ก๊าซเรือนกระจก และ ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะทำให้สามารถเห็น "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ของโลกที่ห่างไกลจากที่คุ้นเคย องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization - WMO) เตือนว่า อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีโอกาสร้อยละ 98
รายงานของ WMO ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม ยังระบุว่า มีโอกาสร้อยละ 66 ที่อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยต่อปีระหว่างปี 2023-2027 (2566-2570) จะสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
ดร. ลีออน เฮอร์แมนสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญของ Met Office ซึ่งเป็นผู้นำรายงานกล่าวว่า "อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราห่างไกลจากสภาพอากาศที่คุ้นเคย"
เอลนีโญจะส่งผลอย่างไรต่ออุณหภูมิโลก?
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2022 ประมาณ 1.15 องศาเซลเซียสเหนือระดับปี 1850-1900 สภาพอากาศที่เย็นลงของลานีญาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สิ้นสุดลงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเอลนีโญเริ่มพัฒนาในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คาดว่าผลกระทบที่สำคัญที่สุดจะเกิดขึ้นในปี 2024 (2567) เมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ เพทเตอรี ตาลาส (Petteri Taalas) เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO เตือนว่าจะทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่ม เพราะมีการบันทึกอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ทั้งในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยปี 2023 มีแนวโน้มว่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุด
ปรากฏการณ์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นทางซีกโลกใต้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายนสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย กล่าวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม คาดว่าจะนำมาซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและแห้งแล้งซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพืชผล
เอลนีโญจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการน้ำ และสิ่งแวดล้อม ทาลาส กล่าวเสริม “เราต้องเตรียมพร้อม”
ระบบเตือนภัยล่วงหน้าช่วยเราให้พร้อมสำหรับสภาพอากาศที่รุนแรงได้หรือไม่?
มีการเผยเเพร่รายงานก่อนการ ประชุม World Meteorological Congress ปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะหารือเกี่ยวกับวิธีการเสริมสร้างบริการด้านสภาพอากาศเพื่อรองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หนึ่งในสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดคือ Early Warnings for All Initiative ซึ่งมีการพูดถึงโดยเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ใน COP27 ปีที่แล้ว ซึ่งไฮไลท์ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในการประชุมสุดยอดครั้งนั้น สหประชาชาติได้ประกาศ “แผนระบบเตือนภัยล่วงหน้าทั่วโลก” มูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2023-2027 (2566-2570) หลังพบว่าประชากรในแอฟริกา เอเชียใต้ อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง รวมถึงผู้อาศัยอยู่ในหมู่เกาะขนาดเล็ก มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากภัยพิบัติทางภูมิอากาศมากถึง 15 เท่า
“ประเทศที่มีการเตือนภัยล่วงหน้าจำกัดมีอัตราการเสียชีวิตจากภัยพิบัติสูงกว่าประเทศที่มีความครอบคลุมสูงถึง 8 เท่า แผนปฏิบัติการกำหนดแนวทางแก้ไขและปกป้องชีวิตและการดำรงชีวิต” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส กล่าวใน COP27 ปีที่แล้ว
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า แม้จะมีเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และพายุ แต่ก็ยังมีช่องว่างในระบบที่เตือนผู้คนถึงอันตรายเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
มีการอ้างว่ามีข้อมูลที่รวบรวมในปีที่แล้ว เผยให้เห็นว่า เพียงครึ่งหนึ่งของประเทศสมาชิก WMO เท่านั้นที่มีระบบแจ้งผู้คนและรัฐบาลว่า สภาพอากาศที่เป็นอันตรายกำลังจะเกิดขึ้น ระบบเหล่านี้ยังต้องเชื่อมโยงกับนโยบาย การสื่อสาร และแผนรับมือเหตุฉุกเฉินเพื่อให้มีประสิทธิภาพ
ความคิดริเริ่มพยายามที่จะปิดช่องว่างโดย กูเตอร์เรส เรียกร้องให้ WMO ช่วยให้แน่ใจว่าทุกคนบนโลกได้รับการคุ้มครองโดยระบบเตือนภัยล่วงหน้าภายใน 5 ปี
ในเว็บไซต์สหประชาชาติ ระบุว่า สหประชาชาติ รัฐบาล และพันธมิตรจะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการเตือนภัยล่วงหน้าภายใน 5 ปีข้างหน้า
ส่วนแผนสรุปการดำเนินการเริ่มต้นที่จำเป็นและกำหนดเส้นทางสู่การปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เลขาธิการสหประชาชาติกำลังจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งจะเป็นประธานร่วมกันโดยหัวหน้าของ WMO และสำนักงานสหประชาชาติเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ( UNDRR ) และเลขาธิการจะได้รับรายงานความคืบหน้าล่วงหน้าก่อนการประชุม COP ประจำปีในอนาคต ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นการประชุม COP 28 ที่ใกล้จะถึงนี้
ข้อมูล
‘We need to be prepared’: El Niño and emissions could make the next 5 years warmest on record
COP27: New UN early warning system could save billions and many lives
COP27: $3.1 billion plan to achieve early warning systems for all by 2027
ข่าวที่เกี่ยวข้อง