5 เคล็ด (ไม่) ลับ "มนุษย์เงินเดือน" จบภาระผ่อนบ้านไว ง่ายๆทำได้จริง ฟังทางนี้

07 พ.ย. 2567 | 03:45 น.
565

5 เคล็ด (ไม่) ลับมนุษย์เงินเดือน จบภาระบ้านไว ง่ายๆทำได้จริง "ทีทีบี" เปิด5 แนวทาง ช่วยบริหารจัดการเงิน สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ตามฝันได้ไม่ยาก

 

การมีบ้านหรือคอนโดมิเนียมเป็นของตัวเอง อาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คน ด้วยหลากหลายเหตุผล เช่น เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ขยับขยายที่อยู่เพื่อเริ่มสร้างครอบครัว หรือ มีความคุ้มค่าในระยะยาว แทนการเช่าอยู่อาศัย  

อยากผ่อนบ้านจบไวฟังทางนี้

อย่างไรก็ตาม การผ่อนอสังหาริมทรัพย์แต่ละประเภทโดยมากสัญญากู้จะเป็นระยะยาวอยู่ที่ราว ๆ 30 ปี กินเวลาถึงครึ่งค่อนชีวิตกว่าจะถึงฝั่งฝัน และวงเงินค่างวดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้น ๆ ประกอบกับเงินงวดของทุกเดือนจะถูกแบ่งเป็น “ชำระดอกเบี้ย” และ “ชำระเงินต้น” ส่งผลให้พนักงานเงินเดือนอาจท้อใจได้  

 ทีทีบี (ธนาคารทหารไทยธนชาต)ในฐานะธนาคารผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อบ้านจึงขอแนะนำ 5 เคล็ดลับ สำหรับมนุษย์เงินเดือน ในการช่วยบริหารจัดการเงิน ให้ปิดจบภาระหนี้บ้านได้ไวกว่าที่วางแผนไว้ และสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ตามฝันได้ไม่ยาก ดังนี้

1.การปัดเศษค่างวดให้เป็นเลขกลมๆ เท่าที่ผ่อนไหว แต่ต้องไม่เพิ่มจนตึงเกินไป เน้นทำได้อย่างสมํ่าเสมอทุกเดือนในระยะยาว เช่น ปกติจ่ายค่างวดบ้านเดือนละ 13,500 บาท ปัดให้เป็น 15,000 บาท นั่นหมายความว่าจ่ายเพิ่มอีกเดือนละ 1,500 บาท ซึ่งเงินส่วนเกินนี้อาจจะดูไม่มากนัก แต่ในระยะยาวหากทำอย่างสมํ่าเสมอเป็นประจำทุกเดือน ก็จะช่วยลดเงินต้นได้โดยไม่ต้องรอเงินก้อน ง่ายๆสำหรับมนุษย์เงินเดือน

 2. โปะเงินก้อน สำหรับพนักงานเงินเดือนที่มีรายจ่ายต่อเดือนค่อนข้างมาก ไม่อาจทำตามเทคนิคแรกได้อย่างสมํ่าเสมอทุกเดือน อาจเลือกวิธีช่วยลดเงินต้นด้วยการโปะเงินก้อน เช่น เงินโบนัสปลายปี เมื่อได้มาแล้วให้ทำการแบ่งบางส่วนไปโปะหนี้บ้าน ก็จะทำให้เงินต้นลดลง ช่วยประหยัดค่าดอกเบี้ยไปได้อีก ซึ่งการโปะเงินก้อนนั้นยิ่งทำในปีแรก ๆ ที่ผ่อนบ้านจะยิ่งดี เพราะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างตํ่า ทำให้สามารถลดเงินต้นได้มากขึ้น

3. รีไฟแนนซ์บ้าน เทคนิคยอดฮิตที่ช่วยลดดอกเบี้ยได้จริง โดยปกติแล้วจะสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ทุก 3 ปี ซึ่งเป็นการขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านเพื่อย้ายจากธนาคารเจ้าหนี้เดิมไปอยู่กับธนาคารใหม่ เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง แต่การย้ายธนาคารนั้นจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาด้วย ดังนั้น ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้านจึงต้องคำนวณก่อนว่า เมื่อหักลบกับค่าดำเนินการทั้งหมดแล้ว เราจ่ายน้อยลงกว่าเดิมจริงหรือไม่

 4. การรีเทนชั่น อีกเทคนิคหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากย้ายรีไฟแนนซ์ไปต่างธนาคาร ก็สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่เรากำลังผ่อนบ้านอยู่ได้เช่นกัน เพื่อให้ธนาคารพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยใหม่ให้ตํ่าลง โดยไม่ต้องเสียเวลาทำเรื่องยื่นเอกสารใหม่ อย่างไรก็ตามแม้ว่ารีเทนชั่น ดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่สบายกว่า แต่ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจะลดลงไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ แต่ก็ถือว่าตํ่ากว่าปีที่ 4 ที่ปรับขึ้นมาเป็นดอกเบี้ยลอยตัว

 5. เงินต้นลด อย่าลดค่างวด หลังจากรีไฟแนนซ์บ้าน/รีเทนชั่นแล้ว ค่างวดต่อเดือนจะลดลงเนื่องจากได้อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ตํ่าลง แต่หากต้องการปิดหนี้บ้านให้ไวขึ้น ควรจ่ายค่างวดเท่าเดิม เพื่อนำส่วนต่างของค่างวดไปลดเงินต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผ่อนบ้านหมดได้ไวยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องโปะเงินก้อน

 สำหรับ 5 เทคนิคข้างต้นนี้ เปรียบเสมือนคู่มือสำคัญที่ช่วยนำทางให้พนักงานเงินเดือนปลดล็อกภาระหนี้บ้านสู่อิสรภาพทางการเงินและเป็นเจ้าของบ้านได้ไวขึ้น โดยเฉพาะการรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปี ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะสกัดดอกเบี้ยบ้านไม่ให้เพิ่มพูน ซึ่งมนุษย์เงินเดือนที่ยังอยู่ในวังวนหนี้บ้านสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแนวทางการบริหารจัดการการเงินและความพร้อมส่วนบุคคลของแต่ละคน จะช่วยให้ปิดหนี้บ้านได้ไวกว่าเดิมอย่างแน่นอน 

               สำหรับพนักงานเงินเดือนที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ทีทีบี ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้มากถึงหลักแสนบาท และเป็นทางลัดที่ช่วยให้หลาย ๆ คนปิดหนี้บ้านได้เร็วขึ้น  ซึ่งตอนนี้ทีทีบีมีโปรโมชันส่งท้ายปี ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ด้วยดอกเบี้ยพิเศษคงที่ปีแรก เพียง 1.90% ต่อปี (จากปกติ 2.25% ต่อปี) หรือ ทางเลือกดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก เพียง 3.29% ต่อปี (จากปกติ 3.49% ต่อปี) พร้อมฟรี! ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และทางเลือกดอกเบี้ยพิเศษ ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง ทั้งยังผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปี วงเงินอนุมัติสูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ หรือ 50 ล้านบาท เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีทั้งในวันนี้ และอนาคต

 

หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,042 วันที่ 7 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567