ปิดเส้นทาง "นายกฯพิธา" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

19 ก.ค. 2566 | 16:55 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2566 | 17:33 น.

สรุปผลโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เสนอชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน" ซ้ำรอบสองไม่ได้ ในการประชุมร่วมรัฐสภาฯ ส.ส.+ส.ว. วันพุธที่ 19 ก.ค. 2566 อัพเดทข่าวล่าสุดได้ที่นี่

จับตาการประชุมร่วมรัฐสภา วาระสำคัญคือ "การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30"  เป็นครั้งที่ 2 หรือ "โหวตเลือกนายกฯ รอบสอง" ในวันนี้ (พุธที่ 19 ก.ค.66) ว่าจะมีการเสนอชื่อ "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล" อีกเป็นครั้งที่สองหรือไม่ 

ซึ่งการนัดประชุมร่วมรัฐสภาในวันนี้ (19ก.ค.66) ที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 249 คน รวม 749 คน  เกิดขึ้นหลังจาก นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ออกหนังสือเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2566 แจ้งสมาชิกรัฐสภาประชุมร่วมรัฐสภาในวันนี้เวลา 09.30 น.

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา

ในวาระเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เป็นครั้งที่สอง 

หลังจากเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 66 ชื่อของ "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่ได้รับความเห็นชอบ โดยมีผลคะแนนโหวตเห็นชอบ 324 ไม่เห็นชอบ 182 งดออกเสียง 199 จากองค์ประชุมวันนั้นจำนวน 705 คน 

ผลโหวตเลือกนายกฯรอบแรก เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 66 มีมติไม่เห็นชอบให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล เป็นนายกรีัฐมนตรีคนที่ 30

“ก้าวไกล” ประชุม ส.ส. นัดแนะเสนอชื่อ “พิธา” เป็นนายกฯ รอบสอง

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 66 มีการประชุม ส.ส.ของพรรคก้าวไกล นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค นั่งหัวโต๊ะร่วมประชุมกับ ส.ส.รวม 151คน ทำความเข้าใจและชี้แจงผลการประชุมร่วมกันของวิป 3 ฝ่ายเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งได้เน้นย้ำ ถึงแนวปฏิบัติในการประชุมรัฐสภาในวันที่ 19 ก.ค. เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

ปิดเส้นทาง \"นายกฯพิธา\" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

โดยเป็นการยืนยันว่าพรรคก้าวไกลจะยังคงเสนอชื่อ นายพิธา ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 พร้อมทั้งทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องและมีแนวปฏิบัติไปในทางเดียวกัน

ปิดเส้นทาง \"นายกฯพิธา\" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

รวมทั้งกำหนดตัวบุคคลที่จะอภิปราย รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน และรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงาน กสทช. และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งจะมีขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ 

 

มติเพื่อไทย มอบ "สุทิน" เสนอชื่อ “พิธา” โหวตนายกรอบ 2 

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 66 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายภูมิธรรม เวชยชัย และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมพรรค ที่มีกรรมการบริหารพรรค แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ทั้ง 3 คน และ ส.ส. เข้าร่วมประชุม

โดยนายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการเสนอชื่อนายพิธา ในการโหวตเลือกนายกวันที่ 19 ก.ค. โดยมอบหมายให้ นายสุทิน คลังแสง ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ

ปิดเส้นทาง \"นายกฯพิธา\" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นค้าน หากมีสมาชิกรัฐสภา เสนอญัตติมาพิจารณา และให้มีการลงคะแนน ว่า ญัตติการเสนอชื่อนายพิธา เป็นญัตติซ้ำ และต้องตกไปเพราะเห็นว่าการเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 272 และ ส.ส. ทั้ง 141 เสียงของพรรค ยินดีที่จะขานชื่อ นายพิธา เป็นบุคคลที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อที่ประชุม

แต่หากที่ประชุมมีมติว่า ญัตติดังกล่าวต้องตกไป ไม่สามารถโหวตต่อได้ ประธานรัฐสภาจะปิดประชุม เพื่อไปนัดหมายวันโหวตนายกรัฐมนตรีในครั้งต่อไป โดยหลังจากนี้จะต้องรอดูพรรคแกนนำพรรคอันดับ 1 ว่าจะดำเนินการอย่างไร

เช่น หากแถลงยินดีให้พรรคอันดับ 2 เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยก็พร้อมที่จะดำเนินการ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เตรียมการอะไร ขอให้รอมติในวันพรุ่งนี้ว่าจะออกมาอย่างไรก่อน และวันนี้ในแจ้งต่อที่ประชุมในวันนี้ให้รับทราบ แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด ยอมรับ ในชั้นเตรียมการบางสิ่ง บางอย่างเป็นการภายในก็ได้ปรึกษาหารือกันไว้เท่านั้น แต่ยังไม่มีมติออกมา

ส่วนกรณีที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพื่อไทย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ว่าจะเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีหากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลนั้น เป็นความเห็นส่วนบุคคลของสมาชิก ซึ่งกรรมการบริหารพรรคยังไม่ได้เตรียมการเรื่องนี้ เพราะจะต้องรอมติในวันพรุ่งนี้ และมติของพรรคก้าวไกลที่จะแถลงการณ์ออกมา พร้อมเชื่อว่าจะไม่เกิดความเสียหาย แต่ในทางมารยาทไม่น่าจะดี

