สทนช.ดันแผนหลักกว่า 7 พันโครงการช่วยเกษตรกรจากภาวะฝนทิ้งช่วง

18 ก.ค. 2566 | 15:28 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.ค. 2566 | 15:28 น.

สทนช.ดันแผนหลักกว่า 7 พันโครงการช่วยเกษตรกรจากภาวะฝนทิ้งช่วง ตามแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี เดินหน้าการศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของคนในพื้นที่เป้าหมาย

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) เชียงใหม่-ลำพูน ว่า จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ จึงได้มีการศึกษาจัดทำแผนหลักบรรเทา อุทกภัยและภัยแล้ง ตามแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี 

โดยทำการศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของคนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาในเชิงลึกและสอดคล้องกับ บริบทในปัจจุบัน บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าอย่างเป็นรูปธรรม ลดความ เสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง สร้างความมั่นคงด้านนน้ำภาคการผลิต การอุปโภคบริโภค การจัดการคุณภาพ น้ำให้ได้มาตรฐาน และการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคที่เกี่ยวข้อง

โดยได้ด้าเนินการศึกษาพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ครอบคลุมพื้นที่ 138 ตำบล 19 อำเภอ และพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ทั้งนี้ จากผลการศึกษา สามารถจัดท้าแผนงานหลักของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหมดจำนวน 7,090 โครงการ ที่สามารถแก้ไขปัญหา ทรัพยากรน้ำ 5 ด้าน แบ่งเป็น 
1.ด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค จ้านวน 1,430 โครงการ 
2.ด้านการสร้าง ความมั่นคงของภาคการผลิต จำนวน 3,996 โครงการ 
3.ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย จำนวน 1,219 โครงการ 
4.ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ จำนวน 259 โครงการ 
5.ด้านการบริหารจัดการ จำนวน 186 โครงการ 

อย่างไรก็ตาม หากการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 951 ล้าน ลบ.ม. แก้ปัญหา ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่ 3,840,101 ไร่ 

สทนช.ดันแผนหลักกว่า 7 พันโครงการช่วยเกษตรกรจากภาวะฝนทิ้งช่วง

นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จัดการพื้นที่น้ำท่วม บรรเทาปัญหาอุทกภัยได้ 1,721,775 ไร่ ควบคู่กับการก่อสร้างระบบบ้าบัดน้ำเสีย อนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ลดการชะล้างพังทลายของดิน จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ แผนป้องกันและแก้ไข ภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม พัฒนาระบบตรวจวัดระบบฐานข้อมูล แต่งตั้งองค์กรผู้ใช้น้้า และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดล้าพูน พบว่า มีขุมเหมืองแร่ถ่าน หินเก่าอยู่มาก จากข้อมูลของส้านักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 ระบุว่าอำเภอลี้ มีขุมเหมืองแร่ ที่ไม่ได้ด้าเนินการแล้วจำนวน 11 ขุมเหมือง ประกอบด้วย ตำบลลี้ 6 ขุมเหมือง ตำบลดงดำ 3 ขุมเหมือง ตำบลนาทราย 2 ขุมเหมือง จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ สามารถนำน้ำ จากขุมเหมืองมาใช้ประโยชน์เพื่อบรรเทาปัญหาในภาคการเกษตรได้ นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา แหล่งเก็บกักน้ำเดิมให้กลับมาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อสนับสนุนการทำเกษตร 
 

โดยกำหนดให้เป็น 1 ใน 6 โครงการเร่งด่วนโครงการแก้ไขปัญหา การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตโดยการพัฒนา ขุมเหมืองตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน” เพื่อทำโครงการก่อสร้างปรับปรุงขุมเหมืองและระบบ กระจายน้ำพัฒนาขุมเหมืองตำบลดงดำ 2 แห่ง คาดว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานแก้ปัญหาภัยแล้ง ในการปลูกพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรในจังหวัดลำพูนพื้นที่ประมาณ 7,482 ไร่ ที่มีความต้องการใช้น้ำ ประมาณ 9.32 ล้าน ลบ.ม./ปี

