คุก 6 ปี! “อนุรักษ์”อดีต ส.ส.เพื่อไทย เรียกรับเงิน 5 ล้าน ไม่รอลงอาญา

25 เม.ย. 2566 | 13:59 น.
อัปเดตล่าสุด :25 เม.ย. 2566 | 14:11 น.
920

ศาลสั่งจำคุก 6 ปี! ไม่รอลงอาญา“ อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ” อดีต ส.ส.เพื่อไทย เรียกรับเงิน 5 ล้าน จากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง  ศาลฯได้อ่าน คําพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.4/2565คดีหมายเลขที่ อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ โดยเมื่อวันที่ 8 ก.พ.65 โจทก์ยื่นฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยดำรงตำแหน่ง ส.ส. ,กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 และอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2ในคณะกมธ.วิสามัญดังกล่าว วันที่ 4 ส.ค.63 

จำเลยได้เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจาก นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ล้านบาท เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งของจำเลย ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือ มิชอบด้วยหน้าที่ และเป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ขอให้ลงโทษตาม พรป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 172,173 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149,157 จำเลยให้การปฏิเสธ
 

วันนี้จำเลยเดินทางมาฟังคำพิพากษา

องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากเห็นว่า โจทก์มีนายศักดาเป็นประจักษ์พยานผู้รู้เห็น เรื่องที่จําเลยโทรศัพท์มาพูดเรียกเงินและของานจากนายศักดิ์ดา แต่จําเลยเบิกความปฏิเสธ คำเบิกความของ นายศักดิ์ดาและคำเบิกความของจำเลยมีลักษณะโต้แย้งยืนกันอยู่ จึงต้องพิจารณาพยานพฤติเหตุแวดล้อม ประกอบกัน จำเลยไม่ได้ซักถามเรื่องงบประมาณของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในฐานะอนุกรรมาธิการ

คุก 6 ปี! ไม่รอลงอาญา“ อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ " อดีต ส.ส.เพื่อไทย เรียกรับเงิน 5 ล้าน

องค์คณะผู้พิพากษามีมติเสียงข้างมากเห็นว่า โจทก์มีนายศักดิ์ดาเป็นประจักษ์พยานที่รู้เห็น ตามปกติทั่วไป จำเลยเป็นรองประธานคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 คนทีหนึ่ง

หากจําเลยต้องการเอกสารแบบแปลนและประมาณราคา สามารถมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมาธิการ ดำาเนินการให้ได้ ไม่มีความจําเป็นต้องโทรศัพท์ติดต่อกับนายศักดิ์ดาด้วยตนเองโดยไม่มีบุคคลอื่นได้ยิน ข้อความสนทนา ทั้งถ้อยคำที่จำเลยพูดคุยกับนายศักดิ์ดายังเกี่ยวพันไปถึงการขอเข้าเป็นผู้รับจ้างงานก่อสร้าง ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลอันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลย หลังเกิดเหตุนายศักดิ์ดาเล่าให้นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และนายสุรินทร์ วรกิจธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา บาดาลฟังใน คืนเกิดเหตุทันที

 

และวันรุ่งขึ้นได้เล่าให้นายนริศ ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟังด้วย เมื่อพิจารณา ระยะเวลาที่จําเลยโทรศัพท์พูดคุยกับนายศักดิ์ดาประมาณ 15 นาที หากเพียงแค่ขอเอกสารไม่น่าจะต้องใช้ เวลานานมากเพียงนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับบุคคลหลายคนจึงไม่น่าเป็นไปได้ที่นายศักดิ์ดา จะคิดวางแผนสร้างเรื่องไปบอกพยานทั้งสามว่าจำเลยเรียกเงินและของาน ทั้งยังปรากฏว่านางนันทนา สงฆ์ประชา เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 5 ติดต่อกับนายศักดิ์ดาให้โทรศัพท์ไปหา จำเลยก่อน พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นไม่อยู่ในวิสัยที่นายศักดิ์ดาจะวางแผนให้จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มติดต่อมาก่อน

 ยิ่งกว่านั้นในวันรุ่งขึ้นนายศักดิ์ดาได้พูดในที่ประชุมว่า เมื่อคืนนี้มีอนุกรรมาธิการคนหนึ่งโทรไปหาผมตบทรัพย์ผม 5ล้านบาท ซึ่งมีลักษณะเป็นการพูดโต้ตอบด้วยความอัดอั้นกดดันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน คืนเกิดเหตุโดยยังไม่ระบุชื่อจำเลยว่าเป็นผู้เรียกเงินหรือของาน หากจำเลยไม่โทรศัพท์เรียกเงินและของานก็ไม่ มีเหตุที่นายศักดิ์ดาจะต้องพูดเรื่องร้ายแรงเช่นนี้ในที่ประชุม หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจำเลยก็ไม่เข้าประชุมอีก นอกจากนี้จำเลยยังโทรศัพท์ไปพูดกับนายภาดล ซึ่งเป็นการกระทำในลักษณะเดียวกับที่จำเลยพูดกับนายศักดิ์ดา ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

นายศักดิ์ดาและนายภาดลต่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมที่ต้องไปชี้แจงเกี่ยวกับ งบประมาณต่อคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 ที่มีจำเลยเป็นรองประธานในวันรุ่งขึ้น พฤติการณ์ บ่งชี้ว่าจำเลยโทรศัพท์ไปเจรจาต่อรองผลประโยชน์จากโครงการที่จำเลยกำลังมีส่วนในการพิจารณางบประมาณดังที่นายศักดิ์ดาและนายภาดลเบิกความ

คำเบิกความของนายศักดิ์ดาจึงมีเหตุผลและสอดคล้อง เชื่อมโยงกับพยานอื่นทำให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ พยานหลักฐานที่ไต่สวนมามีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยได้ กระทําตามข้อกล่าวหาในฟ้องจริง จำเลยเป็นส.ส. กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 ใน คณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว จึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าพนักงานของรัฐ และเป็น เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์  อดีต ส.ส.เพื่อไทย

จำเลยในฐานะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 ย่อมมีอำนาจ หน้าที่เสนอความเห็นตามกรอบแนวทางการพิจารณา รวมถึงสามารถเสนอความเห็นในการปรับลด งบประมาณของหน่วยงานต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาลง มติเห็นชอบและเสนอคณะ กมธ.วิสามัญฯ พิจารณาต่อไป แม้จำเลยเพียงคนเดียวจะไม่มีอำนาจ เด็ดขาดในการปรับลดงบประมาณของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลดังที่จำเลยอ้าง เพราะผลการพิจารณาต้อง
เป็นไปตามมติที่ประชุมก็ตาม แต่การเสนอความเห็นเกี่ยวกับงบประมาณในขั้นตอนต่าง ๆ ดังกล่าวถือได้ว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของจําเลย ซึ่งจําเลยอาจเสนอความเห็นให้คุณหรือให้โทษแก่งบประมาณของหน่วยราชการที่พิจารณา

การที่จําเลยโทรศัพท์ไปเรียกเงินและของานจากนายศักดิ์ดา ย่อมเป็นการกระทําในตำแหน่งและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยโดยตรง การกระทำ ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสําหรับจําเลยโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งของจำเลย ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมทรัพยากร ความผิดตาม พรป.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 น้ำบาดาล และราชการ มาตรา 173และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จําต้องปรับบทความผิด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามฟ้อง

อนึ่ง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็น ตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก จำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ย่อมมีผลให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุด ปฏิบัติหน้าที่ และต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป โดยไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับ เลือกเป็น ส.ส., ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มี สิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 81วรรคหนึ่งและวรรคสอง กับให้ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน10 ด้วยหรือไม่ก็ได้

แต่เนื่องจากในคดีหมายเลขแดงที่ คมจ. 1/2566ของศาลฎีกา ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้าน (จำเลยคดีนี้) มีกำหนดเวลา 10ปี นับแต่วันที่ 6 ม.ค.66 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ซึ่งการกระทำในคดีดังกล่าวเป็นการ กระทำเดียวกันกับคดีนี้ จึงเห็นสมควรไม่สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยในคดีนี้อีก

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 173 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 การกระทำของจำเลย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นกฎหมาย บทที่มีโทษหนักที่สุด องค์คณะผู้พิพากษามีมติเสียงข้างมาก ลงโทษ จำคุก 6 ปี กับให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ 19 เม.ย.65 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้จำเลย หยุดปฏิบัติหน้าที่ในคดีนี้

และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของจำเลยตลอดไป โดยไม่มีสิทธิสมัครรับ เลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ตาม พรป.ว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 81วรรคหนึ่งและวรรคสอง

โดยภายหลังศาลมีคำพิพากษ์นายอนุรักษ์ ได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวในชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์