“ทูตนอร์เวย์” รับเรื่องดีล “TRUE-DTAC” พร้อมชง “รัฐบาล-เทเลนอร์” พิจารณา

10 ส.ค. 2565 | 15:14 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ส.ค. 2565 | 22:33 น.

“ทูตนอร์เวย์” รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร หลังเรียกร้องขอยุติการดีลควบรวม “TRUE – DTAC”

วันนี้ 10 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร ได้เดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง นางแชสตี เริดส์มูน เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ต่อประเด็นข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มนาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ่ส คอมมุนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศนอร์วกดันให้บริษัท เทเลนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ DTAC พิจารณายุติข้อเสนอควบรวมที่กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากจะทำให้เกิดการผูกขาดตลาดการให้บริการมือถือของไทย และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้บริโภค กระทบสิทธิเสริภาพของประชาชนที่อาจถูกแทรกแซงข้อมูลข่าวสาร หากการควบรวมสำเร็จ

 

ด้าน นางแชสดี เริดล์มุน เอกครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ได้รับทราบถึงความเดือคร้อนและจะนำเอาแถลงการณ์ของภาคประชาชนในครั้งนี้ ส่งเรื่องให้ทางเทเลนอร์แล:รัฐบาล และขอยืนยันว่า จะตรวจสอบเรื่องนี้ หากไม่ถูกต้องหรือผิดหลักธรรมภิบาลของนอร์เว เรื่องนี้ก็จะไม่ปล่อยไว้ เพื่อให้พิจารณาทบทวนถึงการรวมกิจการครั้งนี้ เนื่องจากเทเลนอร์เป็นบริษัทใหญ่อันดับ 3 ในประเทศ โดยสถานทูตก็จะช่วยเป็นสื่อกลางส่งต่อแถลงการณ์นี้

สำหรับแถลงการณ์ของกลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร ได้แสดงความกังวลอย่างยิ่ง ในข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC โดยเห็นว่า ข้อเสนอในการควบรวมกิจการของทั้งสองบริษัทฯ ขัดต่อ พ.ร.บ.โทรคมนาคม มาตรา 21 ที่บัญญัติว่า

 

"การประกอบกิจการโทรคมนาคม นอกจากต้องอยู่ในบังคับของ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าแล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการเฉพระตามลักษณะการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม มิให้ผู้รับใบอนุญาตกระทำการอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือ จำกัดการแข่งขันในการให้บริการกิจการโทรคมนาคมในเรื่องดังต่อไปนี้

 

กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน มีความกังวลอย่างยิ่ง ในข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  TRUE  และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  DTAC ดังนี้

 

  • ข้อเสนอในการควบรวมกิจการของทั้งสองบริษัทฯ  ขัดต่อ พ.ร.บ.โทรคมนาคม มาตรา 21 ที่บัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม นอกจากต้องอยู่ในบังคับของ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าแล้ว ให้คณะกรรมการกําหนดมาตรการเฉพาะตามลักษณะการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม มิให้ผู้รับใบอนุญาตกระทําการอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือ จํากัดการแข่งขันในการให้บริการกิจการโทรคมนาคมในเรื่องดังต่อไปนี้

 

 

ยุติผูกขาดมือถือ

  • การอุดหนุนการบริการ
  • การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน
  • การใช้อํานาจทางการตลาดที่ไม่เป็นธรรม
  • พฤติกรรมกีดกันการแข่งขัน
  • การคุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย

 

การควบรวมกิจการของบริษัท   TRUE  และ  DTAC จะทำให้ผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมน้อยลง เหลือผู้ให้บริการฯ หลักเพียงสองรายเท่านั้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งในแง่การพัฒนาคุณภาพบริการ การกำหนดราคา และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและแข่งขันในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศไทยและนานาประเทศ ให้ความสำคัญในโลกยุคใหม่

 

 

ดีลธุรกิจ "TRUE-DTAC"

โดยปัจจุบัน DTAC มีส่วนแบ่งการตลาดสำหรับสัญญาณมือถืออยู่ที่ 19.6 ล้านเลขหมาย (20%) TRUE อยู่ที่ 32.2 ล้านเลขหมาย (34%) และAIS อยู่ที่ 44.1 ล้านเลขหมาย (46%)

 

จะเห็นได้ว่าหากการควบรวมเกิดขึ้น จะทำให้มีผู้ให้บริการรายใหญ่เหลือเพียงสองราย และจะทำให้บริษัทที่ควบรวมแล้ว มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกึ่งหนึ่ง ทำให้สามารถชี้นำตลาดได้ ทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพของการให้บริการ

 

  • ทางกลุ่มฯ มีความกังวลเพิ่มเติมในเรื่องเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชน ที่ต้องไม่ถูกแทรกแซงโดยบริษัทเอกชนหรือรัฐ

 

หากผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมมีจำนวนน้อยลง ก็จะทำให้การแทรกแซง คุกคาม จำกัด และปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการใช้เทคโนโลยีสปายแวร์ ในการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารของนักกิจกรรมและผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ โดยไม่ได้รับอนุญาต

 

บริษัทเอกชนเองก็มีความรับผิดชอบในการปกป้องสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)  ซึ่งในเสาหลักที่สองได้เน้นย้ำว่า บุคคลและองค์กรที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมมีความรับผิดชอบที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect)

 

ทางกลุ่มฯ ทราบดีว่าบริษัทเทเลนอร์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ DTAC เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทเทเลนอร์ให้ความเห็นไว้ว่า การสื่อสารโทรคมนาคมนั้น มีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนสื่อสารความคิด และเป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว การรักษาจุดยืนในเรื่องนี้อาจเป็นไปได้ยากขึ้น หากเกิดการควบรวมกับบริษัทภายในประเทศ ที่มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการรักษาความเป็นส่วนตัว ไม่เท่ากับมาตรฐานของบริษัทเทเลนอร์ 

 

ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้เทเลนอร์ยุติข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง  TRUE  และ   DTAC ในครั้งนี้ และขอเรียกร้องรัฐบาลนอร์เวย์พิจารณาว่า ข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง   TRUE  และ  DTAC ในครั้งนี้เป็นไปตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่.