zero-carbon

"Dow" ชูลดขยะต้านโลกร้อนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 65 tCO2e

    "Dow" ชูลดขยะต้านโลกร้อนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 65 tCO2e รวมเก็บพลาสติกใช้แล้วกลับไปรีไซเคิลได้กว่า 5 ตัน มุ่งเป็นองค์กรที่จะลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

นายสุพจน์ เกตุโตประการ รองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจ และพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow)เปิดเผยว่า Dow ได้ดำเนินโครงการจัดการพลาสติกใช้แล้ว โดยสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 65 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)

รวมเก็บพลาสติกใช้แล้วกลับไปรีไซเคิลได้กว่า 5 ตัน สะท้อนการมีส่วนร่วมในการบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน และความมุ่งมั่นขององค์กรที่จะลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และสร้างมูลค่าพลาสติกใช้แล้วให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573

ทั้งนี้ โครงการจัดการพลาสติกใช้แล้วดังกล่าว เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 65  และดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปีนี้เป็นปี 2 และ ได้รับประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ Low Emission Support  Scheme (LESS) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 

สำหรับโครงการจัดการพลาสติกใช้แล้วที่ได้รับการรับรองจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้แก่ 

Dow ชูลดขยะต้านโลกร้อนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 65 tCO2e

  • โครงการจัดการขยะรีไซเคิลภายในบริษัทฯ 
  • โครงการขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดปลอดขยะ (ชุมชนบ้านปากลัด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) 
  • โครงการต้นแบบชุมชนจัดการขยะครบวงจร (ชุมชนเกาะกลาง กรุงเทพฯ) 
  • โครงการลดโลกเลอะ ร่วมกับเทศบาลเมืองบ้านฉาง จ.ระยอง 
  • โครงการผลิตวัสดุก่อสร้างผสมพลาสติกใช้แล้ว 
  • โครงการ BKW Green Challenge 

รวมเก็บพลาสติกใช้แล้วกลับไปรีไซเคิลได้เพิ่มอีกกว่า 5 ตัน ซึ่งนอกเหนือจากพลาสติกแล้ว ยังมีการคัดแยกและจัดการวัสดุรีไซเคิลอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กระดาษ อลูมิเนียม เหล็ก แก้ว เป็นต้น

นายสุพจน์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ปี 2562 – 2566 Dow ดำเนินโครงการจัดการพลาสติกใช้แล้วในหลายมิติซึ่งช่วยนำขยะกลับเข้าสู่วงจรรีไซเคิลแล้วกว่า 11 ตัน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 212 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

"DOW มุ่งช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในหรือก่อนปี ค.ศ. 2065 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"