อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ "ลลิล" เปิดใหม่ 8 พันล.

10 ม.ค. 2565 | 12:32 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ม.ค. 2565 | 22:35 น.
881

ซีอีโอรุ่นเก๋า " ไชยยันต์ ชาครกุล " บมจ.ลลิล อสังหาฯเบอร์ต้น เปิดมุมมองเศรษฐกิจ และแนวโน้ม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ปี 2565 ชี้ โจทย์ยาก หวั่น ภาวะเงินเฟ้อ - น้ำมันขึ้น - สินค้าแพง กดดันกำลังซื้อที่อยู่อาศัย เข็นสภาพคล่อง ลุยเปิดใหม่ 10-12 โครงการ เจาะบ้าน 2-8 ล้าน ลุ้นโต 10%

10 ม.ค.2565 - ปี 2565 เป็นอีกปี ที่ภาคธุรกิจไทยยังต้องจับตา เฝ้าระวัง ผลกระทบจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในประเทศ จากความท้าทายใหม่ๆ ไวรัส  "โอมิครอน " และ " ไวรัสกลายพันธุ์ล่าสุด เดลตาครอน" แรงเหวี่ยงดังกล่าว ย่อมส่งถึงภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เปิดบทสรุป ปี 2564 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากว่า 30 ปี กล่าวถึง ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ที่ผ่านมา ว่า เป็นปีที่เกิดรูปแบบการฟื้นตัวที่ขาดสมดุลขึ้น หรือการฟื้นตัวแบบ K-Shaped   เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการฟื้นตัวได้ดี  

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.

โดยเศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีการขยายตัวได้ราว 5.9% จากที่หดตัว 3.1% ในปี 2563   ซึ่งมีประเทศสหรัฐ และประเทศกลุ่มยุโรป รวมถึง ประเทศจีนเป็นหัวหอกนำการเติบโต

ขณะที่เศรษฐกิจของอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ช้า โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยที่ราว 1% จากที่หดตัวถึง 6.1% ในปี 2563 เปราะบาง ฟื้นตัวได้ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายๆประเทศ 


สำหรับปี 2565 นี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าเศรษฐกิจโลก จะเติบโตลดลง อยู่ที่ 4.9% ส่วนเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ราว 4.5% ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีกว่า หน่วยงานทางเศรษฐกิจของรัฐและเอกชนไทยประเมินไว้ ว่าปี 2565 จีดีพีไทยจะโตราว 3-4% เท่านั้น และถือว่ายังไม่กลับไปสู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดการระบาด

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.


อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 
การส่งออก ประเมินว่า ปีนี้ยังเติบโตขึ้นได้ ขณะ การลงทุนของภาครัฐ มูลค่าอาจลดลง เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมา มีการลงทุนกระตุ้นอย่างมาก ส่วนการบริโภคภาคเอกชน 
และ การลงทุนภาคเอกชน นั้น หวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐ ทั้ง การเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ ,คนละครึ่ง , ช้อปดีมีคืน ที่รัฐบาลออกมาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยผลักดันให้เกิดการจับจ่าย ผลักดันเม็ดเงินออกมาในระบบ และสุดท้าย ภาคการท่องเที่ยว 
จากนโยบายเปิดประเทศ หวังว่าจะทำคนในระบบ 5-7 ล้านคน มีรายได้เพิ่มขึ้น กลับมาจับจ่ายใช้สอยอีกครั้ง และดันให้จีดีพีไทยโต 3-4% ตามเป้า

 

เปิดปัจจัยเสี่ยงตลาดอสังหาฯ เมื่อ เงินเฟ้อ มีแนวโน้มสูงขึ้น 

แต่ ทั้งนี้ นายไชยยันต์ ระบุว่า เศรษฐกิจ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" ตลอดจนการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก นำไปสู่การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศ  ในขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศที่ยังอ่อนแอจากผลกระทบของการระบาด  ระดับหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวในระดับสูง  ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์    

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.
" สิ่งที่น่าห่วง คือ เงินเฟ้อของโลก การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ขณะนี้ ดีเซลลิตรละ 30 บาท  สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ข้าวของแพงขึ้น ส่งผลผู้ประกอบการต้องบริหารต้นทุน เพื่อให้ราคาสินค้าอยู่ในวงจำกัด ที่ผู้บริโภคซื้อได้ เพราะประชาชนกำลังลำบาก เงินเดือนไม่ขยับ เช่นเดียวกับ ราคาบ้าน อาจตรึงมือขึ้นมาบ้าง มีเพียงปัจจัยบวกเรื่องดอกเบี้ยไทยที่ยังยืนอยู่ในอัตราต่ำ " 


 

ลลิล กางแผนเปิดใหม่ 10-12 โครงการ ฝ่าตลาดโต10%

สำหรับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของภาคอสังหาฯนั้น ล่าสุด นอกจาก โอมิครอน และมี การกลายพันธุ์ เดลตาครอน เข้ามาท้าทายใหม่ ยอมรับทำให้เอกชน เกิดความกังวล พบบางบริษัท แม้ยังมีการขยายการเติบโต แต่เป็นแบบระมัดระวังความเสี่ยงสูงสุด ภายใต้ความคาดหวังว่า ทิศทางตลาดปีนี้จะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ฉะนั้น ต้องทำการบ้านกันอย่างหนัก สำคัญสุด มองว่า คือ การควบคุมกระแสเงินสด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้เหมาะสม เพราะอย่างที่ระบุข้างต้น เราอาจเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อโลก การขึ้นต่อราคาสินค้า และการขึ้นดอกเบี้ย ที่้จะเกิดผลกระทบต่อภาคใหญ่ของอสังหาฯ 

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.

อย่างไรก็ดีภาคอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐที่ได้มีการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าธรรมเนียมจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทออกไปจนถึงสิ้นปี 2565   การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทย  รวมถึงตลาดแนวราบที่ยังได้แรงหนุนจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงมาเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบซึ่งตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ดีกว่าในยุค New Normal    

 

รวมถึง ความพร้อมด้านสภาพคล่องทางการเงิน การหาทำเลแบบมืออาชีพ เชี่ยวชาญมาถึง 30 ปี  ความแข็งแกร่งของบุคลากรภายใน และแผนธุรกิจที่เตรียมพร้อมมาอย่างดี  จึง คิดว่าบริษัทจะสามารถผ่านอุปสรรคปีนี้ไปได้ 

 

โดยปีนี้ บริษัท ยังคงเน้นการขยายธุรกิจแนวราบ สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว 45% ทาวน์โฮม 55% เจาะตลาดราคา 2-8 ล้านบาท  โดยทำเลสำคัญ ยังเป็น กทม.- ปริมณฑล 90% เนื่องจาก ทำเลต่างจังหวัด ยังต้องประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ที่มีการฟื้นตัวช้ากว่า 1 ระลอก ทั้งในเมืองรอง และอีอีซี 

 

แผนธุรกิจในปีนี้ 

  • เปิดใหม่ 10-12โครงการ มูลค่า 7-8 พันล้าน 
  • เป้ายอดขาย 8.5 พันล้านบาท 
  • งบซื้อที่ดิน 1-1.2พันล้าน 
  • เป้ารายได้ 7.2 พันล้าน 


" เรามั่นใจว่า ปีนี้ เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว การส่งออก การบริโภค การลงทุนภาคเอกชน ภาคท่องเที่ยว จะดันให้ จีดีพีไทยโต 3-4% เพิ่มความต้องการในตลาดอสังหาฯ โตได้ 10% โดยเฉพาะแนวราบ ผ่านแผนธุรกิจที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง ทั้งปัจจัยเงินเฟ้อ และหนี้ครัวเรือน "

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.
แบรนด์อสังหาฯรายแรก แบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศสในไทย French Colonial Style

ด้านนายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในปี 2565 นี้ จะยังคงให้ความสำคัญกับตลาดที่อยู่อาศัยในกลุ่มแนวราบที่เป็น Real Demand  ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุค New Normal ได้ดีกว่า เพราะมีพื้นที่สีเขียวในการผ่อนคลาย และมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับการใช้ชีวิต ตอบสนองความต้องการในหลากหลายรูปแบบทั้งการ Work from Home และการเรียนผ่านระบบออนไลน์  

 

ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่องความสวยงามด้านการออกแบบ และฟังก์ชันการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบ   โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ถือเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์รายแรกที่จุดกระแสนิยมในแบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศสในประเทศไทยด้วยการออกแบบ French Colonial Style ที่นำความงดงามของสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่เรียบหรูมาประยุกต์เข้ากับการสร้างสรรค์ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตสังคมเมือง บนทำเลศักยภาพในราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้   

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.

ทั้งนี้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ยังคงขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ Lalin The Next เพื่อก้าวสู่การเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์เพื่อคนไทย มุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืนต่อไป ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรต่างๆ ขณะเดียวกันนำเสนอนวัตกรรมการอยู่อาศัย LI (Lalin Innovation for Living) ที่ครอบคลุม 3 ส่วน ประกอบด้วย 

  • LI-Smart & Security เสริมความสะดวกสบายและระบบรักษาความปลอดภัย
  • LI-Eco System ส่งมอบบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ลูกค้าเพื่อการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน 
  • LI-Lively & Healthy “บ้านสุขภาพดี” ให้ความสำคัญต่อเรื่องการถ่ายเทอากาศ การคำนึงถึงทิศทางลมและแสงแดด และคัดสรรวัสดุที่ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการอยู่อาศัย 

 

“ในส่วนภาพรวมสถานะด้านการเงิน กล่าวได้ว่าบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งอย่างมาก โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เพียง 0.6 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 1.4 – 1.5 เท่า  รวมทั้งมีกระแสเงินสดสำรองเพื่อรองรับการขยายธุรกิจอีกกว่า 1,000 ล้านบาท      โดยในปี 2565 นี้ บริษัทฯ ได้จัดสรรงบในการซื้อที่ดินไว้ประมาณ 1,100 – 1,300 ล้านบาท และพร้อมปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจตามแผนงาน และการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ” 

อสังหาฯ หวั่น เงินเฟ้อ ดันราคาบ้าน ไชยยันต์ นำ \"ลลิล\" เปิดใหม่ 8 พันล.