Spaceport ก้าวแรกของไทย สร้างฐานยิงจรวด

15 ก.พ. 2566 | 14:36 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.พ. 2566 | 14:55 น.
20.2 k

ทำความรู้จัก “Spaceport”(ท่าอวกาศยาน) ล่าสุดประเทศไทย จับมือกับ เกาหลี ร่วมลงนามศึกษาความเป็นไปได้สร้างฐานยิงจรวดแจ้งเกิดอุตสาหกรรมอวกาศ

นับเป็นก้าวแรกของประเทศไทย จัดสร้าง “Spaceport” (ท่าอวกาศยาน)  หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. และ Korea Aerospace Research Institute (KARI) ร่วมลงนามความร่วมมือการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างจัดตั้งท่าอวกาศยานในประเทศไทย

 

ไทย กับ เกาหลี ร่วมมือการศึกษาความความเป็นไปได้ในการสร้างจัดตั้งท่าอวกาศยานในประเทศไทย

รู้จัก “Spaceport” (ท่าอวกาศยาน)

คือ ฐานสำหรับการส่งและรับยานอวกาศ ซึ่งสามารถเปรียบได้กับท่าเรือที่เป็นจุดรวมหรือพื้นที่สำหรับการจอดและการออกเรือ หรือสนามบินสำหรับการขึ้นบินและการลงจอดของเครื่องบิน โดยที่ spaceport หรือ ท่าอวกาศยานจึงเป็นฐานที่ใช้สำหรับส่งยานหรือพาหนะไปสู่อวกาศ โดยเป็นการเชื่อมโลกและอวกาศเข้าไว้ด้วยกัน รวมไปถึงการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร หรือการส่งวัตถุบินในอวกาศอย่าง Spaceflight ไปโคจรรอบโลกหรือในวิถีของดาวเคราะห์ได้

เส้นทางสู่ Spaceport

GISTDA  ทำหน้าที่ส่งเสริม ควบคุม และดูแลกิจการอวกาศต่างๆ ให้สามารถดำเนินไปตามแผนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศและผลักดันกลุ่มเศรษฐกิจอวกาศใหม่ หรือ  New Space Economy ภายในประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม

โดย GISTDA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ วิทยาศาสตร์อวกาศและการสำรวจอวกาศให้กับประเทศ ส่งเสริมและผลักดัน ภาครัฐ และ ภาคเอกชน และ สถาบันการศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการอวกาศของประเทศ อาทิ การพัฒนาดาวเทียม การพัฒนา Spaceflight and  Sub-orbital การพัฒนาจรวดนำส่งดาวเทียม หรือ  การสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ จากงานวิจัยในอวกาศ เพื่อพัฒนา Spaceport Thailand เพื่อนำประเทศไปสู่ความเป็นเลิศทางเศรษฐกิจและสังคม

 

 

Spaceport ท่าอวกาศนานาชาติ

ปี่ที่ 1- 3 เป็นระยะศึกษาความเป็นไปได้

ศึกษาขั้นตอนและ กรรมวิธีในการพัฒนา Spaceport Thailand  จัดทำ Feasibility Study ด้านเศรษฐกิจและสังคมปีที่ 6 ระยะก่อสร้าง

ปีที่ 6 ระยะทางก่อสร้าง

เริ่มต้นการก่อสร้าง Spaceport Thailand พัฒนา Ecosystem และ Spaceport Environment เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจอวกาศแห่งชาติส่งเสริมเยาวชนและนักวิจัย พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ International Cooperation เข้าร่วมสำรวจอวกาศระดับโลก

ปีที่ 20 สู่ความเป็นผู้นำ

ประเทศไทย ผู้นำด้านเศรษฐกิจอวกาศแห่งภูมิภาคเอชีย-แปซิฟิก

Spaceport Thailand

Spaceport Thailand จะเร่ง พัฒนาการของกลุ่มอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งดึงดูดการค้า การลงทุนและนวัตกรรม เข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของไทยอย่างยั่งยืน

Spaceport Thailand

นี่คือก้าวแรกของ Spaceport ของประเทศไทย ต้องจับตาดูว่าหลังจาก ไทย กับ เกาหลี ผนึกกำลังศึกษาโครงการความเป็นไปได้ หากเรื่องนี้บรรลุผลอุตสหกรรมอวกาศ กลายเป็นขุมทรัพย์เศรษฐกิจใหม่ ไล่เรียงตั้งแต่ การบิน, อิเล็กทรอนิกส์,ท่องเที่ยว เป็นต้น  เชื่อว่ากลุ่มทุนกำลังจับจ้องตาเป็นมัน.

ที่มา; GISTDA