พรรคประชาชน (ปชน.) แถลงยังไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น หลังผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และสมาชิกสภา อบจ. ออกมาอย่างไม่เป็นทางการ โดยยืนยันว่าหลายพื้นที่ยังคงมีคะแนนสูสี และเตรียมแถลงท่าทีของพรรคอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กุมภาพันธ์
เมื่อเวลา 21.00 น. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน แถลงภาพรวมผลเลือกตั้ง อบจ. ของพรรคที่สำนักงานใหญ่พรรคประชาชน โดยกล่าวขอบคุณประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง พร้อมแสดงความยินดีกับนายก อบจ. และ ส.อบจ. ที่ได้รับเลือกตั้ง
แม้ผลคะแนนที่ประกาศออกมาในขณะนี้ยังเป็นเพียง “ผลไม่เป็นทางการ” และแนวโน้มผู้ชนะในหลายจังหวัดเริ่มชัดเจนขึ้น แต่พรรคประชาชนยังคงติดตามรายงานผลคะแนนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากคะแนนของผู้สมัครพรรคในบางจังหวัดยังคงมีโอกาสลุ้น เช่น
"ข้อเท็จจริงคือ ผลคะแนนยังคงเคลื่อนไหว ในบางจังหวัดคะแนนสูสีกันมาก เราจึงยังไม่สามารถสรุปผลได้ในขณะนี้" นายณัฐพงษ์กล่าว
นายณัฐพงษ์ กล่าวขอบคุณ ทีมงานผู้สมัครและผู้ช่วยหาเสียง ที่ทำงานกันอย่างเต็มที่ตลอดช่วงหาเสียง เพราะเป้าหมายสำคัญของพรรคประชาชน ไม่ใช่แค่การชนะเลือกตั้ง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวทางการเมืองไทย โดยเขาย้ำว่า การเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนเริ่มให้ความสนใจการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น
"เรามองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ บรรยากาศคึกคักขึ้นมาก พรรคประชาชนจะยังคงเดินหน้าทำงานทางการเมืองต่อไป และจะมีการแถลงข่าวในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เพื่อสรุปแนวทางของพรรคหลังทราบผลคะแนนที่ชัดเจน"
เมื่อถูกถามว่า พรรคประชาชนยังไม่ถอดใจใช่หรือไม่ นายณัฐพงษ์ตอบว่า "เรายังมีลุ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ เชียงใหม่, ตราด, นครนายก และลำพูน ที่คะแนนยังคงสูสีกันอยู่ พรรคประชาชนตั้งเป้าไว้ 17 จังหวัด ตั้งแต่เริ่มสมัคร และ 4 จังหวัดที่กล่าวมานั้นยังคงอยู่ในแนวโน้มที่ดี
"เราไม่ได้มองว่าเป็นการพลาดเป้า เพราะเป้าหมายของเราคือการ รณรงค์ทางความคิด ไม่ใช่แค่การชนะในสนามเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว การทำให้ประชาชนเข้าใจแนวทางของพรรค ก็ถือเป็นชัยชนะทางความคิดที่สำคัญ"
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาชนมี ส.ส. หลายพื้นที่ เช่น สมุทรปราการและเชียงใหม่ แต่คะแนนกลับตามหลังพรรคอื่น หากพ่ายแพ้ในจังหวัดเหล่านี้ พรรคจะถอดบทเรียนหรือไม่ นายณัฐพงษ์ระบุว่า พรรคประชาชน ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งทุกสนาม โดยเฉพาะ กระบวนการหาเสียง การเข้าถึงประชาชน และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการใช้สิทธิเลือกตั้ง
"การเลือกตั้งครั้งนี้มี ประชาชนสนใจติดตามมากขึ้น และมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง เพียงแต่เรายังต้องดูว่า มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบต่อคะแนนของพรรค เช่น ความสะดวกในการใช้สิทธิ หรือประเด็นเกี่ยวกับวันเลือกตั้ง"
เมื่อถูกถามว่า การเลือกตั้งวันเสาร์มีผลกระทบต่อคะแนนเสียงของพรรคหรือไม่ นายณัฐพงษ์ตอบว่า ต้องรอดูตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์ที่ชัดเจนก่อนจึงจะสามารถประเมินผลกระทบได้ เราต้องเปรียบเทียบสถิติการเลือกตั้งในอดีต ว่าการจัดเลือกตั้งในวันเสาร์มีผลต่ออัตราการมาใช้สิทธิของประชาชนหรือไม่ หากพบว่ามีผลกระทบ เราจะต้องนำไปพิจารณาเป็นปัจจัยหนึ่งในการวางแผนเลือกตั้งครั้งต่อไป
ข้อมูล ณ เวลา 22.00 น. ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 หลังปิดหีบและผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกอบจ. อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งสิ้น 47 จังหวัด สรุปได้ ดังนี้