จากการลงพื้นที่เหมืองเช่นนี้จะเป็นต้นแบบ เพื่อขยายไปในพื้นที่เหมืองร้างอื่นๆ แต่สิ่งแรกที่ต้องทำคือจะต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อน หากเหมืองไหนคุณภาพน้ำเกินค่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นค่ามาตรฐานเพื่อการ อุปโภค ผู้บริโภค หรือเพื่อการเกษตร ถ้าเกินมาตฐานเพื่อการเกษตรก็ไม่สามารถที่จะไปดำเนินการในเรื่องของการเกษตรได้ เหมืองเหล่านั้นเราก็จะไม่ไปพัฒนานำมาเพื่อการเกษตร และที่สำคัญจะต้องมีการประสาน กับหลายหน่วยงาน เพราะเหมืองยังดูแลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และมีหน่วยงานในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ

และอาจจะส่งต่อข้อมูลให้กับทาง สทนช. เราก็จะมาดูภาพรวมในเรื่องของการพัฒนา ซึ่ง เหมืองเก่าในลักษณะแบบนี้ การจะนำน้ำมาใช้ จะต้องมีระบบสูบน้ำ ซึ่งอาจจะต้องมีการประสานกับกระทรวงพลังงาน โดยมีการติดตั้งระบบสูบด้วยโซล่าเซลล์ 

สำหรับงบประมาณในการพัฒนา อย่างเช่น เหมืองลี้มีรัก มีการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ ประมาณ 5 ล้านบาท และต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละพื้นที่ว่าจะมีประโยชน์ มากน้อยอย่างไร และขึ้นอยู่กับการลงทุน ของขนาดระบบสูบน้ำ จะต้องใช้เล็กหรือใหญ่ขนาดไหน งบประมาณก็อาจจะลดหลั่นกันไป

อย่างไรก็ดีในพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน และฝนตกไม่กระจายตัว อย่างสม่ำเสมอนั้น การที่มี ขุมเหมืองในลักษณะแบบนี้ เหมือนเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อใช้ เรื่องของการบริหารความเสี่ยง ในช่วงฝนทิ้งช่วง ถือว่าเป็นทางรอดหนึ่งที่จะ สามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ ซึ่งจะอยู่ในแผนแม่บท การ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ด้านที่ 2 การพัฒนาน้ำเพื่อการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะนำมาเติมเต็ม ในการส่งเสริมเพื่อพี่น้องเกษตรกรได้

อีกโครงการหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ ต่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและบรรเทาปัญหาอุทกภัย คือ โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และทางเข้า-ออก หมายเลข 2 ของอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด เนื่องจากเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความจุ 263 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน 175,000 ไร่ แต่จากสถิติที่ผ่านมามีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เฉลี่ยเพียงปีละ 202 ล้าน ลบ.ม. 

รวมถึงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความต้องการใช้น้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนน้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 137 ล้าน ลบ.ม. และจากการขยายตัวของภาค เกษตรกรรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและชุมชน และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณ 173 ล้าน ลบ.ม. 

ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน เป็นองค์ประกอบที่ส้าคัญในการ ยกระดับน้ำเพื่อผันน้ำผ่านเข้าไปยังอุโมงค์แม่งัด-แม่กวง ซึ่งประกอบด้วยประตูระบายน้ำ จำนวน 4 ช่อง ความกว้างช่องละ 10 เมตร ปิดกั้นลำน้้าแม่แตง บริเวณด้านเหนือน้ำของบ้านแม่ตะมาน ในเขตตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 96.37 หากด้าเนินการแล้วเสร็จจะ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเฉลี่ยปีละ ประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จาก 17,060 ไร่ เป็น 76,129 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตเทศบาลเมือง นครเชียงใหม่ลดลง 70%