เคล็ด (ไม่) ลับวางแผนเลือกซื้อบ้านใหม่ สร้างครอบครัวให้ชีวิตมั่นคง

21 ก.พ. 2568 | 06:06 น.

การซื้อบ้านร่วมกันไม่ใช่เรื่องเล็ก! DDproperty เผยเคล็ดลับซื้อบ้านคู่ชีวิตให้มั่นคง รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงบประมาณ ทำเล และข้อกฎหมาย

เมื่อถึงจุดหนึ่งของความรัก การซื้อเรือนหอคือก้าวสำคัญในชีวิตคู่ของใครหลายคน ที่นอกจากเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นสร้างครอบครัว ยังเป็นการวางรากฐานความมั่นคงทางการเงินร่วมกัน

ข้อมูลจากแบบสอบถามของ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study ล่าสุดพบว่า 31% ของผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายครอบครัวหรือเพื่อเตรียมสร้างครอบครัวใหม่ และเพื่อให้คู่รักเลือกบ้านที่ตอบโจทย์ชีวิตคู่มากที่สุด DDproperty แนะนำ 4 ปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อบ้านร่วมกัน ได้แก่

1. ตั้งงบประมาณให้เหมาะสมกับรายได้

การตั้งงบประมาณเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการซื้อบ้าน คู่รักควรร่วมกันประเมินรายรับและรายจ่ายเพื่อตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระ หากต้องขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร ควรเตรียมความพร้อมด้วยประวัติทางการเงินที่ดี หลีกเลี่ยงการค้างชำระหนี้ นอกจากนี้ ควรเผื่อเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และค่าตกแต่งบ้าน

เคล็ด (ไม่) ลับวางแผนเลือกซื้อบ้านใหม่ สร้างครอบครัวให้ชีวิตมั่นคง

2. เลือกทำเลให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์

ทำเลเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ควรเลือกที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวก ใกล้ที่ทำงาน หรือสถานที่สำคัญ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และแหล่งชอปปิง สำหรับคู่รักที่รักสัตว์เลี้ยง ควรเลือกโครงการที่เป็น Pet-Friendly เพื่ออำนวยความสะดวก

อีกทั้งในแพลตฟอร์ม DDproperty ยังเพิ่มความสะดวกสะบายด้วยฟีเจอร์ค้นหาโครงการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง เช่น โครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการใกล้โรงเรียน และโครงการที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ คู่รักสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ช่วยเลือกบ้านที่ตรงกับความต้องการได้ง่ายขึ้น

3. พิจารณารูปแบบที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม

บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดฯ เป็นตัวเลือกที่คู่รักต้องตัดสินใจร่วมกัน หากมีแผนขยายครอบครัวในอนาคต บ้านเดี่ยวอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า แต่ถ้าต้องการความสะดวกและคล่องตัว คอนโดฯ ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ควรไปเยี่ยมชมโครงการจริงเพื่อพิจารณาสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนตัดสินใจซื้อ

4. วางแผนครอบครัวในอนาคต

เรือนหอเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง คู่รักจึงควรวางแผนอนาคตร่วมกันให้รอบคอบ ทั้งในแง่ของการมีบุตร อาชีพการงาน และการบริหารจัดการภาระทางการเงิน หากต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้ ควรมีเงินสำรองเผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้สามารถผ่อนชำระได้ต่อเนื่อง

กฎหมายน่ารู้: เรือนหอเป็นสินสมรสหรือไม่?

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสถือเป็นสินสมรส คู่สมรสมีสิทธิ์ในการครอบครองร่วมกัน หากต้องการขายบ้านที่เป็นสินสมรส รายได้จากการขายต้องแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้

กรณีซื้อบ้านก่อนสมรส บ้านถือเป็นสินส่วนตัวของผู้ซื้อ หากต้องการเปลี่ยนเป็นสินสมรสร่วม อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ สำหรับการกู้ร่วม คู่สมรสสามารถกำหนดกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้ และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวิต เช่น การหย่าร้าง ทรัพย์สินจะต้องมีการแบ่งตามกฎหมาย

วางแผนผ่อนอย่างไรให้หมดไวไปด้วยกัน

นอกจากนี้ การวางแผนการเงินยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำคัญเพื่อให้ผ่อนบ้านหมดไว ลดภาระดอกเบี้ย และสร้างความมั่นคงร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น DDproperty ยังได้แนะนำเคล็ดลับดังนี้

  • ตกลงหน้าที่ผ่อนบ้านให้ชัดเจน กำหนดว่าใครจะเป็นผู้กู้หลัก แบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายและตั้งเงินกองกลางให้เหมาะสมกับรายได้ของแต่ละฝ่าย เพื่อลดความขัดแย้งในอนาคต
  • เลือกอัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่า เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก เลือกสินเชื่อที่ดอกเบี้ยต่ำที่สุด และพิจารณารีไฟแนนซ์หรือขอลดดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด เพื่อประหยัดดอกเบี้ยระยะยาว
  • ผ่อนแบบลดต้นลดดอก เงินต้นลดลงเร็วขึ้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลง ทำให้ยอดหนี้หมดเร็วขึ้นในระยะยาว
  • วางแผนโปะบ้านให้หมดไว จ่ายเกินกว่าค่างวดที่กำหนด ชำระเกินทุกงวดหรือโปะเป็นก้อนใหญ่ปีละครั้ง เพื่อลดดอกเบี้ยและปิดหนี้เร็วขึ้น

เคล็ด (ไม่) ลับวางแผนเลือกซื้อบ้านใหม่ สร้างครอบครัวให้ชีวิตมั่นคง ​​​​

ส่วนด้านกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่อยู่อาศัย เมื่อผู้กู้ผ่อนชำระสินเชื่อบ้านครบแล้วกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้กู้โดยตรง ในกรณีการกู้ร่วมของคู่รัก ผู้กู้ร่วมจะต้องตกลงกันว่าจะให้ใครถือกรรมสิทธิ์ หรือจะถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หรือจะระบุไปในสัญญาว่าจะมอบกรรมสิทธิ์ให้ผู้ใด อย่างไรก็ดี หากผู้กู้เสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ การเลือกเรือนหอเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณารอบด้าน คู่ชีวิตควรมีการตั้งงบประมาณให้เหมาะสม เลือกทำเลที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ พิจารณารูปแบบที่อยู่อาศัย และวางแผนอนาคตร่วมกันอย่างรอบคอบ พร้อมศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายในอนาคต หากวางแผนดี บ้านหลังแรกของชีวิตคู่จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นคงและความสุขที่ยั่งยืน