environment

ซีพีจับมือกระทรวงเกษตรฯ ใช้แพลตฟอร์ตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หยุดฝุ่น PM 2.5

    ซีพีจับมือกระทรวงเกษตรฯ ใช้แพลตฟอร์ตรวจสอบย้อนกลับ “ข้าวโพด”สู้ฝุ่น PM 2.5 ย้ำไม่รับซื้อ ไม่สนับสนุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มาจากการเผาแปลงเกษตรและรุกป่า ทั้งในไทยและในเมียนมา

รายงานข่าวจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้เดินหน้าปฏิบัติการ ตัดต้นตอหมอกควันพิษ PM2.5 อย่างจริงจัง ประกาศย้ำ“ไม่รับซื้อ-ไม่นำเข้า” ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่เผาและรุกป่า พร้อมผลักดัน ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Corn Traceability) สกัดข้าวโพดที่มาจากพื้นที่บุกรุกป่าและแปลงเผาทั่วประเทศ รวมถึงในประเทศเมียนมาตั้งเป้า “หยุดไฟ หยุดฝุ่น” ที่ต้นเหตุ พร้อมจับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือแนวทางกำจัดปัญหาหมอกควันไฟป่าในภาคเหนืออย่างเป็นระบบ

ซีพีจับมือกระทรวงเกษตรฯ ใช้แพลตฟอร์ตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หยุดฝุ่น PM 2.5

ทั้งนี้นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือซีพี นำทีมผู้แทนจาก บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ BKP กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซีพีเอฟ และกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เข้าหารือกับ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ดันมาตรการเชิงรุก แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 และหมอกควันข้ามแดนผ่านกลไกตรวจสอบย้อนกลับ

ซีพีจับมือกระทรวงเกษตรฯ ใช้แพลตฟอร์ตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หยุดฝุ่น PM 2.5

ในการนี้ นายจอมกิตติ ระบุว่า ซีพีได้ประกาศนโยบายชัดเจน “ไม่รับซื้อ ไม่สนับสนุน” ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มาจากการเผาแปลงเกษตรและบุกรุกป่า พร้อมพัฒนา เทคโนโลยีดาวเทียมติดตามจุดความร้อนแบบเรียลไทม์ หากพบพื้นที่ใดมีการเผาแปลงเกษตรที่ลงทะเบียน ซีพีจะตัดสิทธิ์รับซื้อทันที เพื่อปิดทางข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มาจากการเผาแปลงจากพื้นที่บุกรุกเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

“ซีพีไม่เพียงแค่ตั้งกฎ แต่ลงมือทำจริง ระบบตรวจสอบย้อนกลับถูกนำมาใช้ในไทย 100% ตั้งแต่ปี 2559 และขยายผลสู่ประเทศเมียนมา โดยร่วมมือกับ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา ล้างบางข้าวโพดเผาแปลงกว่า 570,000 เอเคอร์ ในรัฐฉานตอนใต้ ลดหมอกควันข้ามพรมแดน สร้างความเชื่อมั่นให้ตลาดทั้งในและต่างประเทศ”

ซีพีจับมือกระทรวงเกษตรฯ ใช้แพลตฟอร์ตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หยุดฝุ่น PM 2.5

นอกจากนี้ ซีพียังเดินหน้าสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร เลิกเผา หันมาสู่เกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้โมเดล “สบขุ่นโมเดล” จังหวัดน่าน ปลูกกาแฟแทนพืชเชิงเดี่ยว สร้างรายได้ให้เกษตรกรกว่า 1.6 ล้านบาทต่อปี และขยายโครงการไปยังพื้นที่ 4 ต้นน้ำ ปิง-วัง-ยม-น่าน และ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ฟื้นป่ากว่า 12,079 ไร่

ขณะเดียวกัน ซีพี ดึงพลังคนรุ่นใหม่ร่วมสู้ ผ่านแคมเปญ #FIGHTหมอกควัน สร้างกระแสความร่วมมือทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาหมอกควันและลดคาร์บอน พร้อมเปิดช่องทางแจ้งเบาะแสการเผาแปลงผ่านแอปฯ ฟ.ฟาร์ม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง

ซีพีจับมือกระทรวงเกษตรฯ ใช้แพลตฟอร์ตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หยุดฝุ่น PM 2.5

การหารือครั้งนี้สะท้อนถึงแนวทางของซีพีที่ “ไม่ใช่แค่พูด แต่ทำจริง” พร้อมเดินหน้าทุกมาตรการเพื่อ ปิดเกมไฟป่า หยุดฝุ่นพิษ ขจัดหมอกควัน PM2.5 สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยและประชาชนทั้งประเทศ