sustainable

่ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 ทั่วไทยวันนี้ กลับมาระดับสีแดง ถล่มหนัก 6 จังหวัด

    เตือน 6 จังหวัดค่าฝุ่น PM 2.5 กลับมาระดับสีแดงอีกแล้ว เสี่ยงกระทบสุขภาพ สมุทรสงคราม-กรุงเทพฯ นำโด่ง อย่าชะล่าใจ! สวมหน้ากาก-ลดกิจกรรมกลางแจ้งด่วน

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ณ เวลา 08.00 น. ผ่านระบบติดตาม PM 2.5 ของ GISDA พบว่า พื้นที่ระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ กลับมาอีกแล้ว หลังจากว่างเว้นไปเมื่อวานนี้เพียง 1 วันเท่านั้น 

  

10 จังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุด: 

 

1. สมุทรสงคราม (91.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

2. สมุทรสาคร (85.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

3. ราชบุรี (77.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

4. กรุงเทพมหานคร (75.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

5. เพชรบุรี (75.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

6. นครปฐม (75.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

7. สมุทรปราการ (72.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

8. นนทบุรี (71.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

9. ชลบุรี (65.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

10. กาญจนบุรี (64.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

10 เขตในกรุงเทพฯ ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุด 

 

1. บางคอแหลม (87.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

2. คลองสาน (87.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

3. สาทร (86.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

4. บางรัก (86.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

5. ธนบุรี (86.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

6. สัมพันธวงศ์ (86.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

7. ยานนาวา (86.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

8. ป้อมปราบศัตรูพ่าย (86.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

9. บางคอกใหญ่ (86.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

10. ราษฎร์บูรณะ (86.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 

และจากรายงานการตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วประเทศไทย พบค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยสามารถจำแนกตามระดับความรุนแรงของมลพิษทางอากาศได้ดังนี้ 

 

่ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 ทั่วไทยวันนี้ กลับมาระดับสีแดง ถล่มหนัก 6 จังหวัด

 

สีแดง (PM 2.5 สูงมาก - อันตรายต่อสุขภาพ) 

 

มากกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

  1. สมุทรสงคราม 91.7 
  2. สมุทรสาคร 85.3 
  3. ราชบุรี 77.9 
  4. กรุงเทพมหานคร 75.8 
  5. เพชรบุรี 75.6 
  6. นครปฐม 75.1 

 

สีส้ม (PM 2.5 สูง - เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) 

 

50 - 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

  1. สมุทรปราการ 72.8 
  2. นนทบุรี 71.4 
  3. ชลบุรี 65.2 
  4. กาญจนบุรี 64.0 
  5. ปทุมธานี 62.8 
  6. ฉะเชิงเทรา 61.9 
  7. ตราด 58.3 
  8. สุพรรณบุรี 58.3 
  9. สระบุรี 57.6 
  10. พระนครศรีอยุธยา 57.2 
  11. ระยอง 57.1 
  12. ปราจีนบุรี 56.5 
  13. อุทัยธานี 56.2 
  14. ประจวบคีรีขันธ์ 55.7 
  15. แพร่ 55.3 
  16. จันทบุรี 55.0 
  17. ลพบุรี 52.7 
  18. ลำปาง 52.3 
  19. พะเยา 52.0 
  20. อุตรดิตถ์ 52.0 
  21. ตาก 51.9 
  22. กำแพงเพชร 51.7 
  23. พิจิตร 51.4 
  24. นครสวรรค์ 50.4 

 

สีเหลือง (PM 2.5 ปานกลาง) 

 

37.5 - 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

  1. สุโขทัย 49.2 
  2. ชัยนาท 49.2 
  3. นครนายก 48.8 
  4. พิษณุโลก 48.3 
  5. ลำพูน 47.8 
  6. อ่างทอง 47.3 
  7. น่าน 46.1 
  8. นครราชสีมา 45.7 
  9. สิงห์บุรี 45.6 
  10. สระแก้ว 45.4 
  11. เชียงราย 43.7 
  12. เพชรบูรณ์ 43.5 
  13. เชียงใหม่ 43.1 
  14. ชัยภูมิ 38.1 
  15. เลย 38.0 
  16. บุรีรัมย์ 35.2 
  17. แม่ฮ่องสอน 30.7 
  18. ขอนแก่น 30.5 

 

สีเขียว (PM 2.5 ต่ำ - คุณภาพอากาศดี) 

 

25 - 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

  1. อุบลราชธานี 28.0 
  2. สุรินทร์ 26.8 
  3. นครพนม 25.5 
  4. กาฬสินธุ์ 25.3 
  5. ยะลา 24.9 
  6. พัทลุง 24.9 
  7. สงขลา 24.7 
  8. ปัตตานี 24.7 
  9. ศรีสะเกษ 24.1 
  10. มหาสารคาม 24.0 
  11. สตูล 23.8 
  12. ร้อยเอ็ด 23.2 
  13. ตรัง 22.6 
  14. ภูเก็ต 22.4 
  15. หนองบัวลำภู 20.6 
  16. ยโสธร 20.3 
  17. นราธิวาส 19.5 
  18. พังงา 18.7 
  19. สกลนคร 18.5 
  20. อุดรธานี 17.7 
  21. หนองคาย 17.7 
  22. บึงกาฬ 16.9 
  23. สุราษฎร์ธานี 16.7 
  24. ระนอง 16.5 
  25. อำนาจเจริญ 16.4 
  26. นครศรีธรรมราช 16.1 
  27. กระบี่ 16.1 
  28. ชุมพร 15.1 

 

สีฟ้า (PM 2.5 ดีมาก - อากาศสะอาด) 

 

ต่ำกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

  • มุกดาหาร 14.8 

 

จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า พื้นที่ภาคกลางโดยเฉพาะปริมณฑลและกรุงเทพมหานครยังคงประสบปัญหามลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง

 

ขณะที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วนมีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยจังหวัดมุกดาหารเป็นพื้นที่เดียวที่มีคุณภาพอากาศดีมาก

 

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สีแดงและสีส้มควรระมัดระวังการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ 

 

ที่มาข้อมูล : ระบบติดตาม PM 2.5 ของ GISDA