเอกชนญี่ปุ่นที่ต้องการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนจำนวนมาก นำไปสู่เกิดโครงการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนทั้ง 2 ประเทศ เช่น โครงการพัฒนาพลังงานจากไฮโดรเจนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม Smart Park และโครงการนำร่องยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะในเมืองพัทยา เป็นต้น และภาคเอกชนญี่ปุ่นมีแผนต่อยอดลงทุนในอนาคต ซึ่งแนวทางต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ จะยกระดับประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านเศรษฐกิจ BCG และพลังงานสะอาดในภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคต
 

- ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ EEC 

     • โครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จากัด (มหาชน) หรือ GPSC 
     • โครงการจัดหาพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) เป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าเป็น 70:30 ภายในปี 2573 ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการซื้อขายพลังงานสะอาด รองรับความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อลดสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์
     • โครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร จังหวัดชลบุรี และอยู่ระหว่างการทำ Marketing Sounding โดยมีแผนในการรวมการบริหารจัดการของขยะชุมชนทั้งจังหวัด
     • การพัฒนาระบบ Waste Exchange สนับสนุนการนำของเสียจากภาคการผลิต ชุมชน นำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอีกครั้ง เป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับธุรกิจด้าน Recycling 
     • การพัฒนาระบบติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ และสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ เป็นการสนับสนุนการลงทุนธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน


- ใช้นโยบาย กระตุ้นการส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่โดดเด่นในพื้นที่ EEC

การดำเนินการผลักดันการลงทุนและความร่วมมือกับต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Decarbonization) นอกจากการลงทุนด้านพลังงานสะอาด รีไซเคิล การจัดการทรัพยากรในการผลิตแล้ว ภาคเอกชนในพื้นที่อีอีซีเริ่มขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไฮโดรเจน (Hydrogen Economy) เพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านยานยนต์และด้านพลังงานในอนาคตด้วย ซึ่งปัจจุบัน โดยมีโครงการตัวอย่างในพื้นที่อีอีซี เช่น โครงการพัฒนาพลังงานในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่มาบตาพุด สถานีนำร่อง Hydrogen station ในจังหวัดชลบุรี เป็นต้น

การส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Decarbonization) โดยสามารถใช้พื้นที่ EEC เป็นพื้นที่นำร่องการใช้เทคโนโลยีใหม่ในภูมิภาค และใช้พื้นที่ EEC เป็นพื้นที่เป้าหมายในการลงทุนด้านดังกล่าว ตามนโยบายตามหลักการพัฒนาเศรษฐกิ BCG ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจคาร์บอนต่ำ โดยอุตสาหกรรมและธุรกิจเป้าหมาย 3 สาขา ได้แก่ การจัดการและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), การจัดการผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการใช้งาน (End of Life Management), การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage)


- ให้ BCG เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในสังคมไทย

การสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนจากการลดการใช้ปุ๋ยและยาที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรไทย และยังได้ผลิตผลที่ปลอดภัย ได้คุณภาพและปริมาณคงที่ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถนำผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพคงที่มาแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้อีกด้วย  ส่งผลถึง อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น สารให้ความหวาน สารแต่งกลิ่นรส สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ พลาสติกชีวภาพ อาหารเสริมสุขภาพ ซึ่งจะช่วยดูดซับผลผลิตทางการเกษตรส่วนเกินในตลาด บรรเทาปัญหาราคาตกต่ำในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยาง และปาล์ม

การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบ รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา

ให้การใช้ทรัพยากรของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการแก้ปัญหาผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สู่การเป็นสังคมอุดมทรัพยากรที่มีคุณค่า ในเขต EEC และ พื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยต่อไป