 

พลังประชารัฐยังกั๊กท่าทีโหวตเลือกนายกฯ รอบสอง ขอดูหน้างานก่อน

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 66 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส. พะเยา ในฐานะประธานประสานงานส.ส.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงทิศทาง การโหวตเลือกนายกฯว่า ต้องดูหน้างาน  ส่วนตัวมองว่า การเสนอชื่อนายพิธาขัดกับข้อบังคับที่ 41 ที่ไม่ให้เสนอญัตติซ้ำหรือไม่ว่า  ตอนนี้ยังพูดอะไรไม่ได้ เนื่องจากไม่มีข้อสรุปแน่นอน ฉะนั้นจะต้องขอดูหน้างานก่อน 

ปิดเส้นทาง \"นายกฯพิธา\" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

ส่วนกระแสข่าวในช่วงนี้ที่มีการจะดันพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยยืนยันว่า พรรคพลังประชารัฐ เราไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยอย่างเด็ดขาด ขอยืนยัน 

 

ไทยสร้างไทย ยืนยันหนุน "พิธา" โหวตชิงนายกฯรอบสอง

วันที่ 18 ก.ค. 66 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารพรรค โดยระบุว่า จากกรณีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ซึ่งได้เสนอชื่อ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ และจากการประชุมร่วม 8 พรรคจัดตั้งรัฐบาลนั้น พรรคไทยสร้างไทยขอยืนยันว่าจะลงมติเห็นชอบ นายกฯ ฝ่ายประชาธิปไตย ที่มาจากเสียงข้างมาก 

 

วันที่ 19 ก.ค. 66

เวลา 09.30 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกฯรอบสอง โดยมีนายสุทิน คลังแสง ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมควรได้รับโหวตเป็นนายก

ประธานรัฐสภา ให้ส.ส.แสดงตนไม่ต่ำกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนส.ส.คือ 50 คน รับรองชื่อนายพิธาตามที่นายสุทินเสนอ และนับผลรับรองเสียงส.ส.ได้ 299 เสียง

จากนั้นก็เริ่มมีการประท้วงประเด็นการเสนอชื่อซ้ำกับการโหวตนายกฯรอบแรก ขัดข้อบังคับ ข้อ41 

จากนั้นเวลา 15.00 น. เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการประท้วงที่ไม่มีทีท่าจะยุติ มีการอภิปราย ถกเถียง ระหว่างการประชุมร่วมรัฐสภา โดยฝ่าย ส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ และส.ว. บางส่วน เห็นว่า การเสนอชื่อซ้ำเป็นการเสนอญัติซ้ำ ขัดกับข้อบังคับการประชุมสภาข้อ 41 ขณะที่ส.ส.ฝ่ายเพื่อไทย และก้าวไกล มองว่า การโหวตนายกฯ เป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ญัตติ ซึ่งรัฐธรรมนูญใหญ่กว่าข้อบังคับสภา

และจากนั้นก็ใช้เวลาทั้งวันถกเถียงกันหาทางออกมาว่าจะหาทางออกอย่างไรในประเด็นนี้

ต่อมาเวลา 16.55 น. ประธานรัฐสภา ปิดการอภิปรายหลังจากปล่อยให้ใช้เวลากว่า 8 ชั่วโมงครึ่ง ถกเถียงกันในประเด็นที่วนเวียนอยู่กับมุมมองที่แตกต่างกันว่า เสนอชื่อนายพิธาอีกครั้งได้หรือไม่ 

ปิดเส้นทาง \"นายกฯพิธา\" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

จากนั้นประธานรัฐสภาเริ่มนับองค์ประชุมเพื่อโหวตว่าจะเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้หรือไม่ 

โดยเวลา 17.03 น. นับองค์ประชุมได้ 715 คน ครบองค์ประชุม จากนั้นเริ่มโหวตว่า เป็นญัตติต้องห้ามหรือไม่ในการเสนอชื่อนายพิธาซ้ำ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 ที่ระบุว่า 

"ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุม
เดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติ หรือญัตติที่ประธานรัฐสภาจะอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป"

จากนั้นประธานรัฐสภาให้สมาชิกรัฐสภาเสียบบัตร เพื่อลงคะแนนโหวต โดยให้โหวตเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง

โดยผลการโหวตในญัตตินี้มีดังนี้

  • เห็นชอบ 394
  • ไม่เห็นชอบ 312 
  • งดออกเสียง 8 
  • ไม่ลงคะแนน 1 
  • องค์ประชุม 715

สรุป การเสนอชื่อนายพิธาเสนอซ้ำไม่ได้ และหลังจากนั้นประธานรัฐสภาปิดการประชุมทันที ภายหลังลงมติดังกล่าวเสร็จสิ้น

ปิดเส้นทาง \"นายกฯพิธา\" มติรัฐสภาตีตก เสนอชื่อซ้ำไม่ได้

สำหรับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 อยู่ในส่วนที่ 2 การเสนอญัตติ ระบุไว้ว่า