สั่งขยายสายสีแดง ต่อถึงฉะเชิงเทรารับเมืองใหม่

10 พ.ค. 2560 | 15:00 น.
811
การลงพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เพื่อประกอบการจัดทาแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อน โดยเริ่มที่จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา

นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้ชี้แจงถึงการลงทุนพื้นที่ครั้งนี้ว่า เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการอีอีซี ต่อผู้บริหารและข้าราชการระดับสูง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ให้รับทราบถึงอีอีซี เป็นการต่อยอดจากโครงการอินเทิร์นซีบอร์ด

"เราฝันว่า 3 จังหวัดนี้จะกลายเป็นเมืองใหม่ จะเป็นวิถีชีวิตใหม่ ที่ทันสมัยใช้เทคโนโลยี มาพัฒนาแบบกลมเกลียว เช่น ในเมืองฉะเชิงเทรา จะพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ จะไม่เอาปล่องไฟจากโรงงานอุตสาหกรรมมาให้เหมือนในอดีต เพราะมันไม่ทันสมัยแล้ว วันนี้เราพูดถึงเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์ รถยนต์ที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า เราฝันว่าแถวชายหาดพัทยา จะเลิกใช้รถยนต์มาใช้รถไฟฟ้าได้ไหม ถ้าเราทำพวกนี้ได้ ก็จะสร้างมาตรฐานใหม่ ในความรู้สึก ในความมีชีวิตของภาพที่จะเห็น"

นายคณิตมองว่า จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ นอกจากจะสามารถต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีอยู่เดิมแล้ว รัฐบาลยังมีเป้าหมายพัฒนาให้ฉะเชิงเทราเป็นโลจิสติกส์ฮับ และเมืองใหม่ สำหรับคนทำงาน มีโครงการรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพ-ระยองผ่าน และจะมีการขยายโครงการรถไฟสายสีแดงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้ไปถึงฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองใหม่ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับคนทำงาน เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก จึงได้มีบัญชาให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปเร่งศึกษาโครงการ

สำหรับวัตถุประสงค์หลักของโครงการอีอีซี เพื่อเป็นฐานในด้านสะสมการลงทุน และฐานสะสมเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต มีเป้าหมายผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในช่วงแรกของการพัฒนาได้วางให้3 จังหวัดนำร่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้พื้นที่ทำเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดแต่จะพิจารณาเป็นจุดๆที่เหมาะสม

สำหรับพื้นที่พัฒนาอตุ สาหกรรมในช่วง 5 ปีแรกจะใช้พื้นที่จำกัดไม่เกิน 5 หมื่นไร่หรือ 0.6% ของพื้นที่ 3 จังหวัดเมื่อรวมกับพื้นที่ที่ใช้ไปแล้วในอดีต 1.18 แสนไร่ หรือ 1.4%ของพื้นที่ใน 3 จังหวัด จะทำให้พื้นที่สำหรับภาคอุตสาหกรรมในอีอีซีมีอยู่ประมาณ 1.6 แสนไร่หรือประมาณ 2% ของที่ดินใน 3จังหวัด และขณะนี้ก็มีพื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ของภาคเอกชนที่จะใช้สำหรับภาคอตุ สาหกรรมแล้ว 1.2 หมืน่ ไร่ ดังนั้นพื้นที่ที่จะใช้เพิ่มเติมจึงมีไม่มาก จึงอยากเตือนคนที่เก็งกำไรที่ดินอาจผิดหวังได้

ด้านนายชาลี เจริญสุขตัวแทนจากหอการค้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มองว่า คนในจังหวัดฉะเชิงเทรารู้สึกตื่นเต้นและตื่นตัว แต่ก็มีความเป็นห่วงหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ขณะนี้นํ้าประปาถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนจำนวนมากสำหรับการจัดสร้างพื้นที่กักเก็บนํ้า

[caption id="attachment_146925" align="aligncenter" width="325"] สั่งขยายสายสีแดง ต่อถึงฉะเชิงเทรารับเมืองใหม่ สั่งขยายสายสีแดง ต่อถึงฉะเชิงเทรารับเมืองใหม่[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,259 วันที่ 7 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560