พิธีศพปล่อยมลพิษ ชวนสำรวจการวางแผนงานศพแบบรักษ์โลก

10 ก.ย. 2566 | 18:30 น.

พิธีศพถูกระบุว่ามีการปล่อยมลพิษสูงให้กับสิ่งแวดล้อม ผู้คนจึงมองหาทางเลือกใหม่ๆ ชวนสำรวจการวางแผนงานศพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บางคนอาจไม่ค่อยชอบพูดถึง "ความตาย" ก็เเน่นอนเพราะมันดูมืดมน เเละให้ความรู้สึกเศร้าใจ แต่ความจริงที่น่าอึดอัดสำหรับคนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ที่ตระหนักว่า ต้องหยุดเพิกเฉยว่าเมื่อเราจากไปแล้ว วิธีที่มักใช้คือ การเผาหรือฝังศพ โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกต้องแลกมาด้วยความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว

ข้อมูลจาก บีบีซี มีบทความ โดย "เบคก้า วอร์เนอร์" ระบุว่า คนส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรจะถูกเผาเมื่อพวกเขาเสียชีวิต และการเผาศพนั้นไม่ดีต่อโลก สถิติทำให้รู้ว่า โดยทั่วไปการเผาศพในสหราชอาณาจักรคาดว่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าได้ 126 กิโลกรัม (278 ปอนด์) ซึ่งเท่ากับการขับรถจากไบรตันไปยังเอดินบะระ เมื่อตรวจสอบในเว็บ 12go.asia พบว่าเป็นระยะทางประมาณ 471 ไมล์ (757 กิโลเมตร)

ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา ปริมาณก๊าซดังกล่าวโดยเฉลี่ยยังสูงกว่านี้อีก อยู่ที่ 208 กิโลกรัม (459 ปอนด์) อาจไม่ใช่ก๊าซคาร์บอนเข้มข้นที่สุดที่ทำในชีวิต แต่เมื่อคนส่วนใหญ่ในหลายประเทศเลือกที่จะเผาเมื่อพวกเขาเสียชีวิต การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านั้นก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  

การฝังศพในบางประเทศ หลุมศพนั้นปูด้วยคอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุที่มีคาร์บอนสูงและศพถูกเก็บอยู่ในโลงไม้หรือโลงเหล็กที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก มักใช้น้ำดองศพที่มีพิษสูง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งชะลงไปในดินควบคู่ไปกับโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศและสร้างมลพิษให้กับแหล่งน้ำ และโลงศพเพียงอย่างเดียวก็สามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ได้มากถึง 46 กิโลกกรัม (101 ปอนด์) ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ผสมกัน 

เเละนี่คือ พิธีศพรักษ์โลก ล่าสุด

 Aquamation "เผาศพด้วยน้ำ"

ผ่านกระบวนการ อัลคาไลน์ ไฮโดรไลซิส (alkaline hydrolysis) หนึ่งในหลายวิธีจัดการร่างผู้เสียชีวิตยุคใหม่ ที่สถานที่ฝังศพเริ่มหายากในเมืองเเละการเผาเเบบดั้งเดิมปล่อยมลพิษ 

ในเตาที่ด้านในถูกเติมสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ความร้อน 150 องศาเซลเซียส เพื่อละลายร่างให้เหลือเพียงโครงกระดูกในเวลา 12 ชั่วโมง ซึ่งวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติด้วยน้ำหรือกระบวนการ Water Cremation นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีทำศพที่สร้างมลพิษน้อยที่สุด

เปลี่ยน "ศพ" ให้เป็น "ปุ๋ย"

การทำปุ๋ยมนุษย์ มีชื่ออย่างทางการว่า Natural Organic Reduction หรือการลดรูปแบบอินทรีย์ตามธรรมชาติ  ผ่านกระบวนการที่ควบคุมอย่างเข้มงวดให้กลายเป็นดิน กระบวนการจะทำในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท ร่างจะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุจากธรรมชาติอย่างเศษไม้ เพียง 1 เดือน จุลินทรีย์ในร่างกายจะเริ่มย่อยสลายร่างผู้ตาย โดย "รัฐวอชิงตัน" เป็นรัฐแรกในสหรัฐฯ ที่ผ่านกฎหมายอนุญาตให้นำร่างผู้เสียชีวิตย่อยสลายเป็นปุ๋ยเมื่อปี 2019 ตามด้วย รัฐโคโลราโด โอเรกอน เวอร์มอนต์ แคลิฟอร์เนีย และนิวยอร์ก 

"Capsula Mundi"  โลงศพรักษ์โลก 

โลงศพทรงไข่ เป็นไอเดียของสองนักออกแบบ แอนนา ชิเทลลี่ (Anna Citelli) และ ราอูล เบรทเซล (Raoul Bretzel) 2 ดีไซน์เนอร์ชาวอิตาลีผู้ริเริ่มโปรเจค หวังให้การตายของมนุษย์สร้างประโยชน์ให้กับโลกได้มากที่สุด 

ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อฝังผู้ที่เรารักซึ่งจากไป ด้านบนจะฝังเมล็ดพันธุ์พืชที่สามารถเลือกชนิดต้นไม้ได้ หลังจากฝังลงดินตามตำแหน่ง เมล็ดพันธุ์ก็พร้อมเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนร่างกายที่ถูกฝังไว้ในแคปซูลก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ถือเป็นวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติที่ใช้ได้จริงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังถูกกฎหมายด้วย

พิธีศพปล่อยมลพิษ ชวนสำรวจการวางแผนงานศพแบบรักษ์โลก

Woodland Burial

การจัดการศพแบบธรรมชาติในสุสานที่หน้าตาเหมือนป่า ย่อยสลายศพตามธรรมชาติฝังร่างหรือเถ้าถ่านลงดินในพื้นที่ป่าสีเขียว มีต้นไม้ หรือป้ายชื่อไม้สามารถย่อยสลายได้จะถูกปลูกหรือปักไว้ เพื่อความสะดวกในการแสดงความเคารพศพ มีข้อกำหนดว่า ร่างผู้ตายจะต้องบรรจุในวัสดุที่ย่อยสลายได้เท่านั้น 

ข้อมูล 

Our funeral practices have a high carbon footprint. Becca Warner explores how she could plan her own more environmentally-friendly burial.

agreenerfuneral.org

capsulamundi.it

Woodland Burial

Soil to soil? Washington is the first state to legalize composting bodies

ngthai

si.mahidol.ac